Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Diabetic Ketoacidosis (DKA) ภาวะเลือดเป็นกรด - Coggle Diagram
Diabetic Ketoacidosis (DKA) ภาวะเลือดเป็นกรด
พยาธิสภาพ
การขาดฮอร์โมนอินซูลิน ทําให้เนื้อเยื่อของร่างกายไม่สามารถนํากลูโคสไปใช้เป็นพลังงานหรือสร้างเนื้อเยื่อได้ ร่างกายจึงเปลี่ยนไขมันในร่างกายไปเป็นกรดไขมันอิสระ (free fatty acid) ที่ตับ เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานแทน ซึ่งในที่สุดตับจะเปลี่ยนกรดไขมันอิสระเป็นสารคีโตน ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด ดังนั้น จึงเกิดภาวะเป็นกรดขึ้นในร่างกาย (metabolic acidosis)
การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนที่ตอบสนองต่อภาวะเครียด ได้แก่ กลูคากอน โกร์ทฮอร์โมน คอร์ติซอล
และแคติโคลามีน ทําให้มีการสร้างกลูโคสขึ้นใหม่ การใช้กลูโคสที่เนื้อเยื่อส่วนปลายลดลง ทําให้น้ำตาลในเลือดสูงมากขึ้น และกลูคากอนจะกระตุ้นให้เกิดกระบวนการสร้างสารคีโตน
สาเหตุ
เกิดจากการขาดอินซูลินร่วมกับมีฮอร์โมนที่ตอบสนองต่อภาวะเครียดมากขึ้น ได้แก่ กลูคากอน อิพิเนฟริน คอร์ติซอล และโกร์ทฮอร์โมน ทําให้อินซูลินออกฤทธิ์น้อยลง มักพบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ปัจจัยส่งเสริมที่ทําให้เกิดภาวะกรดคีโตนคั่งในร่างกาย คือ
การหยุดฉีดอินซูลินหรือฉีดในปริมาณไม่เพียงพอ
ภาวะที่ร่างกายต้องการอินซูลินมากขึ้นจากความเครียดทางร่างกายและจิตใจ เช่น การติดเชื้อ การได้รับบาดเจ็บ การผ่าตัด ความเครียดทางอารมณ์
อาการ/อาการแสดง
ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียมาก ซึมลงจนถึงระดับไมรู้สึกตัว จากภาวะร่างกายเป็นกรด เสียสมดุลของสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์ มีภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรงจนถึงระดับช็อค มีอาการตาลึกโบ๋ น้ำหนักลด อุณหภูมิในร่างกายต่ำ ผิวแห้ง ปากแห้ง เนื่องจากมีการถ่ายปัสสาวะออกไปมาก จากการขับน้ำตาลและสารคีโตนออกมาทางปัสสาวะทําให้เกิดภาวะออสโมติคไดยูรีสีส (osmotic diuresis) ร่างกายจึงสูญเสียน้ำออกมาทางปัสสาวะจํานวนมาก มีภาวะเป็นกรดในร่างกายทําให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องลมหายใจมีกลิ่นอะซิโตนซึ่งกลิ่นคล้ายผลไม้สุก หายใจหอบลึก (Kussmaul’s respiration) เพื่อปรับชดเชยภาวะเป็นกรดในร่างกาย โดยการหายใจหอบลึกเป็นการขับคาร์บอนไดออกไซด์ และขับอะซิโตนออกมาทางลมหายใจ ค่าความเป็นกรด (pH) ในเลือดลดลง ความเข้มข้นของไบคาร์บอเนต (HCO3) ในเลือดน้อยกว่า 15 มิลลิโมลต่อลิตร เกิดภาวะโซเดียมต่ำ โพแทสเซียมต่ำ ฟอสเฟตต่ำ จากการสูญเสียทางปัสสาวะ
การรักษา
แก้ไขให้ภาวะเมตาบอลิซึมที่ผิดปกติเข้าสู่ปกติโดยให้มีอัตราการตายหรือภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด ซึ่งหลักการส่วนใหญ่ คือ การให้สารน้ำอย่างเพียงพอ การให้อินซูลิน การให้โพแทสเซียมทดแทน การให้โซเดียมไบคาร์บอเนต การค้นหาและรักษาสาเหตุส่งเสริมที่ทําให้เกิดภาวะกรดคีโตนคั่ง ได้แก่ การติดเชื้อ การติดตามผลการรักษาโดย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การพยาบาล
การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะกรดคีโตนคั่งในร่างกายมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะวิกฤตกลับคืนสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด โดยให้ครอบคลุมทั้งสภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์และครอบครัว
ดูแลความสะอาดของร่างกาย ปาก ฟัน สิ่งแวดล้อม และความสุขสบายอื่น ๆ เนื่องจากผู้ป่วยอ่อนเพลีย
ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ การติดเชื้อบริเวณผิวหนังที่ให้สารน้ำ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและทางเดินหายใจ โดยให้การพยาบาลอย่างถูกเทคนิคและปราศจากเชื้อเฝ้าสังเกตอาการผิดปกติ
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งในกรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว และช่วยให้สมองและเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอโดยให้ออกซิเจน 3 – 5 ลิตรต่อนาที
ช่วยให้ผู้ป่วยและญาติลดความวิตกกังวล
การให้การบําบัดตามแผนการรักษา ได้แก่ การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดํา การให้อินซูลินการให้ยาต่าง ๆ
ประเมินความรู้ในการดูแลตนเอง และให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในการดูแลตนเองและให้ญาติมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย
การสังเกตและประเมินอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ได้แก่ ตรวจวัดสัญญาณชีพและประเมินระดับความรู้สึกตัว บันทึกจํานวนสารน้ำเข้าและออกจากร่างกาย ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ