Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสร้างเสริมสุขภาพวัยเตาะแตะและวัยก่อนเรียน, 632111026 นูรุลฮูดา สามะ…
การสร้างเสริมสุขภาพวัยเตาะแตะและวัยก่อนเรียน
การสร้างเสริมด้านร่างกาย
1.การป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคด้วยวัคซีน
2.การส่งเสริมดูแลรักษาสุขภาพฟัน
เลือกแปรงสีฟันขนนุ่ม
ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์เล็กน้อย
แปรงฟันอย่างถูกวิธีแปรงไปมาแนวนอนสั้นๆแปรงทุกซี่ทั้งด้านนอกด้านในและด้านบดเคี้ยว
3.การส่งเสริมด้านโภชนาการ
จัดอาหารให้มีคุณค่าทางโภชนาการในมื้อหลักควรมีอาหารครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้เด็กวัยนี้ได้พลังงานและสารอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
จัดอาหารให้น่ารับประทาน เพื่อกระตุ้นให้เด็กอยากรับประทานอาหาร ให้อาหารมีกลิ่น สี น่ารับประทานโดยรักษาสีธรรมชาติของอาหารไว้
จัดอาหารให้หลากหลาย อาหารมีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น มีนุ่ม กรอบ เหลว เป็นต้น
ให้เด็กมีส่วนร่วมในการคิดรายการอาหาร จะทำให้เด็กทานอาหารมากขึ้น
4.การสร้างเสริมลักษณะการนอนที่ดี
5.การปรับพฤติกรรมปัสสาวะรดที่นอน
6.การส่งเสริมการหัดเดินด้วยการเลือกรองเท้าที่เหมาะสม
7.การป้องกันอุบัติเหตุ
ของมีคม ยา วัตถุไวไฟ หรือสารมีพิษต่าง ๆ ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก
จัดให้มีแสงสว่างเพียงพอภายในบริเวณบ้าน
เรียนรู้ เรื่อง การปฐมพยาบาลและการปฏิบัติ เมื่อเกิดอุบัติเหตุภายในบ้าน
ปิดสวิตซ์และถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งเมื่อใช้งานเสร็จ
ปิดวาวล์แก๊สหุงต้มอาหารทุกครั้งหลังการใช้งาน
หมั่นดูแล ตรวจสอบ และแก้ไขอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพดี ไม่ใช้อุปกรณ์ที่ชำรุด
ระมัดระวังตนเอง และสอนลูกหลานให้ตระหนักถึงกฎแห่งความปลอดภัย
จัดของเล่น ของใช้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบ ไม่วางเกะกะ
การสร้างเสริมด้านสังคม
1.การส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมทั่วไป
ความเข้าใจถึงความรู้สึกของคนอื่นและตอบสนองได้อย่างเหมาะสม
มีการแบ่งปันและให้ความร่วมมือ
เรียนรู้ที่จะสร้างและคงความสัมพันธ์กับเพื่อนได้
สามารถที่จะอยู่ร่วมเล่นกับเด็กในวัยเดียวกันได้
ทำงานที่จะต้องแก้ปัญหากับผู้อื่นได้
2.การพัฒนาการเล่น
การพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ให้เวลาเล่นกับลูกมากขึ้น : การเล่น ช่วยให้เด็กก่อนวัยเรียนแสดงความรู้สึก เช่น ความสุข ความตื่นเต้น ความโกรธ หรือความกลัว ลูกของคุณอาจชอบการเล่นที่ยุ่งเหยิงในทราย หรือโคลน ทำท่าเล่นกับหุ่นหรือเล่นกลางแจ้งพร้อมกับวิ่งเล่นกลิ้งไปกลิ้งมา
การสร้างเสริมด้านจิตและจิตวิญญาณ
1.การปรับพฤติกรรมเด็กเจ้าอารมณ์
เริ่มแก้ที่ผู้ใหญ่
ฝึกให้ลูกควบคุมอารมณ์
คัดกรองสื่อต่าง ๆ
อย่าตามใจลูกทุกเรื่อง
ให้ลูกออกกำลังกาย
2.การสร้างเสริมวุฒิภาวะทางอารมณ์
เข้าใจพื้นอารมณ์ของลูก และการปรับการเลี้ยงดูให้เหมาะสม
สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออาทรต่อการพัฒนาอารมณ์ของลูก
ฝึกฝนทักษะต่างๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาอารมณ์
632111026 นูรุลฮูดา สามะ คณะพยาบาลศาสตร์