Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 4 วัฏจักร บทที่ 2 วัฏจักรการปรากฏของ กลุ่มดาว - Coggle…
หน่วยที่ 4 วัฏจักร บทที่ 2 วัฏจักรการปรากฏของ
กลุ่มดาว
แนวคิดสำคัญ - ดาวที่มองเห็นบนท้องฟ้ามีทั้งดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ โดยดาวฤกษ์และดาวเคราะห์มีลักษณะที่แตกต่างกัน ดาวส่วนใหญ่บนท้องฟ้าเป็นดาวฤกษ์ มนุษย์ใช้จินตนาการทำให้มองเห็นกลุ่มของดาวฤกษ์เป็นรูปร่างต่างๆ กลุ่มดาวเหล่านั้นมีรูปร่างคงที่และเส้นทางที่ปรากฏเป็นแบบรูปซ้ำๆ กันเป็นวัฏจักร แผนที่ดาวเป็นเครื่องมือที่ใช้สังเกตตำแหน่งและการขึ้นและตกของกลุ่มดาว
เรื่องที่ 1 ดาวเคราะห์และดาวฤกษ์
ในระบบสุริยะ ดาวดวงใดเป็นดาวฤกษ์ และดวงใดเป็นดาวเคราะห์ เพราะเหตุใด? - ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ เพราะมีแสงในตัวเอง โดยเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ ส่วนดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูนเป็นดาวเคราะห์ เพราะไม่มีแสงในตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์
ดาวฤกษ์ และดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอยู่บริเวณใด ดาวเคราะห์แต่ละดวงใช้เวลาในการเคลื่อนที่เท่ากันหรือไม่? - ดาวฤกษ์ดวงเดียวในระบบสุริยะหรือดวงอาทิตย์ อยู่บริเวณศูนย์กลางของระบบสุริยะ ส่วนดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ โคจรรอบดวงอาทิตย์พร้อมกับหมุนรอบตัวเองโดยใช้เวลาในการเคลื่อนที่ที่แตกต่างกัน
ดาวชนิดใด คือดาวไม่ประจำที่? - ดาวเคราะห์
เหตุใดดาวเคราะห์จึงถูกเรียกว่าเป็นดาวไม่ประจำที่หรือดาวพเนจร? - เพราะดาวเคราะห์ปรากฏบนท้องฟ้าในตำแหน่งที่ไม่ประจำที่หรือมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งไปในรอบปี
ดาวชนิดใด คือดาวประจำที่? - ดาวฤกษ์
เหตุใดดาวฤกษ์จึงถูกเรียกว่าเป็นดาวประจำที่? - เพราะเมื่อมองจากโลก ดาวฤกษ์ดูเหมือนไม่เคลื่อนที่เนื่องจากดาวฤกษ์อยู่ไกลจากโลกมากโดยอยู่นอกระบบสุริยะของเรา ทำให้ดูเหมือนว่าดาวเหล่านี้ไม่เคลื่อนที่
สรุป - ดาวที่มองเห็นบนท้องฟ้า มีทั้งดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ โดยดาวส่วนใหญ่เป็นดาวฤกษ์ ส่วนดาวเคราะห์ที่มองเห็นบนท้องฟ้า เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเป็นดาวไม่ประจำที่หรือดาวพเนจร เนื่องจากดาวเคราะห์เหล่านี้ใช้เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์แตกต่างกันและอยู่ใกล้โลกมาก ทำให้คนบนโลกมองเห็นดาวเคราะห์แต่ละดวงปรากฏบนท้องฟ้าในตำแหน่งที่แตกต่างกันไม่ประจำที่ในรอบปี ส่วนดาวฤกษ์เป็น ดาวประจำที่ เนื่องจาก ดาวฤกษ์เหล่านี้อยู่ไกลจากโลกมาก ทำให้ดูเหมือนว่า ่ดาวเหล่านี้ไม่เคลื่อนที่เมื่อมองจากโลก
กิจกรรมที่ 1 มองเห็นดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ได้อย่างไร
เรามองเห็นวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงได้อย่างไร? - แสงจากวัตถุที่เป็นแหล่งกำหนดแสงเดินทางเข้าสู่ตาเรา
เรามองเห็นวัตถุที่ไม่เป็นแหล่งกำเนิดแสงได้อย่างไร? - แสงจากแหล่งกำเนิดแสงตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าสู่ตาเรา
ดาวเคราะห์มีลักษณะอย่างไร? - ดาวเคราะห์ไม่มีแสงในตัวเอง
เรามองเห็นดาวเคราะห์ได้อย่างไร? - แสงของดวงอาทิตย์หรือดาวฤกษ์ตกกระทบดาวเคราะห์แล้วสะท้อนเข้าสู่ตาเรา
ดาวฤกษ์มีลักษณะอย่างไร? - ดาวฤกษ์มีแสงในตัวเอง
เรามองเห็นดาวฤกษ์ได้อย่างไร? - เรามองเห็นดาวฤกษ์ได้เพราะดาวฤกษ์มีแสงสว่างในตัวเอง และแสงจากดาวฤกษ์เดินทางเข้าสู่ตาเรา
สรุป - ดาวฤกษ์และดาวเคราะห์เป็นดาวที่มีลักษณะคล้ายทรงกลม โดยดาวฤกษ์มีแสงในตัวเองจึงเป็นแหล่งกำเนิดแสง เรามองเห็นดาวฤกษ์ได้เพราะมีแสงจากดาวฤกษ์เข้าสู่ตาเราโดยตรง ส่วนดาวเคราะห์ไม่มีแสงในตัวเอง จึงไม่ใช่แหล่งกำเนิดแสง แต่เรามองเห็นได้ เพราะมีแสงจากดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดแสงตกกระทบดาวเคราะห์แล้วสะท้อนเข้าสู่ตาเรา
เรื่องที่ 2 กลุ่มดาวบนท้องฟ้า
นักเรียนคิดว่าท้องฟ้ามีลักษณะอย่างไร? - ท้องฟ้ามีลักษณะคล้ายครึ่งทรงกลม ซึ่งคล้ายฝาชีโดมหรือฝาแก้วกาแฟพลาสติก
นักเรียนสามารถหาตำแหน่งของเส้นขอบฟ้าได้อย่างไร? - โดยเหยียดแขนออกไปตามแนวราบ แล้วมองไปตามแนวปลายแขนจนเห็นขอบฟ้า จากนั้นหมุนตัวและมองไปตามแนวปลายแขนอย่างต่อเนื่องจะมองเห็นแนวเส้นขอบฟ้า
สถานที่ใดที่นักเรียนสามารถมองเห็นเส้นขอบฟ้าได้ชัดเจนที่สุด เพราะเหตุใด? - ทะเลหรือบนตึกสูง เพราะไม่มีอาคารบ้านเรือนหรือต้นไม้มาบดบังแนวเส้นขอบฟ้า
นักเรียนสามารถหาตำแหน่งของจุดเหนือศีรษะได้อย่างไร? - โดยชูมือขึ้นไปตรงๆ เหนือศีรษะ แล้วแหงนหน้ามองที่ปลายมือซึ่งเป็นจุดสูงสุดของท้องฟ้า ที่ตรงกับศีรษะตนเอง
นักเรียนสามารถเดินทางไปยังจุดเหนือศีรษะและเส้นขอบฟ้าได้หรือไม่ เพราะเหตุใด? - ไม่ได้ เพราะจุดเหนือศีรษะและเส้นขอบฟ้าเป็นเพียงตำแหน่งที่สมมติขึ้น ไม่ได้มีอยู่จริง
สรุป - กลุ่มดาว คือ ดาวฤกษ์ที่มองเห็นเรียงกันเป็นกลุ่มมีรูปร่างต่างๆ บนท้องฟ้า โดยท้องฟ้ามีลักษณะคล้ายครึ่งทรงกลมครบตัวผู้สังเกต และมีตำแหน่งสมมติ เช่น จุดเหนือศีรษะเป็นตำแหน่งที่มองเห็นเหมือนสูงที่สุดบนท้องฟ้า และเส้นขอบฟ้า เป็นแนวเส้นที่มองเห็นเหมือนท้องฟ้าและพื้นน้ำหรือพื้นดินมาบรรจบกัน
กลุ่มดาวคืออะไร? - ดาวฤกษ์หลายๆ ดวงที่มาเรียงกันเป็นกลุ่มดาวมองเห็นบนท้องฟ้า
เส้นขอบฟ้าและจุดเหนือศีรษะคืออะไร? - เส้นขอบฟ้า คือ เส้นสมมติรอบตัวเรา ที่มองเห็นเหมือนท้องฟ้าและพื้นน้ำหรือพื้นดินมาบรรจบกัน ส่วนจุดเหนือศีรษะ คือ จุดสมมติที่อยู่เหนือศีรษะของผู้สังเกต และมองเห็นว่าบริเวณนั้นเป็นจุดที่สูงที่สุดบนท้องฟ้า
กิจกรรมที่ 2.1 เหตุใดจึงเห็นกลุ่มดาวเป็นรูปร่างต่างๆ
การลากเส้นเชื่อมโยงดาวฤกษ์แต่ละดวงเข้าด้วยกัน ทำให้เรามองเห็นดาวฤกษ์เหล่านั้นเป็นอย่างไร? - กลุ่มของดาวฤกษ์เหล่านี้มองเห็นเป็นรูปร่างต่างๆ เช่น เต่า นายพราน
รูปร่างของกลุ่มดาวที่เกิดจากการลากเส้นเชื่อมโยงดาวฤกษ์ของเราและของเพื่อนเหมือนกับของนักดาราศาสตร์หรือไม่ เพราะเหตุใด? - ไม่เหมือนกัน เพราะ การจินตนาการรูปที่เกิดจากการลากเส้นสมมติระหว่างดาวแต่ละดวงเข้าด้วยกันของเราและเพื่อนแตกต่างกับของนักดาราศาสตร์
สรุปได้ว่า - การมองเห็นกลุ่มดาว ซึ่งเป็นกลุ่มของดาวฤกษ์ที่มีตำแหน่งใกล้เคียงกัน มีรูปร่างต่างๆ เกิดจากจินตนาการของมนุษย์
กิจกรรมที่ 2.2 วัฏจักรการปรากฏของกลุ่มดาวเป็นอย่างไร
ปรากฏการณ์การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เกิดจากสาเหตุใด? - การหมุนรอบตัวเองของโลก
กลุ่มดาวมีปรากฏการณ์การขึ้นและตกหรือไม่ อย่างไร? - มี กลุ่มดาวปรากฏขึ้นทางด้านทิศตะวันออกและตกทางด้านทิศตะวันตก
มุมทิศคืออะไร วัดได้อย่างไร? - มุมที่ทำกับทิศเหนือโดยวัดจากทิศเหนือไปในทิศทางตามเข็มนาฬิกา วัดโดยการใช้เข็มทิศ
การใช้เข็มทิศมีขั้นตอนอย่างไร? - วางเข็มทิศบนพื้นราบแล้วหมุนตลับจนหัวลูกศรทับบนตัวอักษร N
มุมเงยคืออะไร วัดได้อย่างไร? - มุมเงย คือ มุมที่ทำกับเส้นขอบฟ้า ซึ่งวัดจากเส้นขอบฟ้าขึ้นไปในแนวดิ่ง การวัดมุมเงยทำได้โดยเหยียดแขนออกไปจนสุดแขนในแนวระดับ หลับตาข้างหนึ่ง ใช้ตาอีกข้างหนึ่งเล็งไปที่ปลายนิ้วมือ ใช้มือวัดมุมเงยโดยเริ่มจากเส้นขอบฟ้าแล้วยกต่อขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงตำแหน่งที่ต้องการทราบค่ามุมเงย
แผนที่ดาวประกอบด้วยส่วนประกอบกี่ส่วนอะไรบ้าง? - แผนที่ดาวประกอบด้วยส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ ซองดาวและแผ่นดาว
ตัวเลขที่เขียนไว้บนวงกลมที่ซองดาวและแผ่นดาวหมายถึงอะไร? - ตัวเลขบนซองดาวเป็นเวลา ส่วนตัวเลขบนแผ่นดาวเป็นวันที่และเดือน
ที่ซองดาว เส้นในแนวนอนที่ขนานกับเส้นขอบฟ้าบอกค่าอะไร? - มุมเงย
ที่ซองดาวเส้นที่ลากจากจุดเหนือศีรษะลงมาตั้งฉากกับเส้นขอบฟ้า จะบอกค่าอะไร? - มุมทิศ
ซองดาวมีกี่ด้าน แต่ละด้านแทนท้องฟ้าด้านทิศใด และมีลักษณะเหมือนคนแสดงอารมณ์ใด? - ซองดาวจะแบ่งครึ่งทรงกลมท้องฟ้าออกเป็น 2 ส่วนคือ ฟ้าทิศเหนือ และฟ้าทิศใต้ ซองดาวด้านทิศเหนือเส้นขอบฟ้าโค้งขึ้นเหมือนคนยิ้ม ซองดาวด้านทิศใต้เส้นขอบฟ้าโค้งลงเหมือนคนหน้าบึ้ง
ที่ซองดาวมีสัญลักษณ์อะไรบ้าง? - อันดับความสว่าง กาแล็กซี เนบิวลา ทางช้างเผือก ตำแหน่งดวงอาทิตย์ เส้นศูนย์สูตร
อันดับความสว่างของดาวฤกษ์มีตั้งแต่ช่วงใดถึงช่วงใด และหมายความว่าอย่างไร? - อันดับความสว่างอยู่ในช่วง -1 ถึง 4 โดย -1 แทนความสว่างที่มากที่สุด และ 4 แทนสว่างน้อยที่สุด
แผ่นดาวแผ่นที่ 1 แผ่นที่ 2 และแผ่นที่ 3 แตกต่างกันอย่างไร? - แผ่นที่ 1 มีจำนวนกลุ่มดาวน้อยกลุ่ม แผ่นที่ 2 มีจำนวนกลุ่มดาวมากกว่าและมีเส้นโยง ส่วนแผ่นที่ 3 มีจำนวนกลุ่มดาวมากและไม่มีเส้นโยง
ใช้แผนที่ดาวโดยสอดแผ่นดาวแผ่นที่ 2 ด้านซีกฟ้าเหนือในซองดาวด้านทิศเหนือพร้อมกับอ่านค่ามุมทิศและมุมเงยในแผนที่ดาว
ถ้าต้องการดูดาวบนท้องฟ้าเวลา 20:00 น. ของคือนวันที่ 20 พฤศจิกายน จะหมุนแผ่นดาวอย่างไร? - หมุนแผ่นดาวให้วันที่ 20 พฤศจิกายน ตรงกับเวลา 20:00 น. บนซองดาว
เมื่อเวลา 20:00 น. ของคืนวันที่ 20 พฤศจิกายน จะเห็นกลุ่มดาวอะไรกำลังขึ้นทางทิศตะวันออก? - กลุ่มดาวนายพราน
ในคืนวันที่ 5 กรกฎาคม เวลาประมาณ 10:00 น. ดาวดวงใดปรากฏที่ตำแหน่งมุมเงย 15 องศา ทางทิศตะวันออก? - ดาวตานกอินทรี
เราใช้กระดาษแก้วสีแดงหุ้มกระจกไฟฉายเมื่อใด และทำไมต้องหุ้มด้วยกระดาษสีแดง? - ใช้กระดาษแก้วสีแดงหุ้มกระจกไฟฉายเมื่อออกไปสังเกตท้องฟ้าจริง เพื่อลดความสว่างและไม่ให้แสงสีขาวจากไฟฉายรบกวนการมองเห็นดาว ขณะใช้ไฟฉายส่องแผนที่ดาว เพื่อดูลักษณะของดาวในแผ่นดาว
นักเรียนมีวิธีบอกตำแหน่งกลุ่มดาวอย่างไร? - บอกค่ามุมทิศและมุมเงย
นักเรียนใช้เครื่องมืออะไรหามุมทิศ และวัดค่ามุมเงยเพื่อหาตำแหน่งของ กลุ่มดาว? - ใช้เข็มทิศหามุมทิศและใช้มือหามุมเงย
เมื่อสังเกตดาวในเวลา 19:00 น., 22:00 น. และ 5:00 น. ในวันถัดไป กลุ่มดาวนั้นอยู่ที่ตำแหน่งเดิมหรือไม่ อย่างไร? - ในแต่ละช่วงเวลาที่สังเกต กลุ่มดาวไม่อยู่ตำแหน่งเดิม แต่เปลี่ยนตำแหน่ง โดยเคลื่อนที่สูงขึ้นจากขอบฟ้าด้านตะวันออก แล้วเคลื่อนที่สูงขึ้นไปบนท้องฟ้า จากนั้นเคลื่อนที่ต่ำลงทางขอบฟ้าด้านตะวันตก
ขณะที่สังเกตุกลุ่มดาวในแต่ละเวลา นักเรียนเห็นกลุ่มดาวเปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือไม่ อย่างไร? - กลุ่มดาวไม่เปลี่ยนรูปร่างยังคงมีรูปร่างเหมือนเดิม
ถ้าหมุนแผนที่ดาวให้ผ่านไป 1 วัน ดาวกลุ่มนั้นยังขึ้นและตก เวลาเดิมหรือไม่ อย่างไร และกลุ่มดาวกลุ่มนั้นเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปหรือไม่ อย่างไร? - เวลาการขึ้นและตกเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย โดย กลุ่มดาวที่สนใจจะขึ้นและตกเร็วขึ้น แต่รูปร่างไม่เปลี่ยน
ถ้าหมุนแผนที่ดาวให้ผ่านไป 1 เดือน ดาวกลุ่มนั้นยังขึ้นและตก เวลาเดิมหรือไม่ อย่างไร และกลุ่มดาวกลุ่มนั้นเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปหรือไม่ อย่างไร? - เวลาการขึ้นและตกเปลี่ยนแปลงไป โดย กลุ่มดาวที่สนใจจะขึ้นและตกเร็วขึ้นประมาณ 2 ชั่วโมง แต่รูปร่างไม่เปลี่ยน
ถ้าหมุนแผนที่ดาวไป 1 ปี แล้วดูดาวในวันที่ เดือน และเวลาเดิม จะมองเห็นกลุ่มดาวนั้นเป็นอย่างไร และถ้าทำเช่นนี้ต่อไปอีกหลายๆ ปี ผลจะเป็นเช่นไร? - จะมองเห็นกลุ่มดาวขึ้นตกในเวลาเดิม เช่นเดียวกับปีก่อน โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และในแต่ละปีการขึ้นและตกของกลุ่มดาวจะเป็นเช่นนี้ซ้ำๆ เป็นแบบรูป
การปรากฏขึ้นตกของกลุ่มดาวเป็นวัฏจักรหรือไม่ เพราะเหตุใด? - เป็นวัฏจักร เพราะ ปรากฏขึ้นและตกเป็นแบบรูปซ้ำๆ ไม่สิ้นสุด
ฉันรู้อะไร
การระบุตำแหน่งกลุ่มดาว ในวัน เดือน และเวลาที่ต้องการสังเกตุจะระบุได้อย่างไร? - การระบุตำแหน่งของกลุ่มดาว ทำได้โดยใช้แผนที่ดาวระบุมุมทิศและมุมเงย
การฝึกใช้แผนที่ดาวเพื่อช่วยในการดูดาว ต้องปฏิบัติเป็นลำดับอย่างไรบ้าง?
1.ศึกษาส่วนประกอบของแผนที่ดาว
2.หมุนวันที่และเดือนที่ปรากฏบนแผ่นดาว ให้ตรงกับวัน เวลาที่จะสังเกตดาว
3.ฝึกหาตำแหน่งของกลุ่มดาวที่ปรากฏในแผนที่ดาว
จากการใช้แผนที่ดาว ตำแหน่งของกลุ่มดาวที่สังเกตใน 1 วัน ในเวลาต่างๆ กลุ่มดาวนั้นจะอยู่ที่ตำแหน่งเดิมหรือไม่ อย่างไร? - จากการใช้แผนที่ดาว พบว่า ใน 1 วัน กลุ่มดาวที่สังเกตุมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งไปเรี่อยๆ โดยเคลื่อนที่จากด้านตะวันออกไปทางด้านตะวันตก
จากการใช้แผนที่ดาว ตำแหน่งของกลุ่มดาวที่สังเกตในวันถัดๆ ไป ในเวลาเดิมอยู่ที่ตำแหน่งเดิมหรือไม่ อย่างไร? - จากการใช้แผนที่ดาวพบว่า ตำแหน่งของกลุ่มดาวที่สังเกตในวันถัดๆ ไป มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งเล็กน้อย โดยปรากฏห่างจากตำแหน่งเดิมไปทางทิศตะวันตก
จากการใช้แผนที่ดาว ตำแหน่งของกลุ่มดาวที่สังเกตในปีถัดๆ ไป ในวันและเวลาเดิมอยู่ที่ตำแหน่งเดิมหรือไม่ อย่างไร? - พบว่า ตำแหน่งของ กลุ่ม ดาวที่สังเกตในปีถัดๆ ไป เมื่อสังเกตที่วันและเวลาเดิม กลุ่มดาวจะปรากฏที่ตำแหน่งเดิมทุกๆ ปี
จากการใช้แผนที่ดาวและการสังเกตท้องฟ้า ลักษณะและการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของกลุ่มดาวเหมือนหรือต่างกัน อย่างไร? - พบว่า ลักษณะการเรียงตัวของดาวแต่ละดวงในกลุ่ม และการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของกลุ่มดาวเหมือนกัน
กลุ่มดาวมีปรากฏการณ์ขึ้นและตกหรือไม่ รู้ได้อย่างไร? - กลุ่มดาวมีปรากฏการณ์ขึ้นและตก สังเกตจากกลุ่มดาวมีการเปลี่ยนตำแหน่งโดยปรากฏขึ้นที่ขอบผ้าด้านตะวันออกและลับขอบฟ้าด้านตะวันตก และเป็นเช่นนี้ทุกคืน
สรุป - กลุ่มดาวจะมีการเรียงตัวที่ตำแหน่งคงที่ โดยมีปรากฏการณ์ขึ้นและตกหรือมีการเปลี่ยนตำแหน่งในแต่ละเวลาในวันหนึ่งๆ และมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งไปทุกวันในรอบปี การเปลี่ยนตำแหน่งของกลุ่มดาวเป็นวัฏจักร
ดาวเคราะห์และดาวฤกษ์เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร? - ดาวเคราะห์และดาวฤกษ์มีส่วนที่เหมือนกันคือเป็นดาวที่มีลักษณะคล้ายทรงกลม แต่แตกต่างกันตรงที่ดาวเคราะห์เป็นดาวที่ไม่มีแสงในตัวเอง คนบนโลกสามารถมองเห็นดาวเคราะห์ได้เนื่องจากดาวเคราะห์ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์แล้วสะท้อนเข้าสู่ตาของเรา ส่วนดาวฤกษ์มีแสงในตัวเอง แสงจากดาวฤกษ์เข้าสู่ตาของผู้สังเกตได้โดยตรงคนบนโลกจึงมองเห็นดาวฤกษ์ได้
กลุ่มดาวเรียงตัวกันเป็นกลุ่มแบบเดิมตลอดไปหรือไม่? - ดาวฤกษ์เป็นดาวที่มีตำแหน่งการเรียงตัวคงที่ เมื่อจินตนาการโดยลากเส้นเชื่อมโยงดาวฤกษ์ดวงที่สว่างที่มีตำแหน่งใกล้กันจะเห็นว่ามีรูปร่างต่างๆ เราสามารถใช้แผนที่ดาวช่วยในการสังเกตตำแหน่งของกลุ่มดาว โดยกลุ่มดาวมีเส้นทางการขึ้นและตก
การปรากฏของกลุ่มดาวจะเป็นเช่นไร? - การปรากฏที่เป็นแบบรูป เรียก วัฏจักรการปรากฏของกลุ่มดาว