Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิทย์ ป.5 หน่วย 6 ดาว - Coggle Diagram
วิทย์ ป.5 หน่วย 6 ดาว
จัดกลุ่มดาวบนท้องฟ้า
ดาวฤกษ์เป็นแหล่งกำเนิดแสงจึงสามารถมองเห็นได้ ส่วนดาวเคราะห์ไม่ใช่แหล่งกำเนิดแสง แต่สามารถมองเห็นได้ เนื่องจากแสงจากดวงอาทิตย์ตกกระทบดาวเคราะห์แล้วสะท้อนเข้าสู่ตา
-
-
-
-
พื้นที่เหมาะกับการดูดาวต้องมีลักษณะเป็น ชานเมืองห่างไกลจากแสงรบกวนในเมือง พื้นที่โล่งกว้างมองเห็นเส้นขอบฟ้าชัดเจน
ดาวที่มองเหมือนกะพริบแสง เรียกว่า ดาวฤกษ์ เป็นดาวที่มีแสงสว่างในตัวเองและอยู่ประจำที่ เช่น ดวงอาทิตย์ ดาวเหนือ
ดาวที่มองเห็นเป็นแสงสว่างนิ่ง เรียกว่า ดาวเคราะห์ เป็นดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเองและไม่อยู่ประจำที่ เช่น โลก ดาวศุกร์ ดาวเสาร์
ดูดาว
กลุ่มดาวฤกษ์ต่างๆ ที่ปรากฏในท้องฟ้าแต่ละกลุ่มมีดาวฤกษ์แต่ละดวงเรียงกันที่ตำแหน่งคงที่ และมีเส้นทางการขึ้นและตกตามเส้นทางเดิมทุกคืน ซึ่งจะปรากฏตำแหน่งเดิม การสังเกตุตำแหน่งและการขึ้นและตกของดาวฤกษ์และกลุ่มดาวฤกษ์ สามารถทำได้โดยใช้แผ่นที่ดาว ซึ่งระบุมุมทิศและมุมเงยที่กลุ่มดาวนั้นปรากฏ ผู้สังเกตุสามารถใช้มือในการประมาณค่าของมุมเงย เมื่อสังเกตดาวในท้องฟ้า
เราสามารถสังเกตดาว กลุ่มดาวและกลุ่มดาวจักรราศีได้ในเวลากลางคืนที่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ปราศจากแสงไฟรบกวน บริเวณโล่งกว้าง และมีแผนที่ดาว
ฤดูกฝน เป็นฤดูกาลที่ไม่เหมาะสมกับการดูดาว เพราะมีเมฆมากจึงบดบังท้องฟ้า และไม่สะดวกกับการทำกิจกรรมในที่โล่งแจ้ง
-
การดูแผนที่ดาวแตกต่างจากการอ่านหนังสือ คือการดูแผนที่ดาวต้องนอนแหงนหน้าดู แต่การอ่านหน้งสือเป็นการก้มหน้าอ่าน
หากนอนหงายหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เราจะเห็นกลุ่มดาวเคลื่อนที่จากปลายเท้าขึ้นมาตรงหน้าและข้ามศีรษะไปทางด้านหลัง
ในขณะดูดาวจำเป็นต้องหมุนแผ่นขอบฟ้าให้เวลาตรงกับความจริงเสมอ เพราะโลกหมุนรอบตัวเองตลอดเวลา ทำให้เรามองเห็นกลุ่ม ดาวเคลื่อนที่ตลอดเวลาเช่นกัน
หากกำหนดเส้นศูนย์สูตรฟ้าและเส้นสุริยวิถีคลาดเคลื่อนจะส่งผลต่อการดูดาว โดยจะทำให้การค้นหากลุ่มดาวและกลุ่มดาวจักรราศียากขึ้น หรือทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการชี้ตำแหน่งกลุ่มดาว
ตำแหน่งและเส้นทาง
การหมุนรอบตัวเองของโลกไปทางทิศตะวันออก ทำให้เรามองเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกในตอนเช้า และค่อยๆ เคลื่อนที่เป็นรูปครึ่งวงกลมบนท้องฟ้าจนตกลงเส้นขอบฟ้าทางทิศตะวันตกในตอนเย็น เรียกว่า เส้นทางการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์
การมองเห็นดวงจันทร์และดาวต่างๆ บนท้องฟ้าตอนกลางคืน ซึ่งมีเส้นทางเดินของดาว เคลื่อนที่จากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกเช่นเดียวกับเส้นทางการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์
การขึ้นและตกของดวงจันทร์และดาวมีการขึ้นและตกเหมือนกับดวงอาทิตย์ คือ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาว ขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตก
ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวต่างๆ บนท้องฟ้า ขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตก เพราะโลกหมุนรอบตัวเองในทิศทางเดิมตลอดเวลา
ในการเริ่มต้นสังเกตท้องฟ้านั้น เราจะต้องรู้จักตำแหน่งของทิศทั้งสี่เสียก่อน หากไม่มีเข็มทิศเราสามารถใช้กลุ่มดาวในการบอกทิศได้ การสังเกตท้องฟ้าเหนือเส้นศูนย์สูตรมีจุดสังเกตอยู่ที่ขั้วฟ้าเหนือ ดาวที่ปรากฎสว่างอยู่ในบริเวณนั้น คือ ดาวเหนือ
เนื่องจากโลกของเราเป็นทรงกลม มนุษย์บนโลกจึงมองเห็นดาวเหนือปรากฎบนท้องฟ้าในตำแหน่งที่แตกต่างกัน เนื่องจากดาวเหนือเป็นดาวที่อยู่กับที่ นักดาราศาสตร์จึงนิยมใช้ดาวเหนือเป็นหลักในการจัดทำแผนที่ดาวของแต่ละประเทศหรือสังเกตกลุ่มดาวอื่นๆ บนท้องฟ้า
สร้างแบบจำลองกลุ่มดาว
การมองเห็นกลุ่มดาวฤกษ์มีรูปร่างต่างๆ เกิดจากจินตนาการของผู้สังเกต กลุ่มดาวฤกษ์ต่างๆ ที่ปรากฎในท้องฟ้าแต่ละกลุ่มมีดาวฤกษ์แต่ละดวงเรียงกันที่ตำแหน่งคงที่ และมีเส้นทางการขึ้นและตกตามเส้นทางเดิมทุกคืน ซึ่งจะปรากฎตำแหน่งเดิม
เหตุที่แต่ละพื้นที่ของโลกเรียกชื่อกลุ่มดาวแตกต่างกัน เพราะความเชื่อ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของคนในแต่ละประเทศ
มนุษย์แบ่งดาวออกเป็นกลุ่มๆ และวาดภาพจินตนาการเป็นรูปคน สัตว์ สิ่งของ ตามความเชื่อและวิถีชีวิตของวัฒนธรรมแต่ละพื้นที่ ดังนั้นในแต่ละพื้นที่ของโลกจึงเรียกชื่อกลุ่มดาวแตกต่างกัน
การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์เป็นเวลา 1 ปี ทำให้แต่ละเดือนที่เราสังเกตท้องฟ้าตอนกลางคืนพบกลุ่มดาวฤกษ์ต่างๆ บนท้องฟ้าแตกต่างกัน ราวกับว่าดวงอาทิตย์ได้เคลื่อนที่ผ่านแต่ละกลุ่มดาวไปในแต่ละเดือน นักดาราศาสตร์ในอดีตจึงกำหนดกลุ่มดาวที่สังเกตเห็นได้ในแต่ละเดือนเป็น 12 กลุ่ม ที่เรียกว่า กลุ่มดาวจักรราศี ซึ่งมีเส้นทางเดินของดาวเหมือนกับเส้นทางการขึ้นตกของดวงอาทิตย์และมีชื่อสัมพันธ์กับชื่อเดือนที่กลุ่มดาวนั้นปรากฏในตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์ตกบริเวณเส้นขอบฟ้าทางทิศตะวันตก เช่น ในเดือนพฤศจิกายน กลุ่มดาวแมงป่องจะเริ่มปรากฏให้เห็นทางทิศตะวันตก ขณะที่ดวงอาทิตย์กำลังลับขอบฟ้าไป กลุ่มดาวแมงป่องถูกกำหนดให้ราศีพิจิก ซึ่งเป็นราศีประจำเดือนพฤศจิกยน
แผนที่ดาว
แผนที่ดาว คือ แผนที่ดาวบนท้องฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สังเกตและศึกษาดวงดาวบนท้องฟ้า โดยแผนที่ดาวสำหรับประเทศไทย จะแบ่งครึ่งทรงกลมท้องฟ้าเป็น 2 ส่วน คือ แผนที่ดาวทิศเหนือและแผนที่ดาวทิศใต้
ถ้าต้องการบอกตำแหน่งดาว กลุ่มดาว กลุ่มดาวจักรราศี และวัตถุต่างๆ บนท้องฟ้า ทำได้โดยใช้พิกัดขอบฟ้า ซึ่งเป็นระบบในการวัดตำแหน่งของวัสดุต่างๆ บนท้องฟ้า โดยถือเอาตัวของผู้สังเกตเป็นศูนย์กลางของทรงกลมท้องฟ้า และมีการกำหนดจุด และเส้นสมมุติบนท้องฟ้า
-
-