Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปองค์ความรู้ เรื่องนมัสการมาตาปิตุคุณและนมัสการอาจริยคุณ
(งานเดี่ยว)…
สรุปองค์ความรู้ เรื่องนมัสการมาตาปิตุคุณและนมัสการอาจริยคุณ
(งานเดี่ยว) นางสาวกฤตขวัญ จันทวรรณโณ ม.4/7 เลขที่ 24
-
-
-
ลักษณะคำประพันธ์
พระยาศรีสุนทรโวหารเรียกฉันท์ที่ใช้ในการแต่งบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจารยคุณว่า “อินทะวะชิระฉันท์” แต่โดยทั่วไปเรียกว่า “อินทรวิเชียรฉันท์” ซึ่งมีการบังคับครุและลหุ แต่ผู้แต่งคือพระยาศรีสุนทรโวหารเลือกให้ความสำคัญกับเนื้อหา โดยเลือกสรรคำที่ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ความรู้สึก และใช้สำหรับเป็นบทบูชาสรรเสริญมากกว่าการแต่งให้ถูกฉันทลักษณ์ อย่างไรก็ตาม เพื่อน ๆ ก็สามารถอ่านให้ถูกฉันทลักษณ์ได้ เช่น คำว่า ชนนี สามารถอ่านว่า ชะ-นะ-นี เป็นต้น
อินทรวิเชียร์ฉันท์ ๑๑ หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามประดุจสายฟ้า ซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ นิยมใช้ในการแต่งข้อความซึ่งเป็นบทชม บทคร่ำครวญ และใช้แต่งเป็นบทพากย์โขน
ประวัติผู้แต่ง
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เกิดวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๕ เป็นผู้แต่งตำราภาษาไทย และเป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาไทยแก่เจ้านายในสมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ รวมสิริอายุได้ ๖๘ ปี
นมัสการอาจริยคุณ
ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง:ครูเป็นผู้ชี้แจง อบรมสั่งสอนทั้งวิชาความรู้และความดีทางจริยธรรมพระคุณของครูนับว่า สูงสุดจะป็นรองก็เพียงแต่บิดามารดาเท่านั้น
จุดประสงค์ เพื่อนมัสการและสรรเสริญพระคุณของครู อาจารย์ที่ได้อบรมสั่งสอนและให้ความรู้แก่ศิษย์ทั้งหลาย
หนูเลือกบทประพันธ์ที่ประทับใจคือบทนมัสการมาตาปิตุคุณเพราะทำให้เราได้รู้บุญคุณของพ่อแม่ที่ได้เลี้ยงเรามาตั้งแต่เล็กจนโตด้วยความยากลำบากแต่ท่านก็เลี้ยงดูเรามาดีถึงแม้เราจะตอบแทนบุญคุณท่านยังไงก็ไม่สามารถตอบแทนจนหมดได้
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
การเลือกสรรคำ
ผู้ประพันธ์ได้เลือกคำที่เหมาะสมในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก มีการใช้คำที่เป็นการยกระดับในการเดินเรื่อง เช่น ชนก ชนนี เป็นต้น และยังพยายามใช้คำเพื่อให้คนเห็นภาพ เช่น โอบเอื้อ เจือจุน เป็นต้น โดยส่วนใหญ่ผู้ประพันธ์ใช้คำที่เรียบง่าย อ่านแล้วเข้าใจได้ในทันที
การใช้ภาพพจน์
มีการใช้ภาพพจน์เพื่อเปรียบเทียบระหว่างบุญคุณของพ่อแม่ กับสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญและความยิ่งใหญ่ของพระคุณของท่าน โดยผู้ประพันธ์ได้ใช้ “อุปลักษณ์” ในการเปรียบเทียบ เช่นมีการเปรียบเทียบบุญคุณของพ่อแม่ว่าหนักแน่นเท่าภูผา หรือภูเขา และยิ่งใหญ่เท่าพสุนธรา หรือแผ่นดินนั่นเอง
-