Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 10 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพทางนรีเวช, นายอรรคเดช เพชรมีศรี…
บทที่ 10 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพทางนรีเวช
Leiomyoma เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกเป็นรอยโรคทางนรีเวชที่พบบ่อยที่สุดและเป็นสาเหตุของการผ่าตัดมากที่สุดในโรคทางนรีเวช โดยจะพบได้ประมาณ 50% ของสตรี ส่วนมากไม่มีอาการ ในรายที่มีอาการจะขึ้นกับชนิดของเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกซึ่งแบ่งตามตำแหน่งของเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก ชนิดแรก เนื้องอกที่ผิวด้านนอกมดลูก(Subserous myoma) ชนิดที่สอง เนื้องอกที่กล้ามเนื้อมดลูก (Intramural myoma) ชนิดที่สาม เนื้องอกมดลูกที่โพรงมดลูก (Submucous myoma)
อาการของอุ้งเชิงกรานอักเสบ เจ็บท้องช่วงล่างหรือท้องน้อย ภาวะตกขาวผิดปกติ มีกลิ่น หรือ สีเปลี่ยนไป มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ อาจมีเลือดออกในปริมาณมาก รอบเดือนมานานกว่าปกติ หรือมีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ มีไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ รู้สึกอ่อนเพลีย และไม่สบายตัว ปวดมากขณะมีเพศสัมพันธ์ ปวดแสบขณะปัสสาวะหรือปัสสาวะขัด
โรคไม่ติดเชื้อ ภาวะผิดปกติที่สัมพันธ์กับการมีระดู/ภาวะขาดระด/อาการปวดฤดูภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพลงมดลูก/การหมดประจำเดือน
การวินิจฉัยโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ สอบถามอาการและทำการตรวจ ตรวจภายในและอุ้งเชิงกรานเพื่อดูภาวะตกขาวที่ผิดปกติ เก็บจุลินทรีย์จากสารคัดหลั่งภายในช่องคลอดและปากมดลูก ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อระบุชนิดของตัวแบคทีเรีย และตรวจอื่น ๆ เช่น ปัสสาวะ เลือด ทดสอบการตั้งครรภ์ อัลตราซาวด์
แนวทางการรักษา กรณีไม่มีอาการ ไม่ต้องทำการรักษาใดๆ แนะนำให้ตรวจติดตามต่อเนื่องเพื่อติดตามขนาด และตำแหน่งของก้อนเนื้องอกมดลูก กรณีมีอาการ การรักษาหลัก คือ การลดขนาดของเนื้องอกมดลูก, ตัดเนื้องอกมดลูก หรือตัดมดลูก ทางเลือกในการรักษา โดยการใช้ยา หรือการเข้ารับการผ่าตัด การรักษาโดยใช้ยา ปัจจุบันการรักษาโดยใช้ยาที่มีหลักฐานการวิจัยยืนยัน ได้แก่ การฉีดยา GnRH agonist. เพื่อลดขนาดของก้อนเพื่อเข้ารับการผ่าตัด การใช้ยากลุ่มอื่น เช่น การทานยาคุมกำเนิด, การฉีดยาคุมกำเนิด สามารถช่วยได้ในเรื่องของการมีประจำเดือนมามาก แต่บางการศึกษาพบว่า เป็นการกระตุ้นให้ก้อนเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกโตขึ้นได้ การรักษาโดยการผ่าตัดเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก
การรักษาหลักของมะเร็งรังไข่ คือ การผ่าตัดพร้อมด้วยการตรวจอวัยวะทั้งหมดในช่องท้อง โดยการเก็บสารน้ำในช่องท้องส่งตรวจยังห้องปฏิบัติการ พร้อมทั้งตัดเนื้องอก ตัดมดลูก หรือรังไข่ในไขมันในช่องท้อง รวมถึงต่อมน้ำเหลืองในช่องท้องน้อยและเนื้อเยื่อที่ได้ทั้งหมดจากการผ่าตัดนำไปตรวจทางพยาธิเพื่อเพิ่มความชัดเจน
Endometriosis เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ คือภาวะที่เยื่อบุผนังมดลูกเจริญภายนอกมดลูก ทำให้เกิดเยื่อบุหนาที่สลายตัวกลายเป็นเลือดประจำเดือนไปเรื่อย ๆ จนร่างกายขับออกมาได้ไม่หมด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในช่วงที่มีรอบเดือน
พยาธิในช่องคลอด สาเหตุ : Trichomonas Vaginalis (Potozoa) อาการและอาการแสดง : ระยะฟักตัวนาน 3 สัปดาห์ ตกขาวมีสีเหลืองปนเขียวปริมาณมากมีกลิ่นเหม็น และ เป็นฟอง (Frothy)ระคายเคืองคันที่ช่องคลอด พบปากมดลูกมีจุดเลือดออกเป็นหย่อมๆ เรียกว่า Strawberry Cervix การวินิจฉัย : Wet smear น าตกขาวไปตรวจพบ T.vaginalisเคลื่อนไหวไปมา
การรักษาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ การใช้ยา ฮอร์โมนบำบัด ยาคุมกำเนิด มะเร็งรังไข่ ผู้ป่วย Endometriosis อาจเสี่ยงเกิดมะเร็งรังไข่ได้มากกว่าหญิงทั่วไป และบางรายอาจเกิดมะเร็งอะดิโนคาร์ซิโนม่า (Adenocarcinoma) ได้ในภายหลัง แต่พบได้ไม่บ่อยนัก
มะเร็งรังไข่ คือ การมีเซลล์มะเร็งเจริญเติบโตในรังไข่ ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญในสตรีที่ทำหน้าที่ในการผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง อาการ รู้สึกอึดอัดในช่องท้อง เบื่ออาหาร รู้สึกอิ่มจนอึดอัดถึงแม้รับประทานอาหารอ่อนๆ อาหารไม่ย่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ หรือปวดท้องคลื่นไส้ ท้องเสีย ท้องผูก หรือปัสสาวะบ่อย
การรักษาอุ้งเชิงกรานอักเสบ การรับประทานยาปฏิชีวนะ หากได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่นๆ โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรรักษาเชื้อให้หาย และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวได้ ยาแก้อักเสบที่ใช้เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ ยาออฟล็อกซาซิน (Ofloxacin) เมโทรนิดาโซล (Metronidazole) เซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) ดอกซีไซคลิน (Doxycycline )
สาเหตุของอุ้งเชิงกรานอักเสบ สาเหตุของอุ้งเชิงกรานอักเสบเกิดจากการติดเชื้อที่พัฒนาในระบบสืบพันธุ์ในอวัยวะหญิงส่วนบน ซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด โดยเชื้อเหล่านี้จะแพร่กระจายจากช่องคลอดหรือปากมดลูก เข้าไปในช่องท้อง ท่อนำไข่ และรังไข่ ในหลายกรณีแพทย์อาจไม่สามารถวินิจฉัยได้ชัดเจนว่าเกิดจากแบคทีเรียชนิดใด อาจให้ยาปฏิชีวนะหลายชนิดในการรักษาเพื่อครอบคลุมในการฆ่าเชื้อที่อาจเป็นสาเหตุได้
โรคติดเชื้อ สาเหตุของตกขาว ตกขาวปกติ เป็นสิ่งคัดหลั่งที่สร้างมาจากอวัยวะในอุ้งเชิงกรานของสตรีไม่ว่าจะเป็นจากช่องคลอด ผนังช่องคลอด ปากมดลูก หรือแม้กระทั่งจากตัวมดลูกเองก็ตาม โดยตกขาวจากแหล่งต่าง ๆ นี้จะมารวมกันในช่องคลอดเพื่อทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น ช่วยคงความอ่อนนุ่มชุ่มชื้นให้กับช่องคลอด ช่วยหล่อลื่นช่องคลอด ช่วยปรับสภาพความเป็นกรดด่างในช่องคลอดให้สมดุล ช่วยขับสิ่งแปลกปลอม และฆ่าเชื้อโรคที่เข้าไปในช่องคลอด
โรคอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน เป็นการอักเสบอย่างเฉียบพลันหรือเรื้อรั้งของอวัยวะสืบพันธ์ส่วนบนได้แก่ เยื่อบุโพรงมดลูกท่อนำไข่ เยื่อบุช่องท้องในอุ้มเชิงกราน
วิธีการรักษาตกขาว สำหรับตกขาวปกติ (ตกขาวธรรมดา) ไม่จำเป็นต้องทำการรักษาแต่อย่างใด เพียงแต่ปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามสุขอนามัยก็เพียงพอแล้ว แต่หากเป็นตกขาวที่ผิดปกติ หรือตกขาวที่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย หรือสงสัยว่าอาจมีสาเหตุที่ผิดปกติเกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์หรือสูตินรีแพทย์เพื่อทำการตรวจภายในช่องคลอดและให้การรักษาไปตามสาเหตุที่ตรวจพบ
สาเหตุของมดลูกหย่อน อายุมาก คลอดบุตร เข้าวัยทอง น้ำหนักตัวมาก มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ผ่าตัดที่อุ้งเชิงกราน ยกของหนัก
ภาวะมดลูกหย่อนแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ระดับที่ 1 เกิดภาวะมดลูกหย่อนมาที่ช่องคลอดครึ่งหนึ่ง ระดับที่ 2 เกิดภาวะมดลูกหย่อนมาใกล้ปากช่องคลอด ระดับที่ 3 เกิดภาวะมดลูกหย่อนออกมานอกช่องคลอด ระดับที่ 4 เกิดภาวะมดลูกหย่อนออกมานอกช่องคลอดทั้งหมด เรียกว่ามดลูกย้อย (Procidentia) ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานทั้งหมดเสื่อมสภาพ
การรักษามะเร็งปากมดลูก วิธีการรักษาที่ใช้ในระยะก่อนมะเร็ง คือ การผ่าตัดบางส่วนของปากมดลูกที่มีรอยโรคด้วยวิธี Large Loop Excision of the Transformation Zone (LLETZ) ซึ่งเป็นการตัดเนื้อเยื่อปากมดลูกด้วยห่วงลวดไฟฟ้า การผ่าตัดแบบ Cone Biopsy วิธีการรักษาที่ใช้ในผู้ป่วยที่ตรวจพบมะเร็งแล้ว ได้แก่ รังสีรักษา (Radiotherapy) เคมีบำบัด (Chemotherapy) และการผ่าตัด (Surgery) ปากมดลูก มดลูก รังไข่ ขึ้นกับความเหมาะสมของคนไข้ตามระดับความรุนแรงของโรคและบริเวณอวัยวะที่ถูกมะเร็งลุกลาม
มดลูกหย่อน คือภาวะที่มดลูกหย่อนหรือเลื่อนหลุดลงต่ำมาอยู่ที่ช่องคลอด โดยปกติ มดลูกซึ่งเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิงมีตำแหน่งอยู่ภายในอุ้งเชิงกราน มีรูปร่างคล้ายลูกแพร์กลับด้าน มีกล้ามเนื้อที่ห้อยอยู่ระหว่างกระดูกก้นกบกับกระดูกหัวหน่าวทำหน้าที่ยึดมดลูก กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ มีเอ็นและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันยึดมดลูกให้อยู่ในอุ้งเชิงกราน หากเนื้อเยื่อดังกล่าวไม่แข็งแรงหรือถูกทำลาย จะส่งผลให้มดลูกหย่อนลงไปที่ช่องคลอด
โรคมะเร็งปากมดลูก มีสาเหตุหลักเกิดจาก การติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) ติดต่อได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ การมีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน การสูบบุหรี่ การรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลายาวนาน
อาการของมดลูกหย่อน ลือดออกจากช่องคลอด มีตกขาวมากขึ้น รู้สึกไม่สบายหรือลำบากเมื่อมีเพศสัมพันธ์ กระเพาะปัสสาวะอักเสบหลายครั้ง ท้องผูก ปวดหลังส่วนล่าง เดินไม่สะดวก
อาการปวดฤดู ชนิดปฐมภูมิ อาการปวดที่ไม่พบพยาธสิสภาพในอุ้งเชิงกราน ชนิดทุติยภูมิ เป็นอาการปวดที่เกิดจากการมีพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกราน
การรักษามดลูกหย่อน บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ใส่อุปกรณ์พยุงอวัยวะในอุ้งเชิงกราน (Vaginal Pessary) ผ่าตัด ผู้ป่วยภาวะมดลูกหย่อนระดับค่อนข้างรุนแรงไปจนถึงรุนแรง ควรได้รับการผ่าตัด ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน ผู้ป่วยภาวะมดลูกหย่อนอาจรับการรักษาด้วยยาฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือยาเหน็บช่องคลอด เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
นายอรรคเดช เพชรมีศรี UDA6380002