Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การทำงานของไตและระบบทางเดินปัสสาวะ, นางสาวอภิญญา ทองมี เลขที่ 69B อ้างอิง…
การทำงานของไตและระบบทางเดินปัสสาวะ
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ระบบหัวใจและหลอดเลือดเป็นจุดตั้งต้นที่จะปั๊มเลือด เพื่อมาทำการฟอกที่ไต ในหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งประกอบด้วย เส้นเลือดฝอย และ ท่อไตขนาดเล็ก เราเรียกสิ่งนั้นว่า “หน่วยไต” (nephron)
หน่วยไต
ทำหน้าที่ในการกรองเลือด ปล่อยสารต่างๆจากเซลล์ รวมไปถึงการดูดกลับสารที่สำคัญมากมาย โดยกลไกนี้ควบคุมโดยฮอร์โมน และ ระบบประสาทอัตโนมัติ จนได้ของเหลวในขั้นตอนสุดท้ายที่มีสีเหลืองขึ้นมา ของเหลวนี้ไหลผ่าน ท่อไตเล็กๆในไตทั้งสองข้าง มาที่กรวยไต ผ่านท่อไตในแต่ละข้าง จนสุดท้ายมารวมกันที่ กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมีระบบประสาทที่ควบคุมอยู่ ซึ่งเราสามารถสั่งการให้เกิดการปัสสาวะได้ตามต้องการ
อวัยวะและหน้าที่ในการทำงาน
เส้นเลือดแดงของไต (Renal artery)
ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดเข้าสู่ไตทั้งสองข้าง
ไต (kidney)
รับเลือดจากเส้นเลือดแดง และ เข้าสู่กระบวนการฟอกเลือด โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ
เส้นเลือดของไต (Renal vessel) ทำหน้าที่ในการนำเลือดเข้า-ออกจากไต
หน่วยไต (Nephron) ทำหน้าที่ฟอกเลือด
กรวยไต (Renal pelvis)
ทำหน้าที่ เป็นตัวรับของเหลวที่ได้จากการฟอกเลือด
ท่อไต (Ureter)
มีสองข้าง ทำหน้าที่ลำเลียงของเหลวลงไปสู่กระเพาะปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะ (Urinary bladder)
ทำหน้าที่กักเก็บของเหลวเพื่อรอการระบาย
ท่อปัสสาวะ (Ureter)
ทำหน้าที่ในการเป็นช่องทางการระบายของเหลวสู่ภายนอก
หน่วยไต (Nephron)
เป็นหน่วยที่เล็กที่สุด ที่ทำหน้าที่ในการ “กรองเลือด” “ขับสารต่างๆ” “ดูดสารต่างๆกลับ”
ส่วนประกอบที่สำคัญสองอย่าง
เส้นเลือดฝอยขนาดเล็ก” และ “ท่อไต”
เมื่อเส้นเลือดแดงขาเข้า(Afferent arteriole) นำเลือดเข้าสู่ หน่วยไตบริเวณโกลเมอรูลัส(Glomerulus) และ ออกมาที่เส้นเลือดแดงขาออก(Efferent arteriole) ด้วย การตีบลงของเส้นเลือดขาออก ทำให้ความดันเส้นเลือดแดงในโกลเมอรูลัส(Glomerulus) เพิ่มขึ้น เป็นผลให้ส่วนประกอบของเลือดถูกดันออกจากเส้นเลือดไปอยู่ในท่อไตส่วนต้น
ของเหลวที่ผ่านการกรองนี้จะวิ่งไปตามท่อไตเล็กๆ และ ลงสู่กรวยไต เพื่อขับทิ้งไปตามทางเดินปัสสาวะ ในท่อไตนั้น จะมีการดูดซึมกลับสารบางอย่าง มีการดูดน้ำกลับ หรือแม้กระทั้ง ขับสารที่ไม่จำเป็นออกมาทิ้งในท่อไต
จะขึ้นอยู่กับระบบประสาทอัตโนมัติและฮอร์โมนอีกที
นางสาวอภิญญา ทองมี เลขที่ 69B
อ้างอิง
http://www.idoctorhouse.com/library/physiology-kub/