Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 4 วัฎจักร บทที่ 1 วัฏจักรน้ำ 3-4 - Coggle Diagram
หน่วยที่ 4 วัฎจักร บทที่ 1 วัฏจักรน้ำ 3-4
เรื่องที่ 3 หยาดน้ำฟ้า
ฝน หิมะ ลูกเห็บ มีลักษณะเป็นอย่างไร? - ฝนเป็นหยดน้ำที่ตกลงมาจากฟ้า มีสถานะเป็นของเหลว หิมะเป็นผลึกน้ำแข็ง มีสถานะเป็นของแข็ง ลักษณะฟูเป็นปุยตกลงมาจากฟ้า ส่วนลูกเห็บเป็นก้อนน้ำแข็ง มีลักษณะเป็นของแข็ง ตกลงมาจากฟ้า
ฝน หิมะ ลูกเห็บ เหมือนกันอย่างไร? - ตกลงมาจากท้องฟ้าสู่พื้นโลกเหมือนกัน
รู้จักหยาดน้ำฟ้าหรือไม่ หยาดน้ำฟ้าเป็นอย่างไร? - น้ำทุกรูปแบบหรือทุกสถานะที่ตกจากท้องฟ้ามาถึงพื้นโลก
ฝนคืออะไร? - ฝนคือน้ำที่ตกลงมาจากฟ้า
ลูกเห็บคืออะไร มีลักษณะอย่างไร? - ลูกเห็บเป็นก้อนน้ำแข็งที่ตกลงมาจากฟ้า มีลักษณะเป็นชั้นๆ ซ้อนกัน คล้ายหัวหอม มีสถานะเป็นของแข็ง
เราสามารถพบลูกเห็บได้บริเวณใดบ้าง? - พบได้ในบริเวณทั่วไปในประเทศทที่เป็นเขตร้อนและเขตหนาว
หิมะคืออะไร มีลักษณะอย่างไร? - เป็นผลึกน้ำแข็งขนาดเล็กที่รวมตัวกันเป็นเกล็ดหิมะสวยงามแล้วตกลงมาจากฟ้า
เราสามารถพบหิมะได้บริเวณใดบ้าง? - บริเวณทั่วไปในประเทศที่มีอุณหภูมิของอากาศลดลงต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส
ฝน หิมะ ลูกเห็บ เรียกรวมกันว่าอะไร? - หยาดน้ำฟ้า
หยาดน้ำฟ้าคืออะไร? - หยาดน้ำฟ้า คือ น้ำที่ตกจากท้องฟ้ามาถึงพื้นโลก
หยาดน้ำฟ้าได้แก่อะไรบ้าง และแต่ละชนิดมีสถานะใด? - หยาดน้ำฟ้า ได้แก่ ฝน หิมะและลูกเห็บ โดยฝน มีสถานะเป็นของเหลว ส่วนหิมะและลูกเห็บ มีสถานเป็นของแข็ง
กิจกรรมที่ 3 ฝน หิมะ และลูกเห็บเกิดขึ้นได้อย่างไร
ฝน หิมะ ลูกเห็บเกิดขึ้นได้อย่างไร? - ฝนเกิดจากละอองน้ำในเมฆรวมตัวกันและตกลงสู่พื้นโลกในสถานะของเหลว หิมะเกิดขึ้นในบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง โดยเกิดจากไอน้ำระเหิดกลับเป็นผลึกน้ำแข็งในเมฆที่ถูกพัดวนขึ้นลงภายในเมฆคิวมูโล นิมบัสจนเกิดการพอกตัวของน้ำแข็งเป็นชั้นๆ แล้วตกลงมายังพื้นโลกในลักษณะของก้อนน้ำแข็ง
ฝนเกิดขึ้นได้อย่างไร? - ฝนเกิดจากละอองน้ำในเมฆชนกันและรวมตัวกันมีขนาดใหญ่ขึ้นจนมีน้ำหนักมากเกินกว่าที่บรรยากาศจะพยุงไว้ได้ ก็จะตกลงมายังพื้นโลก
หิมะเกิดขึ้นได้อย่างไร? - หิมะเกิดจากไอน้ำในอากาศซึ่งมีสถานะเป็นแก๊สจะระเหิดกลับเปลี่ยนสถานะเป็นผลึกน้ำแข็งและตกลงมาบนพื้นผิวโลก
ลูกเห็บเกิดขึ้นได้อย่างไร? - ลูกเห็บเกิดจากหยดน้ำภายในเมฆที่เกิดการแข็งตัวเป็นน้ำแข็งในเมฆฝนฟ้าคะนองหรือเมฆคิวมูโลนิมบัสจะถูกพัดขึ้นลงในเมฆ มีการรวมตัวกับหยดน้ำหรือผลึกน้ำแข็งทำให้เกิดการพอกตัวมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นชั้นๆ คล้ายหัวหอม เมื่อถูกพักขึ้นไปในระดับที่สูงและมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง และเมื่ออากาศไม่สามารถพยุงรับน้ำหนักไว้ได้ก็จะตกลงสู่พื้นโลกในลักษณะเป็นก้อนน้ำแข็ง
สรุป - ฝนเกิดจากละอองน้ำในเมฆรวมตัวกันและตกลงสู่พื้นโลกในสถานะของเหลว หิมะเกิดจากไอน้ำในอากาศเปลี่ยนเป็นผลึกน้ำแข็ง และได้รวมตัวกันจนมีน้ำหนักมากขึ้นจนเกินกว่าอากาศจะพยุงไว้จึงตกลงมา ลูกเห็บเกิดจากหยดน้ำหรือผลึกน้ำแข็งในเมฆคิวมูโลนิมบัส ที่ถูกกระแสอากาศพัดขึ้นลงเกิดการพอกตัวของน้ำแข็งเป็นชั้นๆ คล้ายหัวหอม จนมีขนาดใหญ่แล้วตกลงสู่พื้นโลก ทั้งฝน หิมะ และลูกเห็บ ล้วนเป็นหยาดน้ำฟ้า เพราะเป็นน้ำในสถานะต่างๆ ที่ตกจากฟ้ามายังพื้นโลก
หยาดน้ำฟ้า
ฝน
มีลักษณะเป็น หยดน้ำ มีสถานะเป็นของเหลว
เกิดจาก ละอองน้ำในเมฆชนกันและรวมตัวกันมีขนาดใหญ่ขึ้นจนมีน้ำหนักมากเกินกว่าที่บรรยากาศจะพยุงไว้ได้แล้วตกลงมาสู่พื้นโลก
หิมะ
มีลักษณะเป็น ผลึกน้ำแข็ง มีสถานะเป็นของแข็ง
เกิดจาก ไอน้ำในอากาศซึ่งมีสถานะเป็นแก๊สระเหิดกลับ เปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งจับตัวกันเป็นผลึกน้ำแข็งแล้วตกลงมาสู่พื้นโลก
ลูกเห็บ
มีลักษณะเป็น ก้อนน้ำแข็งเป็นชั้นๆ คล้ายหัวหอม มีสถานะเป็นของแข็ง
เกิดจาก หยดน้ำหรือผลึกน้ำแข็งในเมฆคิวมูโลนิมบัส ที่ถูกกระแสอากาศพัดขึ้นลงเกิดการพอกตัวของน้ำแข็งเป็นชั้นๆ จนมีขนาดใหญ่ขึ้นแล้วตกลงมาสู่พื้นโลก
หยาดน้ำฟ้าแต่ละชนิด มีลักษณะและการเกิดเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร? - ฝน หิมะ และลูกเห็บ เกิดจากละอองน้ำในเมฆรวมตัวกันและตกจากท้องฟ้าลงสู่พื้นโลกเหมือนกัน แต่ฝนจะเกิดจากละอองน้ำในเมฆรวมตัวกันและตกลงสู่พื้นโลกในสถานะของเหลว ลูกเห็บเกิดจากหยดน้ำที่เปลี่ยนสถานะเป็นน้ำแข็งแล้วถูกพายุพัดวนซ้ำไปซ้ำมาในเมฆคิวมูโลนิมบัสจนเป็นก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่ แล้วตกลงมาสู่พื้นโลก หิมะเกิดจากไอน้ำในอากาศระเหิดกลับแล้วจับตัวกันเป็นผลึกน้ำแข็ง แล้วตกลงมาสู่พื้นโลก
ในประเทศไทย ลูกเห็บมักเกิดขึ้นที่ไหนและเกิดในช่วงฤดูใด? - ในประเทศไทยลูกเห็บมักเกิดมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนพฤษภาคม
เรื่องที่ 4 การหมุนเวียนของน้ำ
เมื่อน้ำได้รับความร้อนจะเป็นอย่างไร? - น้ำจะระเหยกลายเป็นไอน้ำลอยขึ้นไปบนท้องฟ้า
เมื่ออุณหภูมิของอากาศลดลงจะส่งผลต่อไอน้ำที่อยู่ในอากาศอย่างไร? - เมื่ออุณหภูมิของอากาศลดลง ไอน้ำในอากาศควบแน่นเป็นละอองน้ำและรวมตัวกันตกลงมาเป็นฝนและไหลไปตามที่ต่างๆ
ทำอย่างไรเราจะสามารถนำน้ำจากแหล่งต่างๆ มาดื่มได้อย่างปลอดภัย? - สามารถนำน้ำจากแหล่งต่างๆ มาผ่านกระบวนการที่ทำให้น้ำสะอาดขึ้น
การหมุนเวียนของน้ำบนโลกเป็นอย่างไร? - น้ำมีการหมุนเวียนจากแหล่งน้ำต่างๆ โดยน้ำจะระเหยกลายเป็นไอแล้วรวมตัวควบแน่นเป็นละอองน้ำเป็นน้ำฝนตกลงมาและไหลไปตามที่ต่างๆ บางส่วนสะสมบนแหล่งน้ำผิวดิน แต่บางส่วนอาจสะสมในแหล่งน้ำใต้ดิน
กิจกรรมที่ 4 วัฏจักรน้ำเป็นอย่างไร
การเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของน้ำจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่งเกิดขึ้นได้อย่างไร? - น้ำจากแหล่งต่างๆ อาจมีการเปลี่ยนที่อยู่ โดยไหลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งหรือน้ำอาจเปลี่ยนสถานะไปอยู่ตามที่ต่างๆ
ในการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของอนุภาคน้ำแต่ละครั้งต้องเปลี่ยนสถานะด้วยหรือไม่? - อาจเปลี่ยนสถานะหรือไม่เปลี่ยนสถานะก็ได้ เช่น การเปลี่ยนแหล่งที่อยู่จากแม่น้ำไปทะเลสาบ ไม่มีการเปลี่ยนสถานะ แต่การเปลี่ยนแหล่งที่อยู่จากเมฆไปธารน้ำแข็งมีการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวไปเป็นของแข็ง
การเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของอนุภาคน้ำไปที่ใดบ้างที่ต้องเปลี่ยนสถานะ?
น้ำจากสัตว์ซึ่งเป็นของเหลวต้องระเหยเป็นไอแล้วควบแน่นเป็นละอองน้ำซึ่งเป็นของเหลวอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงไปจับตัวกันเป็นเมฆ
ละอองน้ำในเมฆรวมตัวกันตกลงมาเป็นฝน แล้วเปลี่ยนสถานะ เป็นน้ำแข็งตามบริเวณพื้นดินที่หนาวจัดเกิดเป็นธารน้ำแข็ง
ธารน้ำแข็ง มีการหลอมเหลวเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น น้ำที่หลอมเหลวออกมาไหลลงสู่แม่น้ำ
ธารน้ำแข็ง มีการหลอมเหลวเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น น้ำที่หลอมเหลวออกมาเกิดการระเหยเป็นไอน้ำและไอน้ำควบแน่นเกิดเป็นเมฆ
ธารน้ำแข็ง มีการหลอมเหลวเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น น้ำที่หลอมเหลวออกมาซึมลงสู่ดิน
น้ำในมหาสมุทรระเหยเป็นไอน้ำและไอน้ำควบแน่นเกิดเป็นเมฆ
พืชคายน้ำแล้วระเหยเป็นไอน้ำและไอน้ำควบแน่นเกิดเป็นเมฆ
น้ำในดินระเหยเป็นไอน้ำและไอน้ำควบแน่นเกิดเป็นเมฆ
การเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของอนุภาคน้ำไปที่ใดบ้างไม่เปลี่ยนสถานะ
สัตว์ขับน้ำออกจากร่างกายลงสู่ดิน
ละอองน้ำในเมฆเกิดการรวมตัวกันแล้วตกเป็นฝนลงสู่ดิน
ละอองน้ำในเมฆเกิดการรวมตัวกันแล้วตกลงสู่มหาสมุทร
ละอองน้ำในเมฆเกิดการรวมตัวกันเป็นหยดน้ำแล้วตกลงสู่ทะเลสาบ
น้ำใต้ดินจะไหลลงในทะเลสาบ
น้ำใต้ดินจะไหลลงในแม่น้ำ
สัตว์ดื่มน้ำในทะเลสาบ
น้ำในทะเลสาบไหลลงสู่แม่น้ำ
น้ำในทะเลสาบซึมลงสู่ดิน
น้ำในแม่น้ำไหลลงสู่ทะเลสาบ
น้ำในแม่น้ำไหลลงสู่ดิน
น้ำในแม่น้ำไหลลงสู่มหาสมุทร
สัตว์ดื่มน้ำในแม่น้ำ
การเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของน้ำจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่งมีแบบรูปการเปลี่ยนแปลงที่คงที่หรือไม่? - การเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของน้ำจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่งจะมีแบบรูปการเปลี่ยนแปลงคงที่ เช่น การเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของน้ำจากเมฆไปยังมหาสมุทร จะเกิดขึ้นได้โดยละอองน้ำในเมฆจะรวมตัวกันเป็นหยดน้ำ เมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นก็จะตกลงมาเป็นฝนลงสู่มหาสมุทร ซึ่งแบบรูปนี้จะคงที่เสมอถ้าน้ำเปลี่ยนแปลงที่อยู่จากเมฆไปยังมหาสมุทร หรือถ้าน้ำเปลี่ยนแปลงที่อยู่จากทะเลสาบไปเป็นเมฆ แบบรูปการเปลี่ยนแปลงคือน้ำในทะเลสาบระเหยกลายเป็นไอ แล้วไอน้ำควบแน่นเป็นละอองน้ำแล้วจับตัวกันเป็นเมฆ ซึ่งแบบรูปการเปลี่ยนแปลงนี้จะคงที่เสมอ ถ้าน้ำจากทะเลสาบจะเปลี่ยนที่อยู่ไปเป็นเมฆ
สรุป - การหมุนเวียนของอนุภาคน้ำระหว่างแหล่งต่างๆ เป็นวัฏจักร มีการเปลี่ยนที่อยู่ของแหล่งน้ำจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนสถานะหรือไม่เปลี่ยนสถานะก็ได้ การเปลี่ยนที่อยู่ของอนุภาคน้ำจากแหล่งน้ำเดิมไปยังแหล่งน้ำใหม่ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่บริเวณใดในโลกจะมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เป็นแบบรูปคงที่
ฉันรู้อะไร
อนุภาคน้ำแต่ละอนุภาคหมุนเวียนไปที่เดียวกันและพร้อมกันหรือไม่ อย่างไร? - อนุภาคน้ำแต่ละอนุภาคอาจหมุนเวียนไปแหล่งเดียวกันหรือไม่หมุนเวียนไปแหล่งเดียวกันก็ได้ เช่น อนุภาคน้ำแต่ละอนุภาคจากแม่น้ำอาจหมุนเวียนไปยังเมฆเหมือนกันหรืออาจหมุนเวียนไปยังมหาสมุทร หรือสัตว์ หรือน้ำใต้ดิน หรืออื่นๆ
การหมุนเวียนของน้ำไปที่ต่างๆ ในวัฏจักรน้ำมีการเปลี่ยสถานะทุกครั้งหรือไม่ อย่างไร? - การหมุนเวียนของน้ำอาจมีหรือไม่มีการเปลี่ยนสถานะก็ได้ เช่น น้ำในแม่น้ำไหลซึมลงใต้ดินหรือไหลลงมหาสมุทรจะไม่มีการเปลี่ยนสถานะ แต่น้ำในแม่น้ำไปที่เมฆจะมีการระเหยเป็นไอน้ำและไอน้ำควบแน่นกลายเป็นเมฆซึ่งมีการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊สและจากแก๊สเปลี่ยนกลับเป็นของเหลว
อนุภาคน้ำแต่ละอนุภาคมีโอกาสกลับมาที่จุดเริ่มต้นหรือไม่ อย่างไร? - อนุภาคน้ำบางอนุภาคอาจกลับมาที่จุดเริ่มต้นได้หรืออาจไม่กลับมายังจุดเริ่มต้นก็ได้ เช่น น้ำในแม่น้ำ อาจหมุนเวียนไปยังเมฆ ธารน้ำแข็ง และกลับมายังแม่น้ำได้ หรือน้ำจากแม่น้ำอาจหมุนเวียนไปยังเมฆ และไปสะสมอยู่ในมหาสมุทรโดยไม่กลับมาที่จุดเริ่มต้น
เมื่อน้ำระเหยสู่บรรยากาศและกลับมายังพื้นโลกอีกครั้ง จะกลับมาสู่ตำแหน่งเดิมบนพื้นโลกหรือไม่ เพราะเหตุใด? - น้ำอาจกลับมาตำแหน่งเดิมบนพื้นโลกได้ เพราะน้ำมีการหมุนเวียนไปตามแหล่งต่างๆ แต่มีโอกาสที่จะกลับมาตำแหน่งเดิมอยู่ตลอด เพียงแต่เวลาที่ใช้ในการกลับมาของน้ำไปยังตำแหน่งเดิมบนพื้นโลกอาจยาวนานแตกต่างกันในแต่ละครั้ง
น้ำบนโลกส่วนใหญ่อยู่ที่ใด? - น้ำของโลกส่วนใหญ่อยู่ในมหาสมุทร
กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของอนุภาคน้ำจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง มีแบบรูปอะไรบ้าง? - แบบรูปการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของน้ำมีทั้งการเปลี่ยนแปลงที่อยู่โดยไม่มีการเปลี่ยนสถานะและมีการเปลี่ยนสถานะ
อนุภาคน้ำที่เปลี่ยนแปลงที่อยู่จากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นแบบรูปคงที่หรือไม่ เพราะเหตุใด? - มีแบบรูปการเปลี่ยนแปลงคงที่ เช่น การเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของน้ำจากเมฆไปยังมหาสมุทร จะเกิดขึ้นได้โดยละอองน้ำในเมฆจะรวมตัวกันเป็นหยดน้ำ เมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นก็จะตกลงมาเป็นฝนลงสู่มหาสมุทร
สรุป - วัฏจักรน้ำ เกิดจากการหมุนเวียนที่อยู่ของน้ำอย่างต่อเนื่องระหว่างน้ำจากแหล่งต่างๆ ทั้งน้ำผิวดิน น้ำใต้ดินและน้ำในอากาศ โดยการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของน้ำจะมีแบบรูปคงที่ คือ ถ้าอนุภาคน้ำจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึจ่ง ไม่ว่าจะเกิดที่บริเวณใดหรือเกิดขึ้นเมื่อใด จะมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เป็นแบบรูปคงที่
คำถามท้ายบท
จำแนกแหล่งน้ำต่างๆ บนโลก โดยเกณฑ์
1.เกณฑ์ประเภทของแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำเค็ม เช่น มหาสมุทร ทะเล
แหล่งน้ำจืด เช่น น้ำบาดาล ทะเลสาบ บึง แม่น้ำ ธารน้ำแข็ง น้ำแข็งใต้ดิน ความชื้นในดิน
2.เกณฑ์ตำแหน่งที่อยู่ของแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำผิวดิน เช่น มหาสมุทร ทะเล บึง แม่น้ำ
แหล่งน้ำใต้ดิน เช่น น้ำบาดาล
3.เกณฑ์การใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้ เช่น ธารน้ำแข็ง น้ำแข็งใต้ดิน ความชื้นในดิน
แหล่งน้ำที่นำมาใช้ได้ เช่น ทะเลสาบ บึง แม่น้ำ น้ำบาดาล
ข้อความที่ถูกต้อง
เมฆมีสถานะได้ทั้งของแข็งและของเหลว
น้ำค้างเกิดจากไอน้ำในอากาศที่เย็นลงแล้วเปลี่ยนเป็นหยดน้ำเกาะอยู่บนพื้นผิวของวัตถุใกล้ผิวโลก
วัฏจักรน้ำเป็นแบบรูปการหมุนเวียนอย่างต่อเนื่องของน้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน น้ำในบรรยากาศ และน้ำจากกิจกรรมต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต
ฝนเกิดจากการที่ละอองน้ำในบรรยากาศควบแน่นเป็นหยดน้ำแล้วตกลงมา
แบบรูปหนึ่งในวัฏจักรน้ำ คือ การที่น้ำผิวดินระเหยเป็นไอแล้วควบแน่นเป็นละอองน้ำ จับตัวเป็นเมฆบนท้องฟ้า จากนั้นจะชนและรวมตัวกันเป็นฝนตกลงสู่พื้นโลก
เพราะเหตุใดลูกเห็บจึงเกิดในบริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง? - หยดน้ำหรือผลึกน้ำแข็งในเมฆฝนฟ้าคะนอง จะถูกพัดวนซ้ำไปซ้ำมาในเมฆนั้น จนกลายเป็นก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่ คล้ายหัวหอม แล้วตกลงมาสู่พื้นโลก เป็นลูกเห็บ และลูกเห็บสามารถเกิดได้มากบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เพราะเหตุใดจึงไม่เกิดหิมะขึ้นในประเทศที่อยู่ในเขตร้อน? - เพราะว่าหิมะเกิดจากการระเหิดกลับของไอน้ำในอากาศ แล้วเปลี่ยนสถานะเป็นผลึกน้ำแข็ง จะเกิดได้บริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ซึ่งต้องเป็นพื้นที่เขตหนาว หรือยอดเขาสูงๆ เท่านั้น
ถ้าอนุภาคน้ำเปลี่ยนแปลงที่อยู่จากธารน้ำแข็งไปเป็นเมฆ จะมีแบบรูปการเปลี่ยนแปลงอย่างไร แบบรูปนี้จะคงที่ทุกครั้งหรือไม่? - การเปลี่ยนแปลงอนุภาคน้ำจากธารน้ำแข็งไปเป็นเมฆมีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงคงที่ คือ ธารน้ำแข็งจะมีการหลอมเหลวเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น น้ำที่หลอมเหลวก็จะระเหยกลายเป็นไอน้ำ แล้วควบแน่นเกิดเป็นเมฆ ซึ่งไม่ว่าธารน้ำแข็งจะเปลี่ยนไปเป็นเมฆกี่ครั้งก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เสมอ