Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเก็บรวบรวมข้อมูล - Coggle Diagram
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ประเภทของข้อมูล
- ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data) เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถบอกเป็นปริมาณหรือตัวเลขได้ แต่จะบอกในลักษณะคำพูด หรือบรรยายที่แสดงคุณลักษณะที่แตกต่างของตัวแปรต่างๆ โดยพยายามแยกเป็นกลุ่มตามคุณสมบัติ เช่น อาชีพ ศาสนา สถานภาพ สมรส เพศ เป็น
- ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data) คือ ข้อมูลที่บอกเป็นตัวเลขหรือเป็นปริมาณของตัวแปรแต่ละตัว ซึ่งสามารถวัดออกมาเป็นค่าตัวเลขที่นำมาใช้เปรียบเทียบขนาดได้โดยตรง เช่น จำนวนนักศึกษา คะแนน น้ำหนัก ระยะทาง เป็นต้น
ที่มาของข้อมูล
ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary source) คือข้อมูลที่ผู้ใช้จะต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูล หรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง เป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมขึ้นใหม่จากแหล่งกำเนิดของข้อมูลโดยตรงไม่มีการเปลี่ยนรูปหรือเปลี่ยนความหมาย เช่น ข้อมูลที่ได้จากการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต และข้อมูลที่ได้จากการทดลองในห้องปฏิบัติการ เป็นต้น ข้อมูลปฐมภูมิเป็นข้อมูลที่มีรายละเอียดตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ แต่มักจะเสียเวลาในการจัดหาและมีค่าใช้จ่ายสูง
ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary source) คือข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง แต่ได้มาจากข้อมูลที่ผู้อื่นเก็บรวบรวมไว้แล้ว เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถเก็บรวบรวมจากแหล่งกำเนิดของข้อมูลได้โดยตรง แต่ได้จากแหล่งที่รวบรวมข้อมูลไว้แล้ว เช่น ข้อมูลสถิติต่างๆ ที่มีการบันทึกไว้แล้ว ข้อมูลจากรายงานการวิจัย บันทึกการนิเทศ เป็นต้น ซึ่ง อาจมีการเปลี่ยนรูป หรือมีข้อเท็จจริงที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงได้ การนาเอาข้อมูลเหล่านี้มาใช้เป็นการประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย แต่ในบางครั้งข้อมูลอาจจะไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ หรือมีรายละเอียดไม่เพียงพอที่จะนาไปวิเคราะห์
“การเก็บรวบรวมข้อมูล” หมายถึง กระบวนการเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ของการวิจัยหรือเพื่อนำมาวิเคราะห์ โดยแบ่งออกเป็น 2
1) การเก็บข้อมูล (Data Collection) การเก็บข้อมูลใหม่ ซึ่งอาจจะดำเนินการได้หลายวิธี นับตั้งแต่ การส่งแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต การทดลอง
2) การรวบรวมข้อมูล (Data Compilation) หมายถึง การที่ผู้วิจัยได้นำเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่ผู้อื่นได้ทำการเก็บรวบรวมมาแล้ว และได้รายงาน หรือมาทำการศึกษาวิเคราะห์ต่อ
ความหมายของข้อมูล
ข้อมูลที่ใช้เพื่อการวิจัย หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือข่าวสารที่เกี่ยวกับตัวแปรหรือสิ่งที่จะนำมาเป็นหลักฐานเพื่อใช้ในการบรรยายประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัย
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือข่าวสาร (Information) ต่างๆ ที่อาจจะเป็นตัวเลขหรือไม่เป็นตัวเลขก็ได้
ข้อมูลที่เป็นตัวเลข เช่น คะแนน ส่วนสูง น้ำหนัก ระยะทาง เรียกว่า ข้อมูลเชิงปริมาณ ตัวอย่างเช่น สมศักดิ์มีรายได้เดือนละ 15,000 บาท, ชุมชนดงจำปามีประชาชน 350 คน
ข้อมูลที่ไม่เป็นตัวเลข อยู่ในรูปคุณลักษณะ เช่น เพศ สถานภาพ อาชีพ ศาสนา เชื้อชาติ เป็นต้น เรียกว่า ข้อมูลเชิงคุณภาพ ตัวอย่างเช่น สมชายมีอาชีพเป็นตำรวจ, พฤติกรรมการเลี้ยงลูกของชาวเขา
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
-
-
-
-
-
-
เป็นวิธีการเก็บข้อมูล โดยการแจงนับทุกหน่วยของประชากร ซึ่งอาจเป็นการแจงนับโดยการ นับ, วัด หรือ ชั่ง การสัมภาษณ์ที่มีการเผชิญหน้ากัน ตลอดจนการอาศัยสื่อกลางต่างๆ
-
เป็นวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการแจงนับบางหน่วยของประชากร โดยแต่ละหน่วยของประชากรที่ถูกแจงนับจะเป็นไปโดยสุ่ม การเก็บรวบรวมข้อมูลวิธีนี้เป็นวิธีที่ประหยัดเวลาและงบประมาณ
-
1) วัตถุประสงค์ของการวางแผนการทดลองคือ เพื่อให้ทำสามารถวัดหรือเปรียบเทียบผลของสิ่งทดลอง (treatment) โดยการใช้หน่วยทดลอง (experimental unit)
2) สิ่งทดลอง หมายถึง วิธีการ หรือ กระบวนการหรือสิ่งต่างๆที่ต้องการวัดหรือเปรียบเทียบ โดยจะนำสิ่งทดลองมาใส่ให้แก่หน่วยทดลอง เพื่อทำให้สามารถวัดค่าต่างๆ หรือวัดอิทธิพลของสิ่งทดลองโดยผ่านหน่วยทดลอง เช่น การเปรียบเทียบคุณภาพของยารักษาโรคหัวใจ 4 ชนิด ในที่นี้ยาคือ สิ่งทดลอง จึงมีสิ่งทดลอง 4 ชนิด
3) หน่วยทดลอง หมายถึง คน สิ่งของ หรือสัตว์ที่นำมาใช้ในการทดลองเพื่อวัดผลของสิ่งทดลอง เช่น การเปรียบเทียบยารักษาโรคหัวใจ หน่วยทดลอง คือ คนไข้ที่เป็นโรคหัวใจ, การเปรียบเทียบคุณภาพวิธีการสอน 3 แบบ จะมีนักเรียนเป็นหน่วยทดลอง, การเปรียบเทียบคุณภาพของยา 4 ชนิด รักษาโรคใดโรคหนึ่ง มีคนไข้เป็นหน่วยทดลอง
-
-