Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 3 หินและซากดึกดำบรรพ์ - Coggle Diagram
หน่วยที่ 3 หินและซากดึกดำบรรพ์
เรื่องที่ 2 การเกิดซากดึกดำบรรพ์และการนำไปใช้ประโยชน์
ขั้นตรวจสอบความรู้
ซากดึกดำบรรพ์มีลักษณะอย่างไร - ซากดึกดำบรรพ์มีลักษณะเป็นโครงร่างและร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีตที่พบในหิน
ซากดึกดำบรรพ์มีประโยชน์อย่างไร - ใช้ศึกษาการลำดับชั้นหิน ใช้ระบุอายุของหินและเปรียบเทียบอายุชั้นหิน ใช้ศึกษาสภาพแวดล้อมในอดีตของพื้นที่ และใช้ศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
ขั้นฝึกทักษะการอ่าน
ซากดึกดำบรรพ์พบในหินทุกก้อนหรือไม่ อย่างไร - ไม่ทุกก้อน ซากดึกดำบรรพ์พบได้ในหินบางก้อน
โครงร่างหรือร่องรอยที่พบบนดินเป็นซากดึกดำบรรพ์หรือไม่ เพราะเหตุใด - ไม่เป็นซากดึกดำบรรพ์ เพราะซากดึกดำบรรพ์ต้องพบอยู่ในหิน
ตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ที่พบในประเทศไทยมีอะไรบ้าง - ซากดึกดำบรรพ์หอย ซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหิน ซากดึกดำบรรพ์รอยตีนไดโนเสาร์
กิจกรรมที่ 2.1 ซากดึกดำบรรพ์เกิดขึ้นได้อย่างไร
ตรวจสอบความรู้เดิม
ซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นโครงร่างและร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีตมีลักษณะแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร - แตกต่างกัน คือซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นโครงร่างมีลักษณะเป็นโครงร่างแข็งของซากสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในอดีตซึ่งโครงร่างแข็งนั้นได้ถูกแทนที่ด้วยสารต่างๆ จนเมื่อเวลาผ่านไปสารต่างๆ จะแข็งตัวกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ ส่วนซากดึกดำบรรพ์มีลักษณะเป็นร่องรอยมีลักษณะเป็นรอยประทับของสิ่งมีชีวิตในอดีตที่ปรากฏอยู่ในหิน
ซากดึกดำบรรพ์ในรูปที่ 30 และ 31 ในหนังสือเรียน หน้า 92-93 เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เกิดขึ้นอย่างไร - แตกต่างกัน คือ ซากดึกดำบรรพ์หอยและซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหินเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นโครงร่างแข็งของซากสิ่งมีชีวิตในอดีต โดยเกิดจากโครงร่างแข็งของซากสิ่งมีชีวิตในอดีต มีสารต่างๆ ซึมเข้าสู่โครงร่างแข็ง เมื่อเวลาผ่านไปสารต่างๆ จะแข็งตัวกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ ส่วนรอยตีนไดโนเสาร์เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็รอยประทับของสิ่งมีชีวิตในอดีตที่ปรากฏอยู่บนหิน โดยเกิดจากสิ่งมีชีวิตในอดีตได้ประทับรอยไว้บนชั้นตะกอนที่ยังไม่แข็งตัว
คำถามหลังทำกิจกรรม
ซากดึกดำบรรพ์มีกี่ลักษณะ แต่ละลักษณะเกิดขึ้นได้อย่างไร - ซากดึกดำบรรพ์มี 2 ลักษณะ คือ ลักษณะโครงร่างของสิ่งมีชีวิตในอดีตและลักษณะร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีต โดยซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นโครงร่างของสิ่งมีชีวิตในอดีตเกิดจากสิ่งมีชีวิตตายลงแล้วเหลือทิ้งไว้เฉพาะส่วนที่โครงร่างแข็ง จากนั้นมีตะกอนชุดใหม่มาปิดทับ และมีสารต่างๆ ที่ละลายอยู่ในน้ำบริเวณนั้นค่อยๆ ซึมเข้าสู่โครงร่างแข็ง เมื่อเวลาผ่านไปสารต่างๆ จะแข็งตัวกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ ส่วนซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีตเกิดจากสิ่งมีชีวิตในอดีตได้ประทับรอยไว้ในชั้นตะกอนที่ยังไม่แข็งตัว ต่อมาเมื่อมีตะกอนชุดใหม่มาสะสมตัวตรงบริเวณรอยดังกล่าว จะมีตะกอนเติมเข้าไปในรอย เมื่อตะกอนที่อยู่ในรอยแข็งตัวจะเกิดเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นรูปพิมพ์เหมือนรูปร่างหรือโครงร่างของสิ่งมีชีวิตในอดีตที่สร้างรอยไว้ และตะกอนที่ถูกประทับรอยไว้ เมื่อแข็งตัวก็จะเกิดเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นรอยพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นรอยประทับของสิ่งมีชีวิตในอดีตและตะกอนที่ทับถมนั้นจะแข็งตัวกลายเป็นหินตะกอน
ซากดึกดำบรรพ์จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับกระบวนการเกิดหินตะกอนหรือไม่ - ซากดึกดำบรรพ์จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับกระบวนการเกิดหินตะกอน
แบบจำลองที่แทนซากดึกดำบรรพ์แต่ละลักษณะอยู่ที่ใดของชั้นตะกอนในแบบจำลอง - ซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นโครงร่างอยู่ในตะกอนชั้นที่ 2 ส่วนซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นร่องรอยอยู่บริเวณผิวด้านบนของตะกอนชั้นที่ 3 และผิวด้านล่างของตะกอนชั้นที่ 4
แบบจำลองนี้เหมือนและแตกต่างจากการเกิดซากดึกดำบรรพ์แต่ละลักษณะในธรรมชาติอย่างไร - แบบจำลองนี้มีบางสิ่งเหมือนในธรรมชาติ คือ มีลำดับเหตุการณ์การเกิดซากดึกดำบรรพ์เหมือนกัน แต่วัสดุ วัตถุ เวลาที่ใช้ในการเกิด และลักษณะและขนาดของซากดึกดำบรรพ์แตกต่างกัน นอกจากนั้นดินน้ำมันที่เป็นตัวแทนของตะกอนชั้นที่ 3 ในแบบจำลอง ยังขาดการแข็งตัว ซึ่งเป็นข้อจำกัดของการสร้างแบบจำลองนี้ ในธรรมชาติเมื่อสิ่งมีชีวิตเหยียบหรือทิ้งรอยบนตะกอนที่ยังไม่แข็งตัวจะเกิดเป็นรอยอยู่บนตะกอน (ในแบบจำลองแทนด้วยดินน้ำมัน) เมื่อเวลาผ่านไปรอยที่เหยียบไว้จะแห้ง เกิดเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นรอยพิมพ์
ซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นรอยพิมพ์กับรูปพิมพ์แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร - แตกต่างกัน คือรอยพิมพ์เป็นรอยประทับของสิ่งมีชีวิตในอดีต มีลักษณะเป็นสามมิติ แต่รูปพิมพ์เป็นรูปร่างเหมือนโครงร่างของสิ่งมีชีวิตในอดีตที่สร้างรอยไว้ มีลักษณะเป็นสามมิติเช่นกัน
สรุป - ซากดึกดำบรรพ์เกิดจากโครงร่างแข็งของสิ่งมีชีวิตในอดีตที่ถูกทับถมด้วยตะกอนและมีสารแทรกซึมเข้าไปที่โครงร่างแข็งนั้น และเกิดจากการประทับรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีต ซึ่งการเกิดทั้ง 2 ลักษณะจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน กับกระบวนการเกิดหินตะกอน ซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นโครงร่างของสิ่งมีชีวิตในอดีตเกิดจากโครงร่างแข็งของสิ่งมีชีวิตในอดีตถูกปิดทับด้วยตะกอน จากนั้นมีสารต่างๆ ที่ละลายอยู่ในน้ำในบริเวณดังกล่าวได้แทรกซึมเข้าสู่โครงร่างแข็ง เมื่อเวลาผ่านไปสารที่เข้าไปอยู่ในโครงร่างแข็งจะแข็งตัวกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ และซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีต เกิดจากสิ่งมีชีวิตได้ประทับรอยไว้บนผิวของชั้นตะกอนที่ยังไม่แข็งตัว ก่อนที่จะมีชั้นตะกอนใหม่มาปิดท้บ เมื่อตะกอนบริเวณที่มีการประทับรอยแข็งตัว จะเกิดเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นรอยพิมพ์ (หินที่ถูกประทับรอยจากสิ่งมีชีวิตในอดีต) และเมื่อตะกอนที่เติมเข้าไปในรอยแข็งตัวจะกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นรูปพิมพ์ (หินที่ลักษณะเหมือนโครงร่างของสิ่งมีชีวิตในอดีตที่สร้างรอยไว้)
ฉันรู้อะไร
1.ซากดึกดำบรรพ์ที่เกิดจากโครงร่างของสิ่งมีชีวิตและที่เกิดจากการประทับรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีต มีการเกิดและมีลักษณะของซากดึกดำบรรพ์แตกต่างกันอย่างไร
ซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นโครงร่างเกิดจากโครงร่างแข็งของสิ่งมีชีวิตในอดีตถูกทับถมด้วยตะกอนและมีสารต่างๆ ซึมเข้าสู่โครงร่างแข็ง เมื่อเวลาผ่านไปสารจะแข็งตัวเกิดเป็นซากดึกดำบรรพ์ ส่วนซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นร่องรอยเกิดจากการประทับรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีตลงบนตะกอนที่ยังไม่แข็งตัวเป็นหิน จนเมื่อเวลาผ่านไป ตะกอนที่ถูกประทับรอยไว้แข็งตัวจะเกิดเป็นร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีตที่ปรากฏอยู่ในหิน
ซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นโครงร่างมีลักษณะเป็นโครงร่างของสิ่งมีชีวิตในอดีต ส่วนซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นร่องรอยมีลักษณะเป็นรอยพิมพ์และรูปพิมพ์ที่ปรากฏอยู่ในหิน
2.การเกิดซากดึกดำบรรพ์ที่เกิดจากโครงร่างของสิ่งมีชีวิตและที่เกิดจากการประทับรอยของสิ่งมีชีวิตต้องอาศัยสิ่งจำเป็นใดบ้าง
ซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นโครงร่างของสิ่งมีชีวิตในอดีตต้องอาศัยสิ่งจำเป็นดังนี้ 1)โครงร่างแข็งของสิ่งมีชีวิต 2)ตะกอนชุดใหม่ที่มาปิดทับโครงร่างแข็ง 3)สารต่างๆ ที่มาแทรกซึมเข้าไปในโครงร่างแข็ง
ซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีตต้องอาศัยสิ่งจำเป็นดังนี้ 1)รอยประทับของสิ่งมีชีวิต 2)ตะกอนชุดใหม่ที่มาปิดทับ
3.ซากสิ่งมีชีวิตจะกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ทุกครั้งหรือไม่ เพราะเหตุใด - ไม่ทุกครั้ง เนื่องจากสภาพแวดล้อมในการเกิดซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นโครงร่างต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีสิ่งรบกวนและต้องมีตะกอนมาปิดทั้บ เพื่อไม่ให้ซากสิ่งมีชีวิตถูกปัจจัยต่างๆ พัดพาให้กระจัดกระจายไป
4.การเกิดซากดึกดำบรรพ์และการเกิดหินตะกอน มีความสัมพันธ์กันอย่างไร - การเกิดซากดึกดำบรรพ์จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการเกิดหินตะกอน
5.จากกิจกรรมนี้ ค้นพบอะไรบ้างเกี่ยวกับการเกิดซากดึกดำบรรพ์ - ซากดึกดำบรรพ์เกิดจากโครงร่างและร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีต ซึ่งจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กันกับการเกิดหินตะกอน ซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นโครงร่างเกิดจากโครงร่างแข็งของสิ่งมีชีวิตในอดีตถูกปิดทับด้วยตะกอนและมีสารต่างๆ ที่ละลายอยู่ในน้ำแทรกซึมเข้าสู่โครงร่างแข็ง จนสารต่างๆ ดังกล่าวแข็งตัวกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ ส่วนซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นร่องรอยเกิดจากสิ่งมีชีวิตประทับรอยไว้บนชั้้นตะกอนที่ยังไม่แข็งตัว ต่อมามีตะกอนชุดใหม่มาสะสมเติมเข้าไปในรอย เมื่อตะกอนในรอยแข็งตัวและตะกอนที่ถูกประทับรอยไว้แข็งตัวจะเกิดเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นรูปพิมพ์และรอยพิมพ์
6.จากสิ่งที่ค้นพบ สรุปได้ว่าอย่างไร - ซากดึกดำบรรพ์ที่มีเป็นลักษณะโครงร่างและร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีต มีการเกิดและอาศัยสิ่งจำเป็นในการเกิดแตกต่างกันและมีลักษณะของซากดึกดำบรรพ์แตกต่างกัน การเกิดซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นโครงร่างจำเป็นต้องอาศัยโครงร่างของสิ่งมีชีวิตในอดีตและการสะสมตัวของตะกอนมาปิดทับ และจำเป็นต้องมีสารต่างๆ ซึมเข้าสู่โครงร่างแข็ง เมื่อสารต่างๆ แข็งตัวจะกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีรูปร่างเหมือนโครงร่างแข็งของซากสิ่งมีชีวิต ส่วนซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเป็นร่องรอยจำเป็นต้องอาศัยรอยประทับของสิ่งมีชีวิตในอดีตลงบนตะกอนที่ยังไม่แข็งตัว ซึ่งซากดึกดำบรรพ์ลักษณะนี้ปรากฏได้ทั้งลักษณะรูปพิมพ์และรอยพิมพ์ ซากดึกดำบรรพ์ทั้งสองลักษณะจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการเกิดหินตะกอน
กิจกรรมที่ 2.2 ซากดึกดำบรรพ์มีประโยชน์อย่างไร
ตรวจสอบความรู้เดิม
เพราะเหตุใดเราจึงทราบวิวัฒนาการของม้าได้ - ซากดึกดำบรรพ์เกิดมากจากโครงร่างหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีตที่ปรากฏอยู่ในหินตะกอนที่มีอายุแตกต่างกัน จึงนำข้อมูลซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุแตกต่างกันและจากที่พบหลายๆ แห่งมาร้อยเรียงทำให้อธิบายการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตจากอดีตจนถึงปัจจุบันได้
เพราะเหตุใดจึงพบซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ทะเลบนภูเขาสูงได้ - อาจเป็นไปได้ว่าบริเวณดังกล่าวในอดีตอาจเคยเป็นทะเลมาก่อน
คำถามหลังทำกิจกรรม
ซากดึกดำบรรพ์มีประโยชน์อย่างไรบ้าง - ซากดึกดำบรรพ์มีประโยชน์ต่อการศึกษาในด้านต่างๆ มากมาย ทั้งใช้ศึกษาการลำดับชั้นหิน ใช้ระบุอายุของหินและเปรียบเทียบอายุชั้นหิน ใช้ศึกษาสภาพแวดล้อมในอดีตของพื้นที่ และรวมถึงใช้ศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
ถ้าเราพบซากดึกดำบรรพ์ 2 ชนิดที่มีอายุต่างกันสะสมตัวอยู่ในชั้นหินต่างๆ สามารถอธิบายอายุของชั้นหินนั้นได้อย่างไร - ซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุมากกว่าอยู่ชั้นหินใด แสดงว่าชั้นหินนั้นมีอายุมากกว่าอีกชั้นหินหนึ่งที่มีซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุน้อยกว่า
ชั้นหิน 2 บริเวณซึ่งอยู่ต่างสถานที่กัน พบซากดึกดำบรรพ์ดัชนีชนิดเดียวกัน สามารถอธิบายอายุของชั้นหิน 2 บริเวณนีน้ได้ว่าอย่างไร - ชั้นหินทั้ง 2 บริเวณเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน
เมื่อพบซากดึกดำบรรพ์ปะการังในชั้นหินปูน เราจะสามารถอธิบายสภาพแวดล้อมในอดีตได้อย่างไร - บริเวณดังกล่าวในอดีตช่วงที่เกิดหินปูนอาจเคยเป็นทะเลมาก่อน เพราะปะการังเป็นสัตว์ทะเล
ถ้าพบซากดึกดำบรรพ์ของหอยน้ำจือดบางชนิด เราจะสามารถอธิบายสภาพแวดล้อมในอดีตได้อย่างไร - พื้นที่ที่พบนั้นในอดีตอาจเคยเป็นแหล่งน้ำจืดมาก่อน
ถ้าพบซากดึกดำบรรพ์ของพืช เราจะสามารถอธิบายสภาพแวดล้อมในอดีตได้ว่าอย่างไร - พื้นที่ที่พบนั้นในอดีตอาจเคยเป็นพื้นที่ที่เป็นป่ามาก่อน
ทำไมซากดึกดำบรรพ์จึงนำมาศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้ - ซากดึกดำบรรพ์เกิดมาจากโครงร่างหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีตที่ปรากฏอยู่ในหินตะกอนที่มีอายุแตกต่างกัน จึงนำข้อมูลซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุแตกต่างกันและจากที่พบหลายๆ แห่งมาวิเคราะห์และศึกษาสอย่างละเอียดและนำข้อมูลมาร้อยเรียงทำให้อธิบายการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตจากอดีตจนถึงปัจจุบันได้
ยกตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ที่นำมาศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต - พืช สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม สัตว์เลื้อยคลาน ไดโนเสาร์
สรุป - ซากดึกดำบรรพ์มีประโยชน์ต่อการศึกษาในด้านต่างๆ มากมาย ทั้งใช้ศึกษาการลำดับชั้นหิน ใช้ระบุอายุของหินและเปรียบเทียบอายุชั้นหิน ใช้ศึกษาสภาพแวดล้อมในอดีตของพื้นที่ และรวมถึงใช้ศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้
ฉันรู้อะไร
1.ซากดึกดำบรรพ์มีประโยชน์อย่างไรบ้าง
1) ใช้ศึกษาการลำดับชั้นหิน
2) ใช้ระบุอายุของหินและเปรียบเทียบอายุชั้นหิน
3) ใช้ศึกษาสภาพแวดล้อมในอดีตของพื้นที่
4) ใช้ศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
2.ถ้าพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ชนิดเดียวกันในหิน 2 บริเวณ หินทั้งสองบริเวณนี้จะมีช่วงอายุเดียวกันหรือไม่ เพราะเหตุใด - ชั้นหินทั้งสองบริเวณเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เพราะชั้นหิน 2 บริเวณมีซากดึกดำบรรพ์ดัชนีชนิดเดียวกันปรากฏอยู่
3.ถ้าพบซากดึกดำบรรพ์ของหอยทะเลชนิดหนึ่งในชั้นหินบนภูเขาสูง จะอธิบายสภาพแวดล้อมในอดีตของพื้นที่ดังกล่าวได้อย่างไร - อาจเป็นไปได้ว่าบริเวณดังกล่าวในอดีตอาจเคยเป็นทะเลมาก่อนเพราะหอยทะเลเป็นสัตว์ทะเล
4.จากกิจกรรมนี้ ค้นพบอะไรบ้างเกี่ยวกับประโยชน์ของซากดึกดำบรรพ์ - ซากดึกดำบรรพ์ใช้ศึกษาการลำดับชั้นหินเพื่อธิบายชั้นหินหนึ่งเกิดก่อนหรือเกิดหลังกับอีกชั้นหินหนึ่ง ซากดึกดำบรรพ์ใช้ระบุอายุของหินและเปรียบเทียบอายุชั้นหิน ใช้ศึกษาสภาพแวดล้อมในอดีตของพื้นที่หนึ่งๆ ว่าอาจเคยมีสภาพแวดล้อมเป็นแบบใดมาก่อน รวมถึงใช้ศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
5.จากสิ่งที่ค้นพบ สรุปได้ว่าอย่างไร - ซากดึกดำบรรพ์มีประโยชน์มากมาย ทั้งใช้ศึกษาการลำดับชั้นหิน ใช้ระบุอายุของหินและเปรียบเทียบอายุชั้นหิน ใช้ศึกษาสภาพแวดล้อมในอดีตของพื้นที่ และใช้ศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
กิจกรรมท้ายบทที่ 1 หิน วัฏจักรหิน และซากดึกดำบรรพ์
หินแต่ละประเภทมีองค์ประกอบแตกต่างกันหรือไม่ - หินแต่ละประเภทอาจมีองค์ประกอบทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน โดยหินอัคนีบางชนิดประกอบด้วยแร่ บางชนิดประกอบด้วยแก้วภูเขาไฟ หินตะกอนบางชนิดประกอบด้วยแร่ บางชนิดมีเศษหินเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย และหินแปรประกอบด้วยแร่
หินแต่ละประเภทมีกระบวนการเกิดแตกต่างกันหรือไม่ - หินแต่ละประเภทมีกระบวนการเกิดแตกต่างกัน หินอัคนีเกิดจากการเย็นตัวและตกผลึกของแมกมา หรือเกิดจากการเย็นตัวและตกผลึกของลาวา หรือเกิดจากการเย็นตัวและแข็งตัวของลาวา หินตะกอนเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนและการเชื่อมประสานตะกอน หรือเกิดจากการตกผลึกหรือตกตะกอนของสารบางชนิด และหินแปรเกิดจากการแปรสภาพด้วยความร้อน ความดัน และปฏิกิริยาเคมี
หินแต่ละประเภทสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นวัฏจักรได้อย่างไร - หินแต่ละประเภทสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นวัฏจักรหินได้โดยผ่านกระบวนการทางธรณีวิทยาต่างๆ
ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในหินเกิดขึ้นได้อย่างไร - ซากดึกดำบรรพ์เกิดจากโครงร่างหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีตโดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การปิดทับของตะกอนไปที่โครงร่างของซากสิ่งมีชีวิต การมีสารต่างๆ แทรกซึมไปที่โครงร่างของซากสิ่งมีชีวิต หรือการมีตะกอนชุดใหม่เข้าไปสะสมตัวในรอยที่สิ่งมีชีวิตได้ประทับรอยไว้หรือเหยียบไว้
สามารถนำหิน แร่ และซากดึกดำบรรพ์ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง - มีการนำหินไปใช้ประโยชน์มากมาย เช่น ทำแผ่นปูพื้น ปูผนัง นำไปแกะสลักเพื่อไปประดับตกแต่งสถานที่ นำไปใช้ในงานก่อสร้าง นำไปทำครก มีการนำแร่ไปทำประโยชน์มากมาย เช่น นำไปผลิตถ้วยหรือจากกระเบื้อง นำไปผลิตกระจก แก้ว นำไปทำเครื่องสำอาง นำไปทำเครื่องประดับ และมีการนำซากดึกดำบรรพ์ไปใช้ประโยชน์มากมาย เช่น นำไปใช้ศึกษาการลำดับชั้นหิน ใช้ระบุอายุของหินและเปรียบเทียบอายุชั้นหิน ใช้ศึกษาสภาพแวดล้อมในอดีตของพื้นที่ ใช้ศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
หินและซากดึกดำบรรพ์เกิดขึ้นได้อย่างไร และมีประโยชน์อย่างไร - หินอัคนีเกิดจากการเย็นตัวและตกผลึกของแมกมา หรือเกิดจากการเย็นตัวและตกผลึกของลาวา หรือเกิดจากการเย็นตัวและแข็งตัวของลาวา หินตะกอนเกิดจากการทับถมของตะกอน หรือเกิดจากการตกผลึกและตกตะกอนจากสารบางชนิด หินแปรเกิดจากการแปรสภาพของหินด้วยปัจจัยความร้อน ความดัน และปฏิกิริยาเคมี หินอัคนี หินตะกอนและหินแปร มีการเปลี่ยนแปลงจากหินประเภทหนึ่งไปเป็นหินอีกประเภทหนึ่งและเปลี่ยนแปลงกลับไปเป็นหินประเภทเดิมได้ โดยมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงคงที่เป็นแบบรูปและต่อเนื่องเป็นวัฏจักรหิน หินและแร่แต่ละชนิดมีลักษณะและสมบัติแตกต่างกัน จึงมีการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและในด้านอื่นๆ ได้แตกต่างกัน ซากดึกดำบรรพ์เกิดจากการทับถมหรือการประทับรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีต และผ่านกระบวนการต่างๆ จนกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ ซากดึกดำบรรพ์มีประโยชน์มากมาย เช่น ใช้ศึกษาการลำดับชั้นหิน ใช้ระบุอายุของหิน ใช้เปรียบเทียบอายุชั้นหิน ใช้ศึกษาสภาพแวดล้อมในอดีตของพื้นที่ รวมถึงใช้ศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต