Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
CA NP (Cancer Nasopharyngeal) มะเร็งหลังโพรงจมูก - Coggle Diagram
CA NP (Cancer Nasopharyngeal) มะเร็งหลังโพรงจมูก
ข้อมูลผู้ป่าย
ผู้ป่วยชายไทยอายุ 44 ปี น้ำหนัก 57 กิโลกรัม ส่วนสูง 170 เซนติเมตร BMI 19.72 (อยู่ในเกณฑ์ปกติ)
โรคประจำตัว โรคเบหวาน DM (Diabetic Mellitus)
การแพ้ยา ปฏิเสธการแพ้ยา
การผ่าตัด ปฏิเสธ
ประวัติครอบครัว : มารดาเป็นโรคเบาหวาน , บิดาเป็นโรคมะเร็งถุงน้ำดี
อาการสำคัญ : มาตามนัดเพื่อให้ยาเคมีบำบัด
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน :
6 เดือนก่อน พบก้อนที่คอขนาดใหญ่ทั้ง 2 ข้าง ไม่มีอาการกดเจ็บ จึงไปโรงพยาบาลบางระกำ เเพทย์ส่งตรวจชิ้นเนื่อ พบเป็นมะเร็งหลังโพรงจมูก จึงส่งตัวมารับการรักษาที่โรงพยาบาลพุทธชินราช
4 เดือนก่อน ได้รับยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายเเสงที่โรงพยาบาลพุทธชินราช มาตามนัดทุกครั้ง วันสิ้นสุดการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายแสง คือ วันที่ 26 ตุลาคม 2564
3 สัปดาห์ก่อนมารับยาเคมีบำบัดตามนัด ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2564
วันนี้ (4 มกราคม 2565) มารับยาเคมีบำบัดตามนัดเป็นครั้งที่ 2
ระยะของโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก
ระยะที่ 2โรคมะเร็งลุกลามเข้าเนื้อเยื่อคอหอย และ/หรือลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองลำ คอเพียงด้านเดียว กี่ต่อมก็ได้ แต่ละต่อมมีขนาดไม่เกิน 6 เซนติเมตร
ระยะที่ 3โรคมะเร็งลุกลามเข้าไซนัสต่างๆ และ/หรือกระดูกฐานสมอง และ/หรือ ต่อม น้ำเหลืองทั้งสองข้างของลำคอแต่ละต่อมมีขนาดไม่เกิน 6 ซม.
ระยะที่ 1 โรคมะเร็งลุกลามอยู่ในโพรงหลังจมูก และ/หรือลุกลามเข้าโพรง/รูจมูก
ระยะที่ 4โรคมะเร็งลุกลามเข้าประสาทสมอง และ/หรือสมอง และ/หรือเข้าเบ้าตา และ /หรือเข้าคอหอยส่วนรอบกล่องเสียง และ/หรือเข้าต่อมน้ำเหลืองลำคอ ทั้งนี้ต่อมน้ำเหลืองต้องมีขนาดโตเกิน 6 ซม. และ/หรือเข้าต่อมน้ำเหลืองเหนือกระดูกไหปลาร้า ขนาดใดก็ได้ และ/หรือ มีโรคแพร่กระจายเข้ากระแสโลหิต/กระแสเลือด ซึ่งเมื่อแพร่กระจาย มักแพร่กระจายสู่กระ ดูก ปอด ตับ และ/หรือสมอง
สาเหตุ
การรับประทานอาหาร ผู้ที่ชอบรับประทานเนื้อสัตว์หรือเนื้อปลาที่หมักด้วยเกลืออาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งชนิดนี้ เนื่องจากมีงานวิจัยพบว่าสารเคมีที่ระเหยออกมาจากอาหารดังกล่าวอาจทำให้ดีเอ็นเอถูกทำลายจนเซลล์ในร่างกายเกิดความผิดปกติได้
การติดเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ เป็นไวรัสที่มักทำให้เกิดโรคหวัด หรือโรคโมโนนิวคลิโอสิส ซึ่งเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ผ่านทางสารคัดหลั่งอย่างน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ และไวรัสชนิดนี้อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งหลาย ๆ ชนิดอีกด้วย
เพศและอายุ โรคนี้มักพบในกลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 30-50 ปี และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
พันธุกรรม มีงานวิจัยชี้ว่าผู้ที่มีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคนี้อาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เนื่องจากอาจได้รับการถ่ายทอดเนื้อเยื่อบางชนิดที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกายและการตอบสนองต่อเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์
พฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยง มีงานวิจัยพบว่าการทำงานอยู่ในสถานที่ที่ต้องคลุกคลีกับขี้เลื่อยหรือฟอร์มาลดีไฮด์ รวมถึงการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์
อาการของมะเร็งหลังโพรงจมูก
อาการอื่นๆ เช่น น้ำหนักลด เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำๆ และอาจมีอาการอ้าปากไม่ขึ้น สำลักน้ำขึ้นจมูก เป็นต้น ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากการลุกลามของเซลล์มะเร็งไปยังอวัยวะอื่น ตำแหน่งอื่น
อาการทางหู การได้ยินบกพร่อง มีเสียงดังในหู รู้สึกปวดหู หรือมีของเหลวไหลออกจากหู อันเนื่องมาจากการทำงานผิดปกติของท่อเชื่อมหูชั้นกลาง เพราะการลุกลามของมะเร็ง เป็นผลให้ความกดอากาศในหูชั้นกลางลดลง ก่อให้เกิดอาการหูอื้อ และอาการนี้จะมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ
อาการทางจมูก มีอาการระคายเคืองหลังโพรงจมูก มีน้ำมูกปนเลือด มีเลือดออกทางจมูกบ่อยๆ แน่นจมูก หายใจไม่ค่อยสะดวก หรือคัดจมูก มีน้ำมูกไหลลงคอเรื้อรัง หรือเสียงเปลี่ยนไป ซึ่งอาการเหล่านี้อาจทำให้ผู้ป่วยหลายรายต้องเข้ารับการรักษาแบบเดียวกับโรคโพรงจมูกอักเสบ หรือไซนัสอักเสบเรื้อรังมาก่อน
ก้อนที่คอ เป็นอาการที่สังเกตได้ค่อนข้างชัดของโรคนี้ โดยเฉพาะอาการของโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกระยะที่ลุกลามไปถึงต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ ซึ่งจะตรวจพบก้อนที่คอเพียงก้อนเดียว หรือหลายก้อนแบบติดกัน-ห่างกันก็ได้
ทว่ากรณีที่พบบ่อยมักจะเจอก้อนที่คอเพียงก้อนเดียว มีลักษณะแข็ง ไม่เจ็บ และเคลื่อนไหวไปมาได้
อาการทางระบบประสาท ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะ มองเห็นภาพซ้อน ชาที่ใบหน้า เจ็บเสียวที่แก้มข้างเดียวกับตำแหน่งที่เป็นมะเร็ง และในรายที่อาการลุกลามมาก ผู้ป่วยอาจเป็นอัมพาตที่กล้ามเนื้อใบหน้า เวียนศีรษะ เสียงแหบ กลืนลำบาก หรือสำลักอาหาร รวมทั้งมีการรับกลิ่นและรสที่เปลี่ยนไป
การเกิดมะเร็งหลังโพรงจมูก มะเร็งหลังโพรงจมูกเป็นเนื้องอกที่
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
วิตกกังวลเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวเมื่อได้รับยาเคมีบำบัด
ข้อมูลสนับสนุน
s: ผู้ป่วยบอกว่า " ก็เคยได้รับเคมีบำบัดและการฉายแสงมาแล้ว แต่ก็ยังกังวลทุกครั้งที่มารับยาเคมีบำบัดอยู่ดี "
o: ขณะเล่าผู้ป่วยมีสีหน้าวิตกกังวล หน้านิ่ว
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยคลายความวิตกกังวล
เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคและการได้รับยาเคมีบำบัด
กิจกรรรมทางการพยาบาล
ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค และการปฏิบัติตัวเมื่อได้รับยาเคมีบำบัด
ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด พร้อมทั้งอธิบายอาการข้างเคียงของยาเคมีบำบัด
วัตถุประสงค์ของการให้ยาเคมีบำบัด
เพื่อรักษาให้หายขาด (CURE) เป็นการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยหายจากโรคมะเร็ง และไม่กลับมาเป็นซ้ำ ในโรคมะเร็งบางชนิดที่มีโอกาสหายขาด ซึ่งต้องใช้เวลาในการตรวจติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลาหลายปีจึงจะสรุปได้ว่าผู้ป่วยหายขาดจากโรคมะเร็งแล้ว
เพื่อควบคุมโรค (CONTROL) สำหรับมะเร็งบางชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เป้าหมายในการรักษาก็จะเป็นการควบคุมโรคให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลงหรือไม่โตขึ้น และไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นลดความเจ็บปวด และมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น
เพื่อบรรเทาอาการ (PALLIATION) สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะแพร่กระจาย เพื่อบรรเทาอาการจากโรคมะเร็งเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
อาการข้างเคียงจากการให้ยาเคมีบำบัด
ระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการข้างเคียงเช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เยื่อบุช่องปากอักเสบ เยื่อบุหลอดลมอักเสบ ท้องผูก ท้องเสีย
ระบบไขกระดูก เช่น ภูมิต้านทานโรคต่ำ โลหิตจาง ภาวะเลือดออกง่าย
ผิวหนัง ผม และขน เช่น ผิวหนังเเห้งและคัน ผมและขนหลุดร่วง
ปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อ ยาเคมีบำบัดชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดบางกลุ่มมีผลต่อเนื้อเยื่อรุนแรงทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดดำ ทำให้เกิดการตายของเนื้อเยื่อได้ถ้ามีการรั่วซึมของยาออกนอกเส้นเลือด
ระบบสืบพันธุ์ ในเพศชายอาจทำให้จำนวนเชื้ออสุจิลดลงและมีโอกาสเป็นหมันได้ชั่วคราว
ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชาปลายมือปลายเท้า สูญเสียการทรงตัว
ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวขณะรักษาด้วยยาเคมีบำบัด วิธีการป้องกันและการจัดการกับอาการข้างเคียง
คำแนะนำระหว่างการให้ยาเคมีบำบัด
1.ถ้ารู้สึกมีไข้ไม่สบายควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนให้ยาเคมีบำบัดทุกครั้ง
2.ระวังไม่ให้ตำแหน่งที่แทงเข็มฉีดยาเปียกชื้นและระวังไม่ให้สายน้ำเกลือมีการหัก พับ งอหรือดึงรั้ง
3.เมื่อมีอาการผิดปกติระหว่างให้ยา เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกใจสั่น หน้ามืด ตาพร่ามัว ปวดแสบบริเวณที่แทงเข็มให้รีบแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทันที
4.ยาเคมีบำบัดบางชนิดทำให้การทำงานของไตเสื่อมลงผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะไตวายได้ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้วหรือประมาณ 2 ลิตรในวันที่ให้ยาเคมีบำบัดและหลังให้ยาเคมีบำบัด 1 วันเพื่อลดความเสี่ยง
4.เปิดโอกาสให้ผู้ป่ววยได้ซักถามข้อสงสัยต่างๆ
เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้ป่วยสามารถบอกวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อได้รับยาเคมีบำบัดได้ 3 ใน 4 ข้อ