Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิทย์ ป5 หน่วย 8 ปรากฎการณ์ธรรมชาติ - Coggle Diagram
วิทย์ ป5 หน่วย 8 ปรากฎการณ์ธรรมชาติ
1.การหมุนเวียนของน้ำ
วัฎจักรน้ำ เป็นการหมุนเวียนของน้ำที่มีแบบรูปซ้ำเดิม และต่อเนื่องระหว่างน้ำในบรรยากาศ น้ำผิวดิน และน้ำใต้ดิน โดยพฤติกรรมการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ส่งผลต่อวัฎจักรน้ำ
2.แบบจำลองวัฎจักรของน้ำ
วัฎจักรน้ำเกิดขึ้นได้โดย วัฏจักรน้ำเกิดจากการกลายเป็นไอ และการควบแน่นของน้ำ
การหมุนเวียนของน้ำในวัฎจักรน้ำเกิดขึ้นโดย น้ำเมื่อได้รับความร้อนจะกลายเป็นไอน้ำในอากาศ และเมื่อไอน้ำได้รับความเย็นจากอากาศก็จะรวมตัวกันกลายเป็นหยดน้ำ ตกกลับลงมาหมุนเวียนเช่นนี้เสมอ
3.ศึกษาการเกิดเมฆ
ไอน้ำในอากาศจะควบแน่นเป็นละอองน้ำเล็กๆ โดยมีละอองลอย เช่น เกลือ ฝุ่นละออง ละอองเรณูของดอกไม้ เป็นอนุภาคแกนกลาง เมื่อละอองน้ำจำนวนมากเกาะกลุ่มรวมกันลอยอยู่สูงจากพื้นดินมากเรียกว่า เมฆ แต่ละอองน้ำที่เกาะกลุ่มรวมกันอยู่ใกล้พื้นดิน เรียกว่า หมอก ส่วนไอน้ำที่ควบแน่นเป็นละอองน้ำเกาะอยู่บนผิววัตถุใกล้พื้นดิน เรียกว่า น้ำค้าง ถ้าอุณหภูมิใกล้พื้นดินต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง น้ำค้างก็จะกลายเป็นน้ำค้างแข็ง
การเกิดเมฆ หมอก น้ำค้าง และน้ำค้างแข็ง มีทั้งเหมือนและแตกต่างกันดังนี้
เมฆ เกิดจากไอน้ำในอากาศควบแน่นเป็นละอองน้ำเล็กๆ โดยมีละอองลอย เช่นเกลือ ฝุ่นละออง ละอองเรณูของดอกไม้ เป็นอนุภาคแกนกลาง เมื่อละอองน้ำจำนวนมากเกาะกลุ่มรวมกันลอยอยูสูงจากพื้นดินมาก
หมอก เกิดจากไอน้ำในอากาศควบแน่นเป็นละอองน้ำเล็กๆ จำนวนมาก เกาะกลุ่มลอยอยู่ในระดับใกล้พื้นดิน ลอยอยู่ไล่เลี่ยกับพื้นโลก หมอกมักเกิดในฤดูหนาว
น้ำค้าง เกิดจากไอน้ำที่ควบแน่นเป็นละอองน้ำที่เกาะบนใบไม้ ใบหญ้า หรือสิ่งต่างๆ บนพื้นดิน ซึ่งอยู่กลางแจ้งในตอนเช้า
น้ำค้างแข็ง เกิดจากไอน้ำที่ควบแน่นเป็นละอองน้ำแล้วอุณหภูมิใกล้พื้นดินต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง น้ำค้างก็จะกลายเป็นน้ำค้างแข็ง
เหตุที่เกิดหมอกในฤดูหนาว เพราะฤดูหนาวอุณหภูมิต่ำ ไอน้ำกระทบกับความเย็นของอากาศสามารถกลั่นตัวเป็นละอองน้ำเล็กๆ ได้
การเกิดเมฆ หมอก น้ำค้าง และน้ำค้างแข็ง เป็นการหมุนเวียนของวัฎจักรน้ำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฎจักรน้ำ โดยมีสิ่งที่เหมือนกัน คือ ทั้งหมดเกิดจากไอน้ำในอากาศควบแน่นเป็นละอองน้ำเล็กๆ
4.สังเกตเมฆบนท้องฟ้า
เมฆ เกิดจากไอน้ำในอากาศลอยตัวสูงขึ้นไปกระทบกับอากาศเย็นเบื้องสูงจึงกลั่นตัวเป็นละอองน้ำเล็กๆ รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน มีน้ำหนักเบา แบ่งได้ 4 กลุ่ม คือ
1.เซอร์รัส เมฆในระดับความสุง 6,000 เมตร ลักษณะคล้ายขนนกหรือเกลียวควัน
2.คิวมูโลนิมบัส มีขนาดใหญ่เป็นแผ่นหนา สีดำมืด เต็มไปด้วยหยดน้ำที่อัดแน่น บางทีเรียกว่าเมฆฝน
3.คิวมูลัส ลักษณะเป็นเมฆก้อนกลมๆ ที่มีฐานค่อนข้างราบ มักเห็นในวันที่อากาศแห้งหรือแดดจัด
4.สเตรตัส ก่อตัวเป็นชั้นหรือเป็นแผ่นพาดบนท้องฟ้า พบในระดับความสุงต่ำกว่า 500 เมตร มักก่อตัวให้เกิดฝนตกปรอยๆ หรือละอองน้ำ
การสังเกตเมฆเป็นวิธีหนึ่งที่นำมาใช้ในการพยากรณ์ ลม ฟ้า อากาศ และการวางแผนในการบิน
เมฆบนท้องฟ้าในวันที่ท้องฟ้าสดใส กับวันฝนใกล้จะตก มีลักษณะต่างกัน เมฆบนท้องฟ้าในวันท้องฟ้าสดใสมีลักษณะเป็นเมฆก้อน กลมๆ ที่มีฐานค่อนข้างราบ ส่วนวันฝนใกล้ตก เมฆจะมีขนาดใหญ่เป็นแผ่นหนา สีดำมืด เต็มไปด้วยหยดน้ำที่อัดแน่น บางทีเรียกว่า เมฆฝน
5.ศึกษาการเกิดฝน หิมะ และลูกเห็บ
ฝน หิมะ ลูกเห็บ เป็นหยาดน้ำฟ้าซึ่งเป็นน้ำที่มีสถานะต่างๆ ที่ตกจากฟ้าถึงพื้นดิน ฝนเกิดจากละอองน้ำในเมฆที่รวมตัวกันจนอากาศไม่สามารถพยุงไว้ได้ จึงตกลงมา หิมะเกิดจากไอน้ำในอากาศระเหิดกลับเป็นผลึกน้ำแข็ง รวมตัวกันจนมีน้ำหนักมากขึ้นจนเกินกว่าอากาศจะพยุงไว้ จึงตกลงมา ลูกเห็บเกิดจากหยดน้ำที่เปลี่ยนสถานะเป็นน้ำแข็ง แล้วถูกพายุพัดวนซ้ำไปซ้ำมาในเมฆฝนฟ้าคะนองที่มีขนาดใหญ่และอยู่ในระดับสูงจนเป็นก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่ แล้วตกลงมา
ฝนเกิดขึ้นได้โดยเกิดจากน้ำกลายเป็นไอน้ำ แล้วควบแน่นเป็นเมฆ และเมื่อละอองน้ำในเมฆที่รวมตัวกันจนอากาศไม่สามารถพยุงไว้ได้จึงตกลงมาเป็นฝน
หิมะเกิดขึ้นได้โดยเกิดจากไอน้ำในอากาศระเหิดกลับเป็นผลึกน้ำแข็ง รวมตัวกันจนมีน้ำหนักมากขึ้นจนเกินกว่าอากาศจะพยุงไว้จึงตกลงมาเป็นรูปผลึกน้ำแข็ง
ลูกเห็บเกิดขึ้นได้โดยเกิดจากหยดน้ำที่เปลี่ยนสถานะเป็นน้ำแข็งแล้วถูกพายุพัดวนซ้ำไปซ้ำมาในเมฆฝนฟ้าคะนองที่มีขนาดใหญ่และอยู่ในระดับสูงจนเป็นก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่ขึ้นแล้วตกลงมาในรูปก้อนน้ำแข็ง
การเกิดฝน หิมะ และลูกเห็บ เหมือนหรือแตกต่างกันดังนี้ ฝน หิมะ และลูกเห็บ เป็นหยาดน้ำฟ้าเหมือนกัน แตกต่างกันที่ฝนมีลักษณะเป็นหยดน้ำ หิมะ มีลักษณะเป็นผลึกน้ำแข็ง และลูกเห็บ มีลักษณะเป็นก้อนน้ำแข็ง
6.การเกิดลูกเห็บ