Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ใหญ่ที่มีความผิดปกติระบบขับถ่ายปัสสาวะ(ลุงบุญมา),…
การพยาบาลผู้ใหญ่ที่มีความผิดปกติระบบขับถ่ายปัสสาวะ(ลุงบุญมา)
TUR-P
เป็นการผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยใช้วิธีส่องกล้อง นำเอาบางส่วนของต่อมลูกหมากหรือทั้งหมดออกมา โดยใช้กล้องส่องผ่านท่อปัสสาวะจากนั้นแพทย์จะใช้วิธีตัดหรือขูดต่อมลูกหมากออกเป็นชิ้นเล็กๆ
ต่อมลูกหมากโต
เนื่องจากอาการในการขับถ่ายปัสสาวะของลุงบุญมามาด้วย ปัสสาวะลำบาก กระปริบกะปรอย และออกน้อย มีเลือดปน ซึ่งเป็นอาการของต่อมลูกหมากโตโดยที่เมื่อต่อมลูกหมากโตขึ้นก็จะบีบท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดการระคายเคือง ปัสสาวะขัด ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น
การพยาบาลโดยการทำTUR-Pในรอบ 24 ชั่วโมง
ทำCBI อย่างต่อเนื่อง(น้ำที่ออกมาต้องจางลงเรื่อยๆ)
นอนหงาย ขาเหยียดตรง
ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ(หากปัสสาวะเป็นสีแดงให้ดื่มน้ำ 3000ml-4000ml)
ดูแลปริมาณน้ำที่ใส่เข้าไป
ดูว่าอุดกั้นทางเดินปัสสาวะหรือไม่
การพยาบาลโดยการทำ TUR-P ในรอบ 72 ชั่วโมง
หากมีการปัสสาวะเล็ด แนะนำให้ทำ Pelvic exercise
สังเกตอาการว่าสามารถปัสสาวะเองได้หรือไม่หลัง off foley cath แล้ว
ภาวะซีด
ผลการตรวจ Hb,Hctของลุงบุญมาคือ
Hematocrit 20%
Hemoglobin 5.6 gm/dl
จากผลการตรวจทั้งค่า Hb และ Hct ของลุงบุญมาพบว่าต่ำกว่าปกติทั้ง2ค่า
ค่าปกติของค่า Hb,Hb คือ
Hb ในเพศชายอยู่ที่ 13-17 gm/dl
Hct ในเพศชายอยู่ที่ 38-50%
ภาวะไตวาย
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของลุงบุญมา
GFR < 12 ml/min/1.73 m2
Creatinine 7.8 mg/dl
BUN 75 mg/dl
จะเห็นได้ว่าผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทั้ง 3 ค่าของลุงบุญมามีความผิดปกติไปจากค่าปกติจึงเป็นข้อบ่งชี้ว่ามีภาวะไตวาย
ค่าปกติของ BUN,GFR,Creatinine
BUN 10-20 mg/dl
eGFR > 90 ml/min/1.73m2
Creatinine 0.6-1.2 ml/sec
CAPD
การล้างช่องท้องด้วยน้ำยาเพื่อกรองของเสียในร่างกายออกโดยการใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้องผ่านทางท่อ ซึ่งท่อนี้ต้องทำการฝังเข้าไปในช่องท้อง วิธีนี้สามารถทำที่บ้านหรือที่ทำงานได้และต้องทำทุกวัน มีการเปลี่ยนน้ำยา 4–5 ครั้ง/วัน
กาพยาบาลผู้ป่วยก่อนการทำ CAPD
ดูแลให้ผู้ป่วยงดน้ำและอาหารก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
ดูแลให้ยาระบายก่อนนอนหรือสวนถ่ายอุจจาระในเช้าวันผ่าตัด
การเตรียมผิวหนังบริเวณหน้าท้อง
ทำความสะอาดบริเวณหน้าท้องและให้ผู้ป่วยอาบน้ำ ตอนเช้าให้สะอาด
ดูแลให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะก่อนไปห้องผ่าตัด
การพยาบาลผู้ป่วยหลังการทำ CAPD
ในระยะแรกพยาบาลควรเฝ้าระวังภาวะเลือดออกจากแผลผ่าตัด โดยวัดสัญญาณชีพจนกว่าจะคงที่ แนะนําให้ผู้ป่วยสังเกตแผล หากมีเลือดออกผิดปกติควรแจ้งพยาบาลประจําหอผู้ป่วย ในระยะนี้จะไม่เปิดทำความสะอาดแผล ยกเว้นแผลมีเลือดซึมมากจึงจะเปลี่ยนทำความสะอาดแผลพร้อมทั้งแจ้งให้แพทย์ทราบ
นิ่วในไตและท่อไต
คือวัตถุที่เกิดจากการตกตะกอนของสารที่อยู่ในปัสสาวะที่บริเวณไต สาเหตุและปัจจัยเสริมก็มีผลมากจากอายุ และเพศ นิ่วในทางเดินปัสสาวะมักเกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
ในเคสของลุงบุญมาอายุ 58 ปี มีอาการปัสสาวะมีเลือดปน ปัสสาวะลำบาก ออกน้อย กระปริบกะปรอย ก็อาจเนื่องมาจากก้อนนิ่วในไตและท่อไต ก้อนนิ่วในไตที่เกิดขึ้นเมื่อมีขนาดโตขึ้นจะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ ซึ่งทำให้ปัสสาวะลำบาก ออกน้อยกระปริบกระปรอย เมื่อมีการอุดกั้นเกิดขึ้นที่ท่อไต บริเวณที่นิ่วอุดอยู่จะมีเลือดคั่ง นิ่วจะอุดกั้นเพียงบางส่วนซึ่งทำให้ท่อไตบีบตัวเพื่อดันก้อนนิ่วและน้ำปัสสาวะให้ผ่านลงไปได้ ซึ่งนิ่วอาจครูดกับทางเดินปัสสาวะทำให้ปัสสาวะมีเลือดปนเกิดขึ้น
การพยาบาล
แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเยอะๆเพราะจะทำให้มีการแตกสลายของนิ่ว
แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
จากการเป็นต่อมลูกหมากโตส่งผลให้ท่อปัสสาวะตีบแคบจึงทำให้มีการคั่งค้างของน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะทำให้มีอาการปัสสาวะลำบากและออกน้อยจึงเป็นผลให้มีการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะจึงทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ
การพยาบาล
แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำวันละ2 – 3 ลิตร
วัดและบันทึกสัญญาณชีพ
บันทึกจำนวนของเหลวที่ได้รับและจำนวนปัสสาวะทุกวัน
นางสาวอมรทิพย์ มีสีผ่อง ปี2 เลขที่108