Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดการเรียนรู้สําหรับผู้เรียนในยุค thailand 4.0 - Coggle Diagram
การจัดการเรียนรู้สําหรับผู้เรียนในยุค thailand 4.0
1.การเตรียมหลักสูตร
ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์และใช้สถานการณ์ปัญหา เป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem Base Learning) และใช้การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
เป้าหมายหลักเพื่อผลผลิตโดยครูต้องฝึกให้ ผู้เรียนใช้ทักษะการคิดมากกว่าฟังครูอธิบาย
การจัดการเรียนรู้ลักษณะเหล่านี้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือ กระทำด้วยตนเอง ให้ผู้เรียนเลือกเรียนและทำกิจกรรมการเรียนรู้ตามความถนัดและความสนใจของตนโดยครูผู้สอนต้องเชื่อมั่นในตัวผู้เรียนว่ามีความสามารถในการแสวงหาความรู้ และสร้างองค์เรียนรู้ด้วยตนเองได้
หลักสูตรทุกระดับควรมีการสอนเรื่องความดีและคุณธรรมควบคู่ไปกับการสอนเรื่องขององค์ ความรู้ โดยเฉพาะครูผู้สอนและพ่อแม่ควรเริ่มสั่งสอนและปลูกฝังด้านคุณธรรมให้กับเด็กตั้งแต่การศึกษาในระดับ ปฐมวัย ให้เด็กรู้จักแยกแยะความดีกับความชั่ว ให้รู้จักแบ่งปัน มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีความละอายหรือเกรง กลัวต่อบาป เพราะคุณธรรมเหล่านี้เป็นพื้นฐานสาคัญของการพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
2.บทบาทของครูผู้สอนในยุคThailand 4.0
บทบาทสำคัญของครูผู้สอนในยุค 4.0 คือ ครูมีหน้าที่วางแผนการ จัดการเรียนรู้ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และเตรียมสื่ออุปกรณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยเเละเนื้อหาที่เรียน
ครูผู้สอนควรกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจในการเรียนรู้เเละเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ควรมีลักษณะที่เอื้อต่อการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้ลงมือปฏิบัติ รู้วิธีแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ จนทำให้ผู้เรียนสามารถหาองค์ความรู้ที่มีอยู่มา บูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้างผลผลิตหรือนวัตกรรมต่าง ๆ ขึ้นมาได้
เช่น ครูผู้สอนต้องฝึกให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านการทาโครงการ/โครงงานที่มี การสรุปผลการศึกษาค้นคว้าในรูปแบบการจัดสัมมนา การเสวนา และการจัดนิทรรศการ
มีการสร้างคนหรือผู้เรียน ให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 ครูควรเป็นผู้ที่มีบทบาทในการหล่อหลอม ให้เกิดทักษะที่สำคัญแก่ผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ครูผู้สอนจึงมีหน้าที่เป็น ผู้อานวยความสะดวกในการเรียนรู้
3.ทักษะที่สำคัญสำหรับผู้เรียนในยุคThailand 4.0
3.6 ทักษะความคิดสร้างสรรค์ 7(creative thinking skills)การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับผู้เรียน ครูผู้สอนควรจัดการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกคิดจินตนาการ ได้ลงมือสร้างสรรค์ผลงานตามที่คิดไว้
3.7 ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal Relationship Skills) การสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลาและมีความสำคัญในการดำเนินชีวิตทั้งในระดับส่วนตัวและส่วนรวม สัมพันธภาพระหว่างบุคคลจึงเป็นการสร้างพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสม เป็นทักษะทางสังคมที่สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นได้ ในบริบททางการศึกษา
3.4 ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking Skills) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นความสามารถทางการคิดที่ช่วยให้บุคคลไตร่ตรอง พิจารณา ประเมินข้อมูลและสิ่งต่าง ๆอย่างรอบด้าน
3.8 ทักษะด้านภาษาอังกฤษ (English Skills)
ทักษะภาษาอังกฤษเป็นหัวใจสำคัญในการสื่อสาร ดังนั้นครูผู้สอนควรเน้นการสนทนาโต้ตอบมากกว่าการสอนไวยากรณ์
3.3 ทักษะการคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking Skills) ครูผู้สอนต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคิด วิเคราะห์ให้ดีเสียก่อน หลังจากนั้นจึงค่อย ๆ สอดแทรกหรือบูรณาการการคิดวิเคราะห์เข้าไปในกระบวนการ จัดการเรียนรู้ พัฒนาการคิดวิเคราะห์ให้แก่ผู้เรียน
3.9 ทักษะด้านคณิตศาสตร์ (Mathematics Skills)
ความสามารถทางคณิตศาสตร์เป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการสร้างองค์ความรู้ การเรียนคณิตศษสตร์รู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียดเกินไปจะทำให้สามารถเรียนคณิตศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เน้นกระบวนการสอนเเบบใช้เหตุการณ์จำลอง
3.2 ทักษะการใช้ Internet ต้องสอนให้ผู้เรียนรู้จักแบ่งเวลาในการใช้ Internet ให้เหมาะสม โดยเฉพาะ เวลาที่ใช้ internet เพื่อศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลควรมีระยะเวลายาวนานกว่าเพื่อความบันเทิง
3.10 ทักษะด้านจิตสาธารณะ(Public Mind Skills) ครูผู้สอนควรสร้างจิตสาธารณะให้เกิดแก่ผู้เรียนให้ตระหนักถึงหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อสาธารณะมากกว่าตนเอง นั่นคือ การรู้จักการให้มากกว่าการรับ ยึดมั่นทั้งในด้านคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนร่วมมือในการแก้ปัญหาต่างๆ ในชุมชนหรือสังคม เเละโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย
3.1 ทักษะการคิดเชิงบริหาร ทักษะการคิดเชิงบริหารซึ่งเป็นทักษะทางสมองที่เด็กใช้ควบคุมอารมณ์ ความคิด และการกระทากิจกรรมต่าง ๆ เพื่อทำกับตนเองให้สามารถ ทางานจนประสบความสาเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้