Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สมดุลน้ำ อิเล็กโทรไลท์ และกรดด่างในร่างกาย (Water and acid base balance),…
สมดุลน้ำ อิเล็กโทรไลท์ และกรดด่างในร่างกาย
(Water and acid base balance)
น้ำในร่างกายชนิดต่าง ๆ และการหาปริมาตรของน้ำเหล่านั้น
ร่างกายประกอบด้วยน้ำประมาณ 55 - 60 ของน้ำหนักตัว ซึ่งความแตกต่างนี้ขึ้นอยู่กับ จำนวนไขมัน (adipose tissue) ที่มีอยู่
แรงดันออสโมติก
(osmotic pressure)
น้ำนอกเซลล์ (extracellular fluid หรือ ECF) มีอยู่ประมาณ 20 % ของน้ำหนัก ร่างกาย หรือ 1/3 ของน้ำในร่างกาย (total body water)
Blood plasma
มีอยู่ประมาณ 5 % ของน้ำหนักตัว ทำหน้าที่คอยแจกจ่ายสารอาหาร และรับเอาของเสียจาก compartment อื่น ๆ
Interstitial fluid
มีอยู่ประมาณ 15 % ของน้ำหนักตัว มีองค์ประกอบใกล้เคียงกับพลาสมามาก เพราะว่ามันสามารถติดต่อแลกเปลี่ยน สารละลายกับพลาสมาได้ที่บริเวณ capillary bed
Fluid of dense connective tissue
มีอยู่ ประมาณ 7.5 % ได้แก่ ของเหลวในเอ็น (tendon) กระดูกอ่อน (cartilage) และกระดูก (bone)
Transcellular fuid
เป็นน้ำนอกเซลล์ซึ่งแยกออกมาอยู่ต่างหากจาก extracellular fluid ชนิดอื่น ๆ ได้แก่ ของเหลวที่อยู่ในลูกตา (ocular fluid) ในไขสันหลังและสมอง (cerebrospinal fluid) โพรงช่องท้อง (peritoneal cavities) มีอยู่ประมาณ 1.5 % ของน้ำหนักตัว
Extracellular Fluid Volume (ECFV)
การหา ECFV
นั้นทำได้ค่อนข้างยาก เพราะสารที่ใช้ส่วนมาก สามารถผ่านไปยัง cerebrospinal fluid (CSF) ได้ช้ามาก
เพราะว่ามี blood - brain barier เป็นตัวกั้น
สารที่นิยมใช้ในการหา ECFV ก็คือ inulin, manital, sucrose และนอกจากนี้ยังนิยมใช้ adioactive โซเดียม และคลอไรด์ ซึ่งเป็นอิออน (ion) ที่ส่วนมากจะอยู่ภายนอกเซลล์
2.น้ำในเซลล์ (intracellular fluid หรือ ICF) มีอยู่ประมาณ 40 % ของน้ำหนัก ร่างกาย หรือ 2/3 ของน้ำในร่างกาย
Intracellular Fluid Volume (ICFV)
ไม่สามารถวัดหาได้โดยตรง เช่นกัน แต่คำนวณได้จาก Total body water ลบด้วย ECFV
(Total body water - ECFV)
การแลกเปลี่ยนของน้ำในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
(Fluid Exchange Between Body Fluid Compartments)
Hydrostatic pressure เป็นแรงที่เกิดมาจากการปั้มเลือดของหัวใจ จะเป็นแรงผลักดัน ให้น้ำออกจากเส้นเลือด
Osmotic pressure แรงดันนี้เกิดเนื่องมาจากโปรตีน (oncotic pressure) หรือ solute (osmotic pressure) จะเป็นแรงที่ดึงน้ำไว้ในเส้นเลือด
ซึ่งแรงเหล่านี้เป็นตัวการสำคัญที่กำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ของน้ำระหว่าง ECF และ ICF เนื่องจากผนังเซลล์ยอมให้น้ำผ่นได้ง่าย ดังนั้นในสภาวะปกติจึงถือได้ว่า ICF และ ECF อยู่ในสภาวะที่ สมดุลกัน เรียกว่า "osmotic equilibrium"
การบวมน้ำ (Edema)
สภาวะที่มีน้ำมาคั่งอยู่ใน interstitial fuid ซึ่งปกติแล้วจะต้องมีน้ำส่วนเกิน มาคั่งอยู่ใน interstial fuid มากถึง 2 - 3 ลิตร จึงจะแสดงอาการออกมาได้ชัด
สภาวะการบวมน้ำจะเกิดขึ้นหากมีการเปลี่ยนแปลงของ Starling force ทำให้มีการกรองของของเหลวออกมาจากเส้นเลือดมากกว่าการนำกลับเข้าระบบไหลเวียน
สาเหตุ
แรงดันใน capillaries เพิ่มขึ้น เช่น ในกรณีความดันโลหิตสูง
ปริมาณของโปรตีนในพลาสมาลดลง เช่น คนที่เป็นโรคไตที่เรียกว่า nephrosis
การอุดตันของท่อน้ำเหลือง
ผนังของหลอดเลือดฝอยผิดปกติ ยอมให้สารขนาดใหญ่ผ่านออกไปได้ เช่น โปรตีน
แหล่งน้ำที่ร่างกายได้รับและสูญเสียไป (Sources of Water Gain and Loss)
การได้รับน้ำ
น้ำดื่ม 650 กรัม
อาหาร 750 กรัม
การเผาผลาญอาหาร 350 กรัม
รวมทั้งหมด 1750 กรัม
การเสียน้ำ
ปัสสาวะ 700 กรัม
ผิวหนัง (เหงื่อ) 500 กรัม
อุจจาระ 150 กรัม
การหายใจ 400 กรัม
รวมทั้งหมด 1750 กรัม
การควบคุมความเข้มข้น (osmolarity) ของน้ำในร่างกาย
Antidiuretic hormone (ADH)
กลไกการทำงานของ ADH
เกิดขึ้นโดยผ่านทางตัวส่งสัญญาณที่สอง (secondary messenger) คือ cyclic AMP (CAMP) การจับของ ADH กับ receptor ที่ผนังด้านนอกของเซลล์หลอดไต จะมีผลกระตุ้นการ ทำงานของเอนชัยม์ adenylase cyclase ให้เปลี่ยน ATP ไปเป็น CAMP และ CAMP นี้ จึงไปมีผลทำให้ เกิดการสร้างโปรตีนที่เรียกว่า protein kinase อันจะทำให้เกิดมีการนำ vesicles ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น water channels มาสอดแทรกที่ผนังเซลล์ด้านในหลอดไต เพื่อให้น้ำไหลผ่านเข้าเชลล์ได้มากขึ้น
ผลของ ADH ต่อการทำงานของไต
กระตุ้นการดูดกลับของโซเดียมและคลอไรด์ ในส่วนของ thick ascending limb ของ loop of Henle โดยการเพิ่มการทำงานของตัวพาที่ใช้ในการดูดกลับ Nat /CI /K ที่เรียงตัวอยู่ที่ผนัง เชลล์หลอดไตด้านใน (lumen) ซึ่งก็มีส่วนช่วยทำให้เนื้อไต ในส่วนของ medulla มีความเข้มข้นมากขึ้น อันเป็นการช่วยทำให้ไตสามารถทำให้ปัสสาวะเข้มข้นขึ้นได้
ทำให้ผนังของหลอดไตส่วนปลายและหลอดไตรวม ยอมให้น้ำและยูเรียผ่านได้ง่ายขึ้น แต่มีผลต่อยูเรียเฉพาะที่หลอดไตรวมในส่วนของ medulla ชั้นในเท่านั้น (inner medulla)
การกระหายน้ำ (Thirst)
ตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดการหลั่งของ ADH ก็เหมือนกับตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิด การกระหายน้ำ ซึ่งตัวสำคัญก็คือ การเปลี่ยนแปลงของความเข้มข้นของพลาสมา เช่น การที่ความเข้มข้น ของพลาสมาเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย คือประมาณ 2-3 % ก็จะมีผลต่อการกระหายน้ำอย่างมาก ในขณะที่
ในขณะที่ ความดันเลือดและปริมาตรของน้ำในร่างกายต้องเปลี่ยนไปมากถึง 7 - 10 % จึงทำให้เกิดการตอบสนอง ในขนาดพอๆ กัน ระบบประสาทส่วนกลางเมื่อได้รับสัญญาณจากตัวรับรู้ความเข้มข้น และจาก atrial baroreceptor ก็จะกระตุ้นศูนย์ที่ทำให้เกิดการกระหายน้ำที่อยู่ใน Hypothalamus ทำให้รู้สึกกระหาย น้ำ นอกจากนี้ angiotensin II ก็มีผลโดยตรงต่อระบบประสาทส่วนกลางในการกระตุ้นให้รู้สึกกระหายน้ำ
การควบคุมปริมาตรของน้ำในร่างกาย (Control of Extracellular Fluid Volume)
Effective Circulating Volume (ECV)
คือ ปริมาตรของของเหลวที่อยู่ในระบบไหลเวียน (หรือในเส้นเลือด) ที่สามารถจะไปเลี้ยง เนื้อเยื่อต่างๆ ได้อย่างเพียงพอ ในคนปกติ ECV จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันหรือขนานไป กับปริมาตรของ ECF (ECV c ECF)
ตัวรับรู้การเปลี่ยนแปลงปริมาตร
(Volume Receptors)
มีอยู่ตามเส้นเลือด (vascular tree) เป็นตัวรับรู้ซึ่งตอบสนองต่อ การที่ผนังเส้นเลือดถูกยึดออก เรียกว่าเป็น "baroreceptor"
สัญญาณทางระบบประสาท :
ECV ลดลง ก็จะมีผลกระตุ้น renal sympathetic nerve activity ให้เพิ่มขึ้น
สัญญาณทางระบบฮอร์โมน
Renin
เป็นน้ำย่อยโปรตีน tic enzyme) ซึ่งจะไปเปลี่ยน polypeptide angiotensinogen ในพลาสมาซึ่งสร้างจากตับ ให้กลายเป็น angiotensin | ต่อจากนั้น angiotensin I จะถูกเปลี่ยนเป็น angiotensin II โดย converting enzyme ที่พบมากในปอด
angiotensin I
1) มีผลกระตุ้นการหลั่ง aldosterone จาก Adrenal gland
2) กระตุ้นการหลั่งของ ADH จาก Posterior Pituitary gland
3.มีคุณสมบัติทำให้เส้นเลือดในระบบไหลเวียนและเส้นเลือดที่มาเลี้ยงไตหดตัว จึงทำให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้น
4.กระตุ้นการหลั่ง catecholamines ซึ่งจะไปมีผลเพิ่มการดูดกลับของโซเดียมคลอไรด์ ที่หลอดไตส่วนต้น
Aldosterone
1.ทำหน้าที่เป็นช่องเฉพาะให้โซเดียมผ่าน
(Na channels) ที่ผนังเซลล์
2.เป็นน้ำย่อย ซึ่งจะไปกระตุ้นการสร้าง ATP ให้มากขึ้น
3.เป็น Na- K ATPaSE ซึ่งช่วยนำโซเดียมออกจากเซลล์ ทางผนังเซลล์ด้าน basolateral
จำนวนของโซเดียมที่ถูกชับทิ้งในปีสสาวะ ก็ขึ้นอยู่กับ การกรองและการดูด กลับเท่านั้น ดังสมการต่อไปนี้
โซเดียมที่ถูกขับทิ้งมาในปัสสาวะ = โซเดียมที่ถูกกรอง - โชเดียมที่ถูกดูดกลับ
Atrial Natriuretic Peptide (ANP)
เซลล์ของหัวใจห้องบนช้าย สามารถสร้างและหลั่ง hormone ซึ่งประกอบด้วย amino acids 28 ตัว มีผลไปยับยั้งการดูดกลับของโซเดียมคลอไรด์ที่ไต
1.ANP ทำให้ afferent และ efferent arterioles ขยายตัว เป็นผลทำให้เลือด ที่มาเลี้ยงไตและอัตราการกรองเพิ่มขึ้น
ผลที่ตามมา คือ โซเดียมคลอไรด์ถูกกรองมากขึ้น
ANP มีผลไปยับยั้งการดูดกลับของโซเดียมคลอไรด์ที่หลอดไตรวมโดยตรง
ANP มีผลทำให้ aldosterone ในเลือดลดลง โดยจะไปยับยั้งการหลั่งของ aldosterone จากต่อมหมวกไตโดยตรง
4.ANP ยังมีผลไปขัดขวางการหลั่งของ ADH
ทำให้น้ำถูกขับทิ้งมากขึ้น
นางสาวชรินรัตน์ อุ้ยมาก รหัสนักศึกษา 64106301123
ห้อง 1B เลขที่ 51