Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทน, นางสาวโสภิดา บุนนาค เลขที่ 29 ชพบ62.4 -…
การใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทน
พลังงานทดแทนได้มาจากกระบวนการทางธรรมชาติที่นำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง พลังงานทดแทนสามารถแบ่งตามแหล่งที่ได้มากเป็น2ประเภท
1.พลังงานทดแทนจากแหล่งที่ใช้แล้วหมดไป
2.พลังงานทดแทนจากแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก
การใช้ประโยชน์จากพลังงานลม
ลมเป็นพลังงานที่มนุษย์ได้นำมาใช้ตั้งแต่สมัยโบราณ ปัจจุบันทรัพยากรลมถือว่าเป็นทรัพยากรพลังงานจลน์ที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศ 2 บริเวณที่มีอุณหภูมิแตกต่างกัน ในประเทศไทยมีการนำพลังงานลมมาใช้ประโยชน์โดยเปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานกลด้วยกังหันลมก่อนจะเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า
ประเภทของกังหันลม
ในปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีกังหันลมเพื่อใช้สำหรับผลิตไฟฟ้า มีลักษณะและรูปร่างแตกต่างกันออกไป จำแนกตามลักษณะแนวแกนหมุนของกังหันได้ 2 แบบ คือ
1.กังหันลมแนวแกนนอน (Horizontal Axis Wind Turcine) เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนขนานกับทิศทางของลม โดยมีใบพัดเป็นตัวตั้งฉากรับแรงลมมีอุปกรณ์ควบคุมกังหันให้หันไปตามทิศทางของลม เรียกว่า หางเสือ และมีอุปกรณ์ป้องกันกังหันชำรุดเสียหายขณะเกิดลมพัดแรง
2.กังหันลมแนวแกนตั้ง (Vertical Axis Wind Turbine) เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนและใบพัดตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของลมในแนวราบ ซึ่งทำให้สามารถรับลมในแนวราบได้ทุกทิศทาง กังหันลมแนวแกนตั้งจะสามารถรับลมได้ทุกทิศทาง สามารถหมุนได้โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์ควบคุม
ส่วนประกอบของกังหันลม
ใบพัด
เพลาแกนหมุน
ห้องส่งกำลัง
ห้องเครื่อง
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
ระบบควบคุมไฟฟ้า
ระบบเบรค
แกนคอหมุนรับทิศทางลม
เครื่องวัดความเร็วลมและทิศทางลม
เสากังหันลม
การใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนใต้พิภพ
ภายในโลกของเราจะมีความร้อนสูงมาก โดยปกติแล้วอุณหภูมิใต้พื้นผิวโลกจะขึ้นสูงตามความลึกโดยที่ใจกลางของโลกมีอุณหภูมิสูงถึง 3,500 ถึง 4,500 องศาเซลเซียส โดยความร้อนใต้พิภพนั้นถือเป็นทรัพยากรพลังงานที่ปรากฏให้เห็นในรูปของบ่อน้ำร้อน น้ำพุร้อน ไอน้ำร้อน หรือโคลนเดือด โดยน้ำร้อนบาดาลนั้นจะมีความร้อนสูงจนทำให้เกิดไอน้ำ จึงสามารถนำพลังงานมาผลิตเป็นหระแสไฟฟ้าได้
แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ
1.แหล่งที่เป็นไอน้ำส่วนใหญ่
2.แหล่งที่เป็นน้ำร้อนส่วนใหญ่
3.แหล่งหินร้อนแห้ง
ประโยชน์ของพลังงานความร้อยใต้พิภพ
1.ประโยชน์ด้านเศรษฐศาสตร์
มีต้นทุนต่ำกว่าถ่านหินและน้ำมันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตไฟฟ้า
2.ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม
พลังงานความร้อนใต้พิภพสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในด้านสิ่งแวดล้อม แต่อาจมีผลกระทบได้ ดังนั้นการนำมาใช้จึงต้องเตรียมศึกษาและป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไว้ด้วย
นางสาวโสภิดา บุนนาค เลขที่ 29 ชพบ62.4