Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วย อวัยวะสัมผัส (หู) - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วย อวัยวะสัมผัส (หู)
การสูญเสียการได้ยิน
ภาวะที่มีความบกพร่องในกลไกของการได้ยิน ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการฟัง หูอื้อ ได้ยินเสียงไม่ชัด มีเสียงดังในหู
ประเภทของการสูญเสียการได้ยิน
1.การสูญเสียการได้ยินแบบการนำเสียงทางอากาศบกพร่อง
เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นนอก เยื่อแก้วหู และหูชั้นกลาง ทำให้มีความผิดปกติของกลไกการส่งผ่านคลื่นเสียงไปสู่หูชั้นใน
2.การสูญเสียการได้ยินแบบประสาทหูเสื่อม
เกิดจากความผิดปกติในอวัยวะรูปหอยโข่งในหูชั้นใน ตรงส่วนของเซลล์ประสาทรับเสียง
3.การรับฟังเสียงบกพร่องแบบผสม
เกิดจากความผิดปกติในระบบการนําเสียงร่วมกับประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง
4.ความบกพร่องที่สมองส่วนกลาง
เกิดจากความผิดปกติของสมองโดยเฉพาะทําให้ผู้ป่วยได้ยินแต่ไม่สามารถแปลความหมายของสัญญาณนั้นได้
สาเหตุการสูญเสียการได้ยินที่พบบ่อย
1.การนําเสียงทางอากาศบกพร่อง
โรคหูชั้นนอก เช่น ขี้หูอุดตัน ช่องรูหูตีบแคบตั้งแต่กําเนิดสิ่งแปลกปลอมเข้าในหู หูชั้นนอกอักเสบ เนื้องอก โรคของเยื่อแก้วหูและหูชั้นกลาง ได้แก่ เยื่อแก้วหูทะลุ หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน
2.ประสาทหูเสื่อม
ประสาทหูเสื่อมที่เป็นตั้งแต่กําเนิด
ประสาทหูเสื่อมที่เกิดภายหลัง
Presbycusis พบในคนชรา
Noise induced hearing loss เกิดจากเสียงดังมาก
Infection ติดเชื้อจากหูชั้นใน น้ำไขสันหลัง การติดเชื้อหูชั้นกลาง
การวินิจฉัย
1.การซักประวัติ
อาการนํา เช่น หูอื้อ เสียงดังในหู หรือการได้ยินลดลง
อาการร่วม เช่น ปวดหู น้ําออกหู คันหู มีเสียงดังในหู เวียนหัวบ้้าน
ประวัติในอดีต เช่น การใช้ยาที่มีพิษต่อหู อุบัติเหตุที่ศีรษะการผ่าตัดใบหู การได้ยินเสียงดังมากเกินไป ประวัติบุคคลในครอบครัว มีหูหนวก
2.การตรวจร่างกาย
การตรวจทางร่างกายทางหู คอ จมูก การส่องกล้องดูหู (Otoscope)
การตรวจทางระบบประสาท กรณีสงสัยรอยโรคของเส้นประสาทหรือสมอง
การตรวจการได้ยินด้วยส้อมเสียง (Tuning fork) เพื่อแยกโรคหูชั้นกลางหรือเส้นประสาทหูในผู้ป่วยที่มีปัญหาการได้ยินที่ตรวจไม่พบความผิดปกติของหูชั้นนอกและเยื่อแก้วหู
โรคที่พบบ่อยจากการได้ยินและการทรงตัว
โรคหูชั้นนอก
ขี้หูอุดตัน (Cerum Impaction or Impacted Cerumen)
สาเหตุ
ในภาวะปกติขี้หูสามารถอุดตันอยู่ในส่วนของช่องหูชั้นนอกและมีสีและปริมาณที่มากน้อยได้แตกต่างกัน
พยาธิสภาพ
ขี้หูถูกสร้างโดยต่อมสร้างขี้หูซึ่งอยู่ในช่องหูส่วนกระดูกอ่อนปกติขี้หูจะเคลื่อนออกมาด้านนอกได้เอง ส่วนมากเกิดจากขี้หูสร้างมากผิดปกติ ในผู้สูงอายุต่อมสร้างขี้หูฝ่อ ทําให้ขี้หูแห้งและแข็ง ทําให้ขี้หูอุดตันได้ง่าย
อาการและอาการแสดง
หูอื้อ ปวดหู
การรักษา
โดยการล้าง ใช้เครื่องดูดหรือการใช้เครื่องมืออื่น ๆ ช่วย
สิ่งแปลกปลอดในหูชั้นนอก (Foreign body)
สาเหตุ
ในเด็กเล็กมักพบของเล่นชิ้นเล็ก ลูกปัด หรือเมล็ดผลไม้ เด็กยัดใส่รูหู ทำให้เกิดการติดเชื้อ จนถึงอาการเยื่อแก้วหูทะลุได้
พยาธิสภาพ
หูอื้อ รําคาญ สูญเสียการได้ยินบางรายมีอาการมึนงงเวียนศีรษะจนถึงอัมพาตของใบหน้า
การรักษา
เป็นสิ่งมีชีวิตใช้แอลกฮอล์70% หรือยาหยดประเภทน้ํามันหยอดลงไป แล้วคีบออกเป็นสิ่งไม่มีชีวิต ใช้น้ำสะอาดหรือเกลือปราศจากเชื้อหยอดจนเต็มหูแล้วเทน้ําออกหรือใช้ที่ล้างหูช่วย
เยื่อแก้วหูฉีกขาดทะลุ
การรักษา
ทิ้งไว้เฉยๆ อย่าชะล้าง
ไม่ต้องเอาลิ่มเลือดออก
ไม่ต้องหยอดยาหู แต่ให้ยารับประทานกันการติดเชื้อ
อาการควรหายภายใน 1 เดือน ถ้า 2 เดือนยังไม่หายให้ทำการซ่อมแซมเยื่อแก้วหู
โรคหูชั้นกลาง
โรคหูน้ำหนวก
เป็นภาวะที่มีการขังค้างของเหลวอยู่ในหูชั้นกลาง
ลักษณะแตกต่างกันออกไปตามระยะเวลาในการเกิดโรค โดยมักแบ่งเป็นชนิดต่างๆ ได้แก่
Acute Otitis Media มีภาวะหูน้ำหนวกเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ มีอาการน้อยกว่า 3 สัปดาห์
Serous Otitis Media มีภาวะหูน้ำหนวกที่มีน้ำใสขังค้างอยู่ในหูชั้นกลาง มีอาการระหว่าง 3 เดือนถึง 3 สัปดาห์
Chronic Otitis Media มีภาวะหูน้ำหนวกที่เกิดเป็นซ้ำและเป็นอยู่ในเวลานาน ๆ มีอาการมากกว่าหรือเท่ากับ 3 เดือน
Adhesive Ottis Media มีภาวะหูน้ำหนวกที่เกิดเป็นนาน ๆ เป็นระยะเวลานานปี
การรักษา
ทำ Valsava Maneuver และ Politzerisation คือหายใจเข้าเต็มที่ บีบจมูก หุบปากให้สนิทแล้วเบ่งลมหายใจออกเป็นการเพิ่มความดันบริเวณช่องคอหลังโพร่งจมูก ทำให้ท่อยูสเตเชียนเปิดออกได้
การรักษาทางยา ให้ยาแก้แพ้ยาลดอาการคัดแน่นในจมูกและยาปฏิชีวนะร่วมด้วย โดยเฉพาะถ้าตรวจพบอาการหูชั้นกลางอักเสบจากเชื้ออะไรควรให้ยาตามผลการเพาะเชื้อชนิดนั้นด้วยเพื่อให้ออกฤทธิ์ครอบคลุม
การทำ Myringostomy (ในรายที่รักษาทางยาไม่ได้ผล) คือ การเจาะเยื่อแก้วหูแล้วใส่ท่อคาไว้เพื่อให้ลมผ่านเข้าออกได้ตลอด ให้ของเหลวในหูชั้นกลางไหลออกมาก
หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง Chronic Ottis media
สาเหตุเกิดจากภาวะที่มีการรักษาไม่หายขาดของหูชั้นกลางอักเสบและการกลับเป็นซ้ำอีกของ Otitis Media
อาการและอาการแสดง
เยื่อแก้วหูทะลุ (Tympanic Membrane perforation) มีของเหลวไหลเป็นน้ำหนอง หูอื้อ บางรายสูญเสียการได้ยิน
การรักษา
1.การรักษาทางยา ให้ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด ยาลดการคัดแน่นจมูก บางรายอาจให้ยาหยอดหูร่วมด้วย
ควรทำการผ่าตัดต่อไป (ทำ Tympanoplasty และอาจต้องทำ Mastoidectomy ร่วมด้วยในบางราย) ให้ยานาน 2 สัปดาห์ไม่หาย
โรคหินปูนเกาะฐานกระดูกโคลน Otosclerosis
สาเหตุ ไม่ทราบแน่ชัด อาจเกิด Measle virus และหากมีประวัติในครอบครัวถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal dominate
อาการ
หูอื้อ บางรายมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนในขณะเปลี่ยนท่าทางของศีรษะ
การรักษา
ใช้เครื่องช่วยฟัง เหมาะสําหรับสูญเสียการฟังไม่มาก
การบาดเจ็บจากแรงดันต่อหู
สาเหตุ
จากผลการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศหรือความดันในหูชั้นกลางและโพรงกกหู
อาการ
ปวดหู แน่นหู หรือสูญเสียการได้ยินแบบ
CHL ร่วมกับมีประวัติขึ้นเครื่องบินหรือดําน้ํา
โรคหูชั้นใน
โรคหินปูนชั้นในหลุด
สาเหตุ
จากความเสื่อมตามวัย อุบัติเหตุโดยเฉพาะการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุบริเวณศีรษะ โรคหูชั้นใน การติดเชื้อ
อาการ
มักมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน รู้สึกโครงเครง หรือสูญเสียการทรงตัว เมื่อมีการเคลื่อนไหวของศีรษะอย่างรวดเร็ว
การรักษา
การทํากายภาพบําบัด เพื่อเคลื่อนตะกอนหินปูน
โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
การรักษา
จํากัดความเค็ม เพราะความเค็มหรือโซเดียมที่มีมากในร่างกายจะทําให้มีน้ําคั่งในร่างกาย และน้ําในหูชั้นในมากขึ้น
การกินยาขยายหลอดเลือด ฮิสตามีน จะช่วยให้มีการไหลเวียนไปที่หูเพิ่มมากขึ้น
ประสาทหูเสื่อมฉับพลัน
การรักษา
ยาขยายหลอดเลือด
ยาวิตามิน บํารุงประสาทหูที่เสื่อม
ยาลดอาการเวียนศีรษะ
การนอนพัก วัตถุประสงค์เพื่อลดการรั่วของน้ําในหูชั้นในเข้าไปในหูชั้นกลาง (ถ้ามี)แนะนําให้นอนยกศีรษะสูง 30 องศาจากพื้นราบเพื่อให้มีความดันในหูชั้นกลางให้น้อยที่สุด
หูตึงเหตุจากผู้สูงอายุ
การตรวจวินิจฉัยความผิดปกติหู
การซักประวัติผู้ป่วย
มีเสียงดังในหู
อาการปวดหู
มีของเหลวไหลจากหู
อาการหูอื้อ ได้ยินเสียงลดลง
มีอาการเวียนศีรษะ
การตรวจร่างกาย
ตรวจหูภายนอก - โดยมองและคลำดูบริเวณหน้าและหลังหูว่ามีอาการปวด บวม แดง มีฝี มีรู มีถุงน้ำหรือไม่
ตรวจช่องหู - ตรวจด้วยไม้พันสำลี ค่อยๆแตะลงที่ช่องหูทั้งส่วนกระดูกและกระดูกอ่อน
ตรวจดูเยื่อแก้วหู - ว่ามีสีอะไร มีรอยแผล มี light reflex หรือ retraction หรือรูทะลุ ถ้ามีรูทะลุลมจะผ่านออกมา
ตรวจหูแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติ ให้ตรวจศีรษะและคอด้วย
การตรวจพิเศษอื่นๆ
การนัดตรวจซ้ำเป็นระยะๆ
การตรวจพิเศษด้วยเครื่องมือ
การทดสอบการได้ยิน
Tuning fork test เป็นการตรวจโดยใช้ส้อมเสียง
Audiometry โดยใช้เครื่องตรวจการได้ยินชนิดไฟฟ้า
การตรวจโดยการใช้คำพูด
Speech Reception Threshold
ตรวจระดับเสียงพูดที่ต่ำที่สุดที่ผู้ป่วยสามามารถเข้าใจว่าเป็นคำพูด เป็นพยางค์ที่ฟังแล้วคุ้นเคยมาก เป็นวิธีที่บอกถึงความไวของหูในการรับฟังคำพูด
Speech Discrimination
ประสิทธิภาพของหูในการแยกเสยงและเข้าใจความหมายของคำพูด การตรวจจพใช้คำที่มีพยางค์เดียว
การตรวจ Vestibular Function Test
Romberg's Test โดยการยืนตรง ส้นเท้าชิด ปลายเท้าชิดกัน มองตรงไปข้างหน้า
Unterberger's Test ทำเหมือน Romberg's Test แต่ยื่นมือตรงไปข้างหน้า หลับตา ย่ำเท้าอยู่กับที่
Gait Test ให้เดิตามแนวเส้นตรงระหว่างจุด 2 จุด แล้วหมุนตัวเร็วๆกลับมาที่เดิม
ตรวจดู Nystagmus
คือ อาการตากระตุก โดยการทำ Head Shaking (สั่นศีรษะผู้ป่วยในแนวระนาบนอน 20 ครั้ง) หรือทำ Position Test (ให้ผู้ป่วยนอนจับศีรษะตะแคงขวา ซ้าย หงาย ตรง เพื่อดูอาการเวียนศีรษะ)
การดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังการผ่าตัด
บริเวณกระดูกหูและกระดูก MASTOID
นอนราบตะแคงค้างที่ไม่ผ่าตัด
ถ้าไม่อาเจียนให้หมุนหมอนได้ถ้ามีอาการเวียนศีรษะให้นอนพัก และระวังอุบัติเหตุขณะเคลื่อนไหว
ติดตามประเมินภาวะปากเบี้ยว ตาปิดไม่สนิท ชาที่หน้า (อาการของ Facial paralysis) ถ้าพบต้องรีบรายงานแพทย์
ในรายที่ทำการผ่าตัดซ่อมแซมกระดูกโกลน (Stapedectomy) ร่วมด้วย ห้ามก้มมาก ๆ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดภายในหูชั้นกลางและบริเวณกระดูกมาสตอยด์ก่อนจำหน่ายกลับบ้าน
ห้ามสั่งน้ำมูก 2 - 3 สัปดาห์หลังผ่าตัด เพื่อป้องกันสิ่งที่ซ่อมแชมหลุด
ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงานได้หลังผ่าตัด 2 - 3 วัน แต่ห้ามทำงานใช้แรงในการยกที่หนักเกิน 50 กก.
อาจยังเป็นปกติที่จะมีเสียงดังเปรียะหรือเสียง
ซ่า ภายในหูเกิดขึ้น
หลังผ่าตัด 2 สัปดาห์ ดูแลอย่าให้น้ำเข้าหู หลีกเสี่ยงการสระผม 2 - 3 วัน
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะ
Vertigo
1.ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยในเรื่องของการเคลื่อนไหวควรเคลื่อนไหวช้า ๆ ถ้าต้องลุกเดินพยาบาลควรดูแลพยุง และป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากการหกล้มหรือตกเตียง
2.ขณะมีอาการเวียนศีรษะควรนอนพักนิ่ง ๆ บนเตียงนะนำให้หลับตา สูดลมหายใจเข้า ๆ ยาว ๆ ลึก ๆ ให้นอนอยู่ในท่าที่สบายที่สุด
3.แนะนำให้ความรู้แก่ผู้ป่วย โดยเฉพาะในเรื่องของโรคและการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติถ้าจำเป็นต้องมีอาการหูหนวกเกิดขึ้น รวมถึงการให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยด้วย
4.การประเมินต่างๆ ของผู้ป่วยเป็นเรื่องจำเป็น เช่น อาการเวียนศีรษะ ความถี่ ความห่าง ช่วงเวลา ดูแลความสะอาดของร่างกาย การขับถ่าย ในขณะที่ผู้ป่วยกำลังมีอาการอยู่
การจัดสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ควรให้เหมาะสมและช่วยให้ผู้ป่วย
6.การให้คำแนะนำให้เรื่องการออกกำลังกาย ในขณะที่ยังไม่มีอาการให้ผู้ป่วยพยายามปฏิบัตี๋กิจกรรมต่าง ๆ เท่าที่ทำได้