Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วย 4 วัฎจักร บทที่ 1 วัฏจักรน้ำ - Coggle Diagram
หน่วย 4 วัฎจักร บทที่ 1 วัฏจักรน้ำ
เรื่องที่ 1 แหล่งน้ำ
กิจกรรมที่ 1.1 น้ำแต่ละแหล่งบนโลกมีอยู่เท่าใด
ปริมาณน้ำบนโลกส่วนใหญ่เป็นน้ำจืดหรือน้ำเค็ม? - น้ำบนโลกส่วนใหญ่เป็นน้ำเค็ม
โลกปกคลุมด้วยน้ำร้อยละเท่าใดของพื้นที่ทั้งหมด? - ร้อยละ 70
ปริมาณน้ำบนโลกส่วนใหญ่เป็นน้ำจืดหรือน้ำเค็ม? - น้ำเค็ม
แหล่งน้ำใดมีน้ำมากที่สุด? - มหาสมุทรและทะเล
แหล่งน้ำเค็มพบได้ที่ไหนบ้าง? - มหาสมุทร ทะเล และแหล่งน้ำเค็มอื่นๆ เช่น ทะเลสาบน้ำเค็ม
ปริมาณน้ำทั้งหมดบนโลกเป็นน้ำเค็มและน้ำจืดร้อยละเท่าใด? - ปริมาณน้ำเค็ม คิดเป็นร้อยละ 97.5 และปริมาณน้ำจืดคิดเป็นร้อยละ 2.5
ปริมาณแหล่งน้ำเค็มคิดเป็นกี่เท่าของปริมาณแหล่งน้ำจืด? - 39 เท่า
แหล่งน้ำจืดแบ่งออกเป็นอะไรบ้าง? - แหล่งน้ำจืดที่ไม่สามารถนำน้ำมาใช้ดได้ และแหล่งน้ำจืดที่สามารถนำน้ำมาใช้ได้
แหล่งน้ำจืดที่ไม่สามารถนำน้ำมาใช้ได้คิดเป็นร้อยละเท่าใดของน้ำทั้งหมด? - ร้อยละ 1.75
แหล่งน้ำใดบ้างเป็นน้ำจืด? - เช่น ธารน้ำแข็งและพืดน้ำแข็ง ชั้นดินเยือกแข็งคงตัวและน้ำแข็งใต้ดิน ความชื้นในดิน ความชื้นในบรรยากาศ น้ำในสิ่งมีชีวิต น้ำใต้ดิน ทะเลสาบ บึง แม่น้ำ
ยกตัวอย่างแหล่งน้ำจืดที่ไม่สามารถนำน้ำมาใช้ได้มีอะไรบ้าง? - ธารน้ำแข็งและพืดน้ำแข็ง ชั้นดินเยือกแข็งคงตัวและน้ำแข็งใต้ดิน ความชื้นในดิน ความชื้นในบรรยากาศ และน้ำในสิ่งมีชีวิต
แหล่งน้ำจืดที่สามารถนำน้ำมาใช้ได้คิดเป็นร้อยละเท่าใดของน้ำทั้งหมด? - ร้อยละ 0.75
ยกตัวอย่างแหล่งน้ำจืดที่สามารถนำน้ำมาใช้ได้มีอะไรบ้าง? - น้ำใต้ดิน ทะเลสาบ บึง และแม่น้ำ
แหล่งน้ำจืดที่สามารถนำน้ำมาใข้ได้แบ่งออกได้เป็นอะไรบ้าง? - แหล่งน้ำจืดที่ไม่สามารถนำน้ำมาใช้ได้ทันทีมีร้อยละ 0.74 และแหล่งน้ำจืดที่สามารถนำน้ำมาใช้ได้ทันที่มีร้อยละ 0.01
แหล่งน้ำจืดที่ไม่สามารถนำน้ำมาใช้ได้ทันทีมีอะไรบ้าง? - น้ำใต้ดิน
แหล่งน้ำจืดที่สามารถนำน้ำมาใช้ได้ทันทีมีอะไรบ้าง? - ทะเลสาบ บึงและแม่น้ำ
สรุป - โลกมีพื้นน้ำปกคลุมอยู่เป็นส่วนมาก ปริมาณน้ำของโลกส่วนใหญ่เป็นน้ำเค็ม ส่วนน้อยเป็นน้ำจืด ซึ่งอยู่ตามแหล่งต่างๆ โดยเรียงลำดับแหล่งน้ำจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ ธารน้ำแข็งและพืดน้ำแข็ง น้ำใต้ดิน ชั้นดินเยือกแข็งคงตัวและน้ำแข็งใต้ดิน ทะเลสาบ ความชื้นในดิน ความชื้นในบรรยากาศ บึง แม่น้ำ และน้ำในสิ่งมีชีวิต ซึ่งน้ำจืดที่สามารถนำมาใช้ได้ทันทีมีปริมาณน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณน้ำทั้งหมดที่มีในโลก แหล่งน้ำในธรรมชาติ จำแนกออกเป็นแหล่งน้ำผิวดินและแหล่งน้ำใต้ดิน
จะจัดกลุ่มแหล่งน้ำได้กี่กลุ่ม อะไรบ้าง? - เราอาจจัดได้ 2 กลุ่ม คือน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยน้ำเค็ม เช่น มหาสมุทร ทะเล และน้ำจืด เช่น บึง แม่น้ำ น้ำในดิน น้ำบาดาล ธารน้ำแข็ง หรือแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน โดยน้ำผิวดิน เช่น มหาสมุทร ทะเล บึง แม่น้ำ ธารน้ำแข็ง และน้ำใต้ดิน เช่น น้ำในดิน น้ำบาดาล
แหล่งน้ำใดที่นำมาใช้ในการอุปโภคบริโภค? - บึง แม่น้ำ และน้ำบาดาล
น้ำมีความสำคัญอย่างไรและแหล่งน้ำมีอยู่ที่ใดบ้าง? - แหล่งน้ำมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น อาบน้ำ แปรงฟัน ซักผ้า ล้างจาน
สรุป - แหล่งน้ำบนโลกมีทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ซึ่งอยู่ในแหล่งน้ำต่างๆ ทั้งแหล่งน้ำผิวดินและแหล่งน้ำใต้ดิน น้ำแต่ละแหล่งมีปริมาณน้ำแตกต่างกัน และจากปัญหาแหล่งน้ำเสื่อมโทรมในปัจจุบัน เราจึงควรอนุรักษ์แหล่งน้ำเพื่อให้มีน้ำสะอาดไว้ดื่ม ไว้ใช้ตลอดไป
กิจกรรมที่ 1.2 ทำอย่างไรจึงจะใช้น้ำอย่างประหยัดและอนุรักษ์แหล่งน้ำในท้องถิ่นได้
ในชีวิตประจำวันนักเรียนใช้น้ำทำอะไรบ้าง? - ใช้น้ำในการอุปโภคและบริโภค การใช้น้ำเพื่อการเกษตร ใช้น้ำเพื่อการคมนาคม
นักเรียนคิดว่าเราควรประหยัดน้ำและอนุรักษ์น้ำหรือไม่ อย่างไร? - เราควรประหยัดน้ำและอนุรักษ์น้ำ เพราะน้ำมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ พืช และสัตว์ เราไม่สามารถอยู่ได้หากขาดน้ำ
การประหยัดน้ำและอนุรักษ์น้ำทำได้อย่างไรบ้าง? - เช่น การอาบน้ำโดยปิดน้ำในขณะถูสบู่และในขณะแปรงฟัน นำน้ำที่เหลือใช้ไปรดน้ำต้นไม้ ล้างพื้น
นักเรียนพบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับแหล่งน้ำในท้องถิ่นของนักเรียนหรือไม่ อย่างไร? - พบว่ามีปัญหาแหล่งน้ำในท้องถิ่น เช่น น้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็น มีขยะมาก
ถ้าพบปัญหาเกี่ยวกับแหล่งน้ำควรทำอย่างไร? - ควรแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำ เช่น วิธีการช่วยกันเก็บขยะและไม่ทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำ ไม่ปล่อยน้ำที่ใช้แล้วลงสู่แหล่งน้ำ
นักเรียนจะมีแนวทางในการอนุรักษ์แหล่งน้ำได้อย่างไร? - แนวทางในการอนุรักษ์แหล่งน้ำ เช่น ติดป้ายรณรงค์ ไม่ทิ้งขยะหรือน้ำที่ใช้แล้วลงในแหล่งน้ำ
แนวคิดสำคัญ - พื้นผิวโลกมีน้ำปกคลุมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นน้ำเค็ม ส่วนน้ำจืดที่นำมาใช้ได้มีปริมาณน้อยมาก เราจึงต้องใช้น้ำอย่างประหยัด น้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ ทั้งน้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน น้ำในบรรยากาศ และน้ำในสิ่งมีชีวิต เกิดการหมุนเวียนระหว่างแหล่งต่างๆ อย่างต่อเนื่อง กระบวนการเกิดเมฆ หมอก น้ำค้าง น้ำค้างแข็ง ฝน หิมะและลูกเห็บ เป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำเป็นวัฏจักร
วัฏจักรคืออะไร และปรากฏการณ์ใดบ้างที่เป็นวัฏจักร? - วัฏจักรคือช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์หรือกิจกรรมชุดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นและดำเนินติดต่อกันไปเป็นแบบรูปคงที่และหมุนเวียนกลับไปที่จุดเริ่มต้นนั้นอีกต่อเนื่องไปไม่มีสิ้นสุด เช่น วัฏจักรชีวิตของพืชดอก วัฏจักรชีวิตของสัตว์
เรื่องที่ 2 เมฆ หมอก น้ำค้าง และน้ำค้างแข็ง
เมฆและหมอกมีลักษณะอย่างไร? - เมฆเป็นละอองน้ำที่ลอยอยู่ในท้องฟ้า ส่วนหมอกเป็นละอองน้ำที่ลอยอยู่ใกล้พื้นโลก
น้ำค้างและน้ำค้างแข็งมีลักษณะอย่างไร? - น้ำค้างเป็นละอองน้ำที่เกาะอยู่บนพื้นผิววัตถุใกล้พื้นโลก ส่วนน้ำค้างแข็งเป็นน้ำค้างที่แข็งตัวอยู่บนพื้นผิววัตถุใกล้พื้นโลก เมื่อพื้นโลกมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส
ทะเลหมอกมีลักษณะอย่างไร? - คือมวลหมอกจำนวนมากที่รวมตัวกันเป็นสีขาวลอยอยู่ใกล้พื้นโลก มองดูคล้ายทะเล มักพบบนภูเขาสูง
เมฆมีลักษณะเป็นอย่างไร? - กลุ่มก้อนสีขาวลอยอยู่ในท้องฟ้า
เมฆและหมอกแตกต่างกันอย่างไร? - แตกต่างกัน คือ เมฆเป็นละอองน้ำที่ลอยอยู่ในท้องฟ้า ส่วนหมอกเป็นละอองน้ำที่ลอยอยู่ใกล้พื้นโลก
เมฆและหมอกมีสถานะเหมือนกันหรือไม่ อย่างไร? - มีสถานะเหมือนกัน คือ มีทั้งสถานะของแข็งและของเหลว
น้ำค้างมีลักษณะเป็นอย่างไร? - น้ำค้างเป็นหยดน้ำเกาะอยู่บนพื้นผิววัตถุใกล้พื้นโลก
น้ำค้างแข็งมีลักษณะเป็นอย่างไร? - น้ำค้างแข็งเป็นน้ำค้างที่เปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง เกาะอยู่บนพื้นผิววัตถุใกล้พื้นโลก เมื่อมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส
สรุป - เมฆและหมอกเป็นละอองน้ำหรือผลึกน้ำแข็งเล็กๆ เหมือนกัน โดยถ้าเกาะกลุ่มรวมกันลอยอยู่ในท้องฟ้า เรียกว่า เมฆ แต่ถ้าเกาะ กลุ่มรวมกันอยู่ใกล้พื้นโลก เรียกว่า หมอก ส่วนน้ำค้างเป็นหยดน้ำเกาะอยู่บนพื้นผิววัตถุใกล้พื้นโลก แต่ถ้าพื้นโลกมีอุณหภูมิอากาศลดต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสน้ำค้างจะเกิดการเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง เรียกว่า น้ำค้างแข็ง
เมฆและหมอกเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร?
เมฆและหมอกเหมือนกัน คือ เมฆและหมอกเป็นละอองน้ำหรือผลึกน้ำแข็งเล็กๆ ซึ่งมีสถานะเป็นของเหลวหรือของแข็งก็ได้
เมฆและหมอกแตกต่างกัน คือ เมฆเป็นละอองน้ำหรือผลึกน้ำแข็งเล็กๆ ที่ลอยอยู่ในท้องฟ้า ส่วนหมอกเป็นละอองน้ำหรือผลึกน้ำแข็งเล็กๆ ที่ลอยอยู่ใกล้พื้นโลก
น้ำค้างและน้ำค้างแข็งเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร?
น้ำค้างและน้ำค้างแข็งเหมือนกัน คือ น้ำค้างและน้ำค้างแข็งจะเกาะอยู่บนพื้นผิววัตถุใกล้พื้นโลก
น้ำค้างและน้ำค้างแข็งแตกต่างกัน คือ น้ำค้างมีสถานะเป็นของเหลว ส่วนน้ำค้างแข็งมีสถานะเป็นของแข็ง น้ำค้างพบได้ทั่วไป น้ำค้างแข็งพบได้บางบริเวณ เช่น ในประเทศไทยอาจพบน้ำค้างแข็งบนดอยสูงที่บางครั้งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส แต่ในประเทศเขตอบอุ่นถึงเขตหนาว อาจพบน้ำค้างแข็งได้ในบริเวณพื้นที่ราบต่ำซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสได้
กิจกรรมที่ 2 เมฆ หมอก น้ำค้าง และน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นได้อย่างไร
เมฆและหมอกเกิดขึ้นได้อย่างไร? - เมฆและหมอกเกิดจากไอน้ำในอากาศควบแน่นเป็นละอองน้ำ โดยมีละอองลอยซึ่งเป็นฝุ่นละออง ควันหรืออนุภาค อื่นๆ เป็นแกนกลาง ถ้าละอองน้ำนี้ลอยอยู่ระดับใกล้พื้นโลกจะเรียกว่า หมอก แต่ถ้ารวมตัวกันในระดับสูงอยู่ในท้องฟ้า เรียกว่า เมฆ
น้ำค้างและน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นได้อย่างไร? - น้ำค้างเกิดขึ้นเมืออุณหภูมิของอากาศลดลงในตอนเช้าหรือตอนกลางคืนทำให้ไอน้ำในอากาศควบแน่นเป็นละอองน้ำรวมตัวกันกลายเป็นหยดน้ำและเกาะบนพื้นผิววัตถุใกล้พื้นโลก แต่ถ้าอุณหภูมิของอากาศลดลงต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส น้ำค้างจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็งจะเรียกว่า น้ำค้างแข็ง
สรุป - เมื่อน้ำจากแหล่งต่างๆ ระเหยกลายเป็นไอน้ำแล้วกระทบกับอากาศที่เย็นกว่าหรืออุณหภูมิต่ำกว่าจะเกิดการควบแน่นกลายเป็นละอองน้ำเล็กๆ โดยมีฝุ่นละออง ควัน หรืออนุภาคอื่นๆ เป็นแกนกลาสง ถ้าเกิดในระดับใกล้พื้นโลก เรียกว่า หมอก แต่ถ้าเกิดในระดับสูงอยู่ในท้องฟ้า เรียกว่า เมฆ ส่วนน้ำค้างเกิดจากไอน้ำในอากาศที่มีอุณหภูมิลดต่ำลงในเวลากลางคืนเกิดการควบแน่นเป็นละอองน้ำเกาะอยู่บนพื้นผิววัตถุใกล้พื้นโลก แต่ถ้าอุณหภูมิบริเวณนั้นต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง น้ำค้างจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง เรียกว่า น้ำค้างแข็ง