Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ - Coggle Diagram
ทฤษฏีจิตวิเคราะห์
การรักษาผู้เจ็บป่วยทางจิตโดยใช้ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
คือ โดยพยายามดึงข้อขัดแย้ง ที่อยู่ในระดับจิตใต้สํานึกซึ่งเจ้าตัวไม่รู้ เชื่อว่าเมื่อผู้ปีวยได้ปลดปล่อยความรู้สึก ขัดแย้งจากจิตใจส่วนลึกในระดับจิตสํานึกออก ความผิดปกติทั้งหลายก็จะหายไป
1.การวิเคราะห์ความฝัน (Dream analysis) = ขณะหลับ ego จะไม่ทํางาน ทํางานในระดับต่ำมาก สิ่งที่อยู่ในจิตใต้สำนึกจะปรากฏออกมาในระดับจิตสํานึก ผู้ป่วยจะเล่าความฝัน เปิดเผยความคิด/ความรู้สึก ความวิตกกังวลที่มีในจิตใจ ผู้รักษาจะฟัง และแปล ความหมายจากเรื่องราวในความฝันของผู้ป่วย
การได้ระบายอย่างอิสระ (Free association) = ให้ผู้ป่วยนอนราบ ในท่าที่สบาย และทําใจให้ว่าง ระบายถึงส่ิงที่อยู่ในจิตใต้สํานึก สิ่งที่คิด หรือสิ่งท่ีผุด หรือแว่บข้ึนมาในความคิดโดยไม่มีการยับยั้ง ผู้รักษาวิเคราะห์เรื่องที่ผู้ป่วยระบาย
การตีความหมาย (Interpretation) = การให้ผู้ป่วยพูดถึงสิ่งที่อยู่ในใจแล้วผู้รักษาวิเคราะห์ และตีความถึงความ ขัดแย้งในใจที่มี
การถ่ายโยงความรู้สึก (Transference) = เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด และความปรารถนาจากบุคคลหรือ
ส่ิงของในอดีตของผู้ป่วยไปยังผู้บําบัดที่มีความคล้ายกับบุคคลหรือส่ิงของนั้น
การสะกดจิต (Hypnosis) = การให้ผู้ป่วยพูดในส่ิงที่อยู่ในจิตใต้สํานึก
ผู้บําบัดช่วยขจัดปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว และลดความวิตกกังวลเก่ียวกับความคิดต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องท่ี
เคยเกิดขึ้นมาในอดีต
กลไกลทางจิต (Defence mechanism)
กลไกการป้องกันตัวเองแบบโรคประสาท (Neurotic Defenses)
กลไกป้องกันตนเองแบบไม่บรรลุวุฒิภาวะ (Immature Defenses)
กลไกการป้องกันตัวเองที่มีวุฒิภาวะ (Mature Defenses)
กลไกการป้องกันตัวเองแบบโรคจิต (Psychotic Defenses)
กลไกลที่พบบ่อย
การแยกตัว (lsolation)เป็นการไม่ตอบสนองต่อการกระทำที่นำความคับข้องใจมาให้จะแยกตัวออกจากสภาพการณ์นั้นตัวอย่างเช่นเด็กคิดว่าพ่อแม่ไม่รักจึงขังตัวอยู่ในห้องคนเดียว
การลบล้างความรู้สึกผิด(Undoing) เป็นการกระทำในสิ่งที่ดีเพื่อลบล้างความรู้สึกผิดที่เกิดจากการกระทำของตนเองตัวอย่างเช่นผิดนัดกับเพื่อนจึงพาเพื่อนไปเลี้ยงข้าว
การโทษตัวเอง(lntrojection) เป็นการตำหนิกล่าวโทษตนเองตัวอย่างเช่นเพราะตนเองดูแลน้องไม่ดีจึงทำให้น้องถูกรถชน
การเปลี่ยนแปลงความรู้สึกเป็นพฤติกรรม(conversion)
เป็นการเปลี่ยนความขัดแย้งในจิตใจเกิดเป็นอาการทางกายตัวอย่างเช่นเดินไม่ได้เพราะขาอ่อนแรงหลังจากถูกบังคับให้แต่งงาน
การชดูเชย(compensation)เป็นการกระทำเพื่อลบล้างจุดบกพร่องจุดอ่อนหรือปมด้อยของตนโดยการสร้างจุดเด่นทางอื่นเช่นคนที่เรียนไม่เก่งหันไปเอาดีทางดนตรี
การแทนที่(Displacement) เป็นการถ่ายเทอารมณ์ที่มีต่อบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่นหรือวัตถุของอื่นโดยที่บุคคลหรือวัตถุสิ่งของนั้นไม่ได้เป็นตัวกระตุ้นอารมณ์แต่อย่างใด ตัวอย่างเช่น หลังจากถูกมารดาดุรู้สึกโกรธจึงหันไปขว้างแจะกันของมารดาแตกกระจาย
การหาทางทดแทน(Sublimation)เป็นการปรับเปลี่ยนความรู้สึกคือแรงผลักดันที่ไม่ดีที่สังคมไม่ยอมรับเป็นวิธีการที่สังคมยอมรับซึ่งเป็นการลดความกดดันทางจิตใจไปในทางสร้างสรรค์ตัวอย่างเช่นคนก้าวร้าวผันตัวเองไปเป็นนักมวย
การกระทำตรงข้ามกับความรู้สึก(Reaction formation)
เป็นการที่บุคคลมีพฤติกรรมการแสดงออกตรงข้ามกับความคิดความรู้สึกที่แท้จริงของตนตัวอย่างเช่นบอกเพื่อนร่วมงานว่าหัวหน้าเป็นคนดีทั้งที่ในใจเกลียดหัวหน้ามาก
การอ้างเหตุผล(Rationalization)เป็นการหาเหตุผลที่สังคมยอมรับมาอธิบายพฤติกรรมต่างๆของตนเป็นการหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองหรือเป็นการแก้ตัว
การปฏิเสธ(Denial) เป็นการปฏิเสธที่จะยอมรับบางสิ่งบางอย่างซึ่งเป็นความจริงโดยการเพิกเฉยเพราะการยอมรับความจริงทำให้รู้สึกไม่สบายใจตัวอย่างเช่นไม่ยอมรับผลการตรวจจากแพทย์ว่าเป็นมะเร็งจึงไปพบแพทย์ที่อื่นเพื่อให้ตรวจรักษาใหม่
การโทษผู้อื่น(Projection) เป็นการโยนอารมณ์ความรู้สึกที่รับไม่ได้ของคนเราภายในจิตใจไร้สำนึกไปยังอีกคนหนึ่งหรือเป็นการโยนความผิดให้ผู้อื่นตัวอย่างเช่นนักเรียนสอบตกบอกว่าครูสอนไม่ดี
การถดถอย(Regression) เป็นการแสดงออกโดยการมีพฤติกรรมกลับไปสู่ในระดับพัฒนาการของจิตใจและอารมณ์ระดับต้นๆเกิดขึ้นเมื่อประสบภาวะความไม่มั่นคงทางจิตใจตัวอย่างเช่นเด็กที่แม่มีน้องใหม่กลับมามีพฤติกรรมปัสสาวะรดที่นอน
การเก็บกด(Repression)เป็นการเก็บกดอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดจากระดับจิตใจสำนึกไปสู่ระดับจิตไร้สำนึกเพื่อให้ลืมเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่สบายใจตัวอย่างเช่นเคยถูกน้าชายข่มขืนในวัยเด็กแล้วจำไม่ได้ว่าทำไมตัวเองถึงเกลียดน้าชาย
การเก็บกดระดับจิตสำนึก(Suppression)เป็นการลืมบางสิ่งบางอย่างโดยเจตนามีลักษณะคล้ายกับ
Repression แต่เป็นกระบวนการขจัดความรู้สึกดังกล่าวออกไปจากความคิดและเกิดขึ้นโดยผู้กระทำมีความรู้และตั้งใจในขณะที่Repressionนั้นไม่รู้ตัวตัวอย่างเช่นผู้ป่วยบอกพยาบาลว่ายังไม่พร้อมที่จะพูดเรื่องการทะเลาะกับสามี
การเลียนแบบ(ldentification)เป็ เป็นการรับเอาความคิดทัศนคติค่านิยมลักษณะประจำตัวของบุคคลสำคัญในชีวิตหคือบุคคลที่นิยมชอบมาเก็บและจดจำไว้จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพของตนเองตัวอย่างเช่นเด็กบอกพยาบาลว่าโตขึ้นจะเป็นพยาบาลเหมือนพี่หรือการเรียนแบบครูการเรียนแบบดารา
การเปลี่ยนความรู้สึกไม่สบายทางจิตใจ( Somatization) อาการทางกายน้ีเกิดได้ทุกระบบ เช่น ระบบหายใจ มีอาการหอบหืดเวลาไม่สบายใจ ระบบการย่อยและการขับถ่าย
ตัวอย่าง นักศึกษามีอาการท้องเสียทุกคร้งั ที่จะต้องออกไปรายงานหน้าห้องเรียน
การตัดอารมณ์ความรู้สึก(Dissociation) จากสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์และ
ความรู้สึกน้ันๆ หรือตัดออกไปจากความทรงจํา
การฝันกลางวันหรือการสร้างวิมานในอากาศในส่ิงที่ตนปรารถนา (Fantasy ) ตัวอย่าง กรรมกรหาเช้ากินค่ำ นั่งฝันว่า ถ้าตนได้รับเงินหนึ่งล้านบาท แล้วตนจะทําอะไรบ้าง และนั่งลําดับสิ่งที่
เขาจะทําไว้อย่างสวยงาม
การหาสิ่งทดแทนในสิ่งที่ตนรู้สึกว่าขาดไป (Substitution) ตัวอย่าง หญิงวัยกลางคนที่ไม่อาจมีบุตรได้จึงตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กขึ้นทําให้เธอได้รับสิ่งทดแทนในส่วนที่ขาด หายไปได
สาเหตุการเจ็บป่วยทางจิตตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์
ภาวะการยึดติดอยู่กับที่ (fixation) = ของพัฒนาการโดยเฉพาะในขั้นปาก , ขั้นทวารหนัก , และขั้นอวัยวะเพศ
เนื่องจากไม่ได้รับการตอบสนองในขั้นพัฒนาการ
บุคคลได้รับการขัดขวาง หรือความพึงพอใจไม่ได้รับ การตอบสนองจะทําให้เกิดความคับข้องใจ (frustration) = เก็บให้อยู่ในส่วนของจิตไร้สํานึก และอาจมีอาการทางจิตใจ แขงขับทำให้เกิดความก้าวร้าว ต่างๆ
เกิดความขัดแย้งในใจ (inner conflict)= โครงสร้างของจิต (Id, Ego, Superego) ทํางานไม่ประสาน ไม่สอดคลองกันโดยเฉพาะการทํางานของEgo
บุคคลที่ไม่สามารถทําตามคําส่ังสอนของบิดามารดา หรือไม่สามารถปฏิบัติตามเกณฑ์ท่ีพ่อแม่ต้ังไว้ จะเกิด ความรู้สึกผิดบาป และเป็นปมด้อย
บุคคลใช้กลไกทางจิตที่ไม่เหมาะสมในการแก้ปัญหา ทําให้ไม่มีความสุข มีพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับ มีอาการ ของโรคจิต โรคประสาท
แนวคิดของทฤษฎีจิตวิเคราะห์
ฟรอยด์ มีความเชื่อว่าระดับจิตใจของมนุษย์มีความแตกต่างกันในแต่ละขั้น
การแสดงออกต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นแรงกระตุ้นโดยตรงจากจิตสำนึกความขัดแย้ง แรงจูงใจรวมไปถึงความขับข้องใจ
โครงสร้างทางจิตใจ
1.อิด Id =ตัหนาหรือความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เป็นสิ่งที่ยังไม่ได้ขัดเกลา
2.อีโก้ Ego = ส่วนที่ควบคุมพฤษต้กรรมที่เกิดจากความต้องการของ Id โดยอาศัยเกณฑ์ ทางสังคม และหลักแห่งความจริงมาช่วยในการตัดสินใจ ไม่ใช่แสดงออกตามความพอใจของตนเพียงอย่างเดียว
3.ซุปเปอร์อีโก้ =มโนธรรมหรือจิตส่วนที่ได้รับการพัฒนาจากประสบการณ์ การอบรมสั่งสอน โดยอาศัยหลักของ ศีลธรรมจรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณี และค่านิยมต่างๆ ในสังคมนั้น
กำหนดแนวคิดทฤษฎี 5แนวคิด
ทฤษระดับความรู้สึกตัว
1.จิตสำนึกหรือจิตสำนึก =ภาวะจิตที่รู้ตัวอยู่ได้แก่ การแสดงพฤติกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับหลักแหล่งความเป็นจริง
2.จิตกึ่งสำนึก = พฤติกรรมภายใต้อิทธิพลจิตรู้สำนึกกับอิทธิพลของจิตใต้สำนึกย่อมก่อให้เกิดการหลอกลวงตัวเองขึ้น ภายในบุคคล
3.จิตไร้สำนึกหรือจิตใต้สำนึก = ภาวะจิตที่ไม่อยู่ในภาวะที่รู้ตัวระลึกไม่ได้ จิตไร้สำนึกเป็นสิ่งที่ฝั่งลึกอยู่ภายในจิตใจ มีการเก็บกด
สัญชาตญาณ (Instinct)
สัญชาตญาณทางเพศ
สัญชาตญาณแห่งความก้าวร้าว หรือแรงขับที่จะทําลาย
ขั้นตอนพัฒนาการบุคลิกภาพของมนุษย์
1.ขั้นปาก 0-8 เดือน =ความพึงพอใจอยู่ที่ช่องปาก
2.ขั้นทวารหนัก 18เดือน-3 ปี = ความพึงพอใจทางทวาร
3.ขั้นอวัยวะเพศ 3-5 ปี = ความพึงพอใจของเด็กวัยนี้อยู่ที่อวัยวะเพศสืบพันธุ์
4.ขั้นแฝง 6-12 ปี = เด็กเก็บกดความต้องการทางเพศหรือความต้องการทางเพศลดลง
5.ขั้นสนใจเพศตรงข้าม 12 ปี ขึ้นไป = มีความต้องการทางเพศ วัยนี้จะมีความสนใจในเพศตรงข้าม
บทบาทของพยาบาลในการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชโดยใช้ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
พยาบาลจิตเวชไม่มีบทบาทโดยตรงต่อการรักษาด้วยจิตวิเคราะห์ แต์มีบทบาทในการสนับสนุนช่วยให้ผู้ป่วยและญาติ เข้าใจปัญหา และเข้าใจการรักษาท่ีได้รับ นอกจากนี้พยาบาลสามารถนําแนวคิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ใช้ในการ พยาบาล โดยทําความเข้าใจกับการใช้กลไกทางจิตของผู้ป่วย โดยเฉพาะกลไกทางจิตที่ไม่เหมาะสม เพื่อทําความเข้าใจการ ทํางานของจิตไร้สํานึก ซึ่งเป็นพื้นฐานของความเข้าใจพฤติกรรมที่ซับซ้อนของมนุษย์ การทําความเข้าใจเรื่องดังกล่าวจะช่วยให้ พยาบาลสามารถแยกแยะสาเหตุของปัญหาทางจิตของผู้ป่วยได้