Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ - Coggle Diagram
พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์
รัชกาลที่ 8 : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ในช่วงรัชสมัยของพระองค์ อยู่ในช่วงภาวะสงคราม ทั้งสงครามอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา จึงทำให้โดยส่วนใหญ่แล้วพระองค์จะประทับอยู่ในต่างประเทศเพื่อทรงศึกษาเล่าเรียน โดยเสด็จนิวัติกลับประเทศไทยครั้งแรกหลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ขณะนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมพรรษาเพียง 13 พรรษา และครั้งที่ 2 ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2488 โดยในการเสด็จนิวัติประเทศไทยครั้งที่ 2 พระองค์ได้เสด็จฯ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาล
รัชกาลที่ 1 : พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
จลาจลในกรุงธนบุรีได้สำเร็จ
ตลอดช่วงรัชสมัยนอกจากจะทรงเป็นองค์ปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว พระราชกรณียกิจของพระองค์ยังถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นอย่างแท้จริง ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานีในปี พ.ศ. 2325 และทรงสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามขึ้นในปีเดียวกัน ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในหลาย ๆ ด้าน อาทิ การชำระพระไตรปิฎก และการบูรณะวัดวาอารามต่าง ๆ รวมทั้งนำพาชัยชนะแห่งสงครามเก้าทัพมาสู่สยามอีกด้วย
รัชกาลที่ 6 : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
หลังจากพิธีบรมราชาภิเษก พระองค์มีพระราชดำริที่จะพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ และด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์จึงได้ทรงวางแผนในการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านการศึกษา พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา และประกาศให้การศึกษาในระดับชั้นประถมเป็นการศึกษาภาคบังคับ และอีกหนึ่งพระราชกรณียกิจที่สำคัญคือ พระองค์มีพระราชดำริให้เปลี่ยนแปลงธงชาติจากเดิมที่มีรูปช้าง เป็นธงไตรรงค์แบบในปัจจุบัน ทรงส่งทหารไปฝึกยังต่างประเทศ และไปร่วมรบในสมรภูมิสงครามโลกครั้งที่ 1 อันเป็นที่มาของการแก้ไขสนธิสัญญาเบาว์ริงในเวลาต่อมา
นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเห็นว่าประชาชนทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศได้ จึงทรงให้จัดตั้งองค์การลูกเสือและเสือป่าขึ้น อีกทั้งยังส่งเสริมให้มีการจัดตั้งดุสิตธานีขึ้นเพื่อทดลองการปกครองแบบ ประชาธิปไตย และนำผลที่ได้มาปรับใช้ในการบริหารประเทศ ส่วนในด้านเศรษฐกิจ ทรงจัดตั้งคลังออมสินขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้ฝึกการเก็บสะสมทรัพย์ ยกเลิกการพนันบ่อนเบี้ยทุกชนิด และทรงจัดตั้งบริษัทปูนซีเมนต์ไทยขึ้นเพื่อใช้ในการก่อสร้างบ้านเมือง ไม่เพียงเท่านั้นพระองค์ยังทรงพัฒนาด้านการคมนาคม โดยการปรับปรุงและขยายกิจการรถไฟให้ครอบคลุมทั่วประเทศ อีกทั้งพระราชทานนามสกุลเพื่อให้คนไทยมีนามสกุลใช้
รัชกาลที่ 9 : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอย่างมากมาย ซึ่งล้วนแต่สร้างคุณอนันต์ให้แก่ราษฎรชาวไทย พระราชทานโครงการในพระราชดำริกว่า 2,000 โครงการ เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรชาวไทย ทรงตรากตรำพระวรกายทรงงานอย่างไม่เคยเหน็ดเหนื่อย แม้ในยามที่ประเทศไทยประสบกับภาวะเศรษฐกิจอย่างหนัก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 พระองค์ก็ได้พระราชทานแนวคิดเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" และ "เกษตรทฤษฎีใหม่" เพื่อให้พสกนิกรได้พึ่งพาตนเองและใช้ชีวิตอยู่บนความพอเพียง จนได้รับการยกย่องจากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จด้านการพัฒนามนุษย์ (UNDP Human Development Lifetime Achievement Award) เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
ในด้านพระปรีชาสามารถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเปี่ยมไปด้วยพระอัจฉริยภาพทั้งในด้านดนตรี กีฬา และด้านภาษา พระองค์พระราชนิพนธ์บทเพลงไว้มากกว่า 40 เพลง และพระราชนิพนธ์งานเขียนถึง 18 ชิ้น ในด้านกีฬา พระองค์โปรดกีฬาเรือใบเป็นพิเศษ โดยทรงเป็นตัวแทนของประเทศไทยแข่งเรือใบในกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 9-16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ซึ่งในครั้งนี้พระองค์ทรงชนะเลิศเหรียญทอง โดยทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเหรียญทองจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
รัชกาลที่ 7 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในช่วงตลอดรัชสมัย พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจมากมาย ทั้งในด้านการศึกษาและศาสนา ซึ่งในด้านการศึกษาพระองค์ได้ทรงปฏิรูประบบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย และทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกที่เสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตร ส่วนในด้านศาสนา พระองค์ทรงมีพระกระแสรับสั่งให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับอักษรไทยสมบูรณ์ ที่มีชื่อเรียกว่า "พระไตรปิฎกสยามรัฐ"
พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายในระบอบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระองค์ได้มีพระราชดำริที่จะมอบประชาธิปไตยให้กับประชาชน แต่ในช่วงการร่างรัฐธรรมนูญ กลับทรงถูกคัดค้านจากขุนนางชั้นผู้ใหญ่หลายคน จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ฉบับแรกของประเทศไทย ในวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475
รัชกาลที่ 3 : พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชกรณียกิจส่วนใหญ่ของพระองค์ในช่วงตลอดรัชสมัยคือการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ราษฎร พระองค์ได้ทรงแก้ไขวิธีการเก็บภาษีอากรแบบเดิม และทรงทำสนธิสัญญาเบอร์นีกับประเทศอังกฤษในปี พ.ศ. 2369 ทำให้การค้าขายของประเทศรุดหน้าไปอย่างมาก ทางด้านศาสนา ก็ได้ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์วัดและพระพุทธรูปจำนวนมาก อันทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศาสนาและศิลปกรรมต่าง ๆ มากมาย
รัชกาลที่ 2 : พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงทุ่มเทพระวรกายในการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ทำให้ในช่วงรัชสมัยของพระองค์นั้นถือเป็นยุคทองของวรรณคดีเลยก็ว่าได้ พระองค์ได้พระราชนิพนธ์งานวรรณกรรมและบทละครทรงคุณค่าไว้อย่างมากมาย นอกจากนี้ยังทรงฟื้นฟูประเพณีวิสาขบูชาขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2360 และได้กลายเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ได้ยกย่องพระเกียรติคุณพระองค์เป็นบุคคลสำคัญของในอภิลักขิตสมัยครบรอบ 200 ปี
รัชกาลที่ 5 : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตลอดรัชกาลของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างยุคเก่าและยุคใหม่ ภัยจากการล่าอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจทางตะวันตกก็ปรากฏเด่นชัดขึ้น จึงทำให้พระองค์มีพระราชดำริในการปฏิรูปบ้านเมืองในทุก ๆ ด้านเพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จประพาสยังต่างประเทศอย่างเป็นทางการ
ทั้งนี้พระองค์ได้ทรงออกเยี่ยมเยียนราษฎรในท้องถิ่นต่าง ๆ เพื่อรับฟังปัญหาทุกข์สุขของราษฎร และพระราชกรณียกิจที่สำคัญที่สุดที่อยู่ในความทรงจำของอาณาประชาราษฎร์ก็คือ การเลิกทาสและระบบไพร่ อันเป็นประเพณีที่มีมาอย่างช้านาน และมีพระราชดำริให้ริเริ่มจัดการศึกษาในทุกระดับชั้นเพื่อพัฒนาคนทุกหมู่เหล่าให้กลายเป็นกำลังของบ้านเมืองอย่างแท้จริง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณเป็นบุคคลสำคัญของโลกในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศพระองค์เพื่อความผาสุกประชาราษฎร์ นอกจากนี้รัฐบาลได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันปิยมหาราช เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นของพระองค์
รัชกาลที่ 4 : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคือการรักษาเอกราชของชาติ เนื่องจากในช่วงรัชสมัยของพระองค์เป็นช่วงที่ชาติมหาอำนาจตะวันตกโดยเฉพาะ อังกฤษและฝรั่งเศส เข้ามาล่าอาณานิคมในดินแดนแถบนี้ จึงทำให้พระองค์มีพระราชดำริในการเปิดสัมพันธภาพกับประเทศตะวันตกและนำมาสู่การทำสนธิสัญญาเบาว์ริง ในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398
ไม่เพียงเท่านั้น พระองค์ยังได้ทรงวางรากฐานความเจริญก้าวหน้าแบบอารยประเทศมากมาย นอกจากนี้พระองค์ยังทรงมีความสนพระราชหฤทัยในเรื่องวิชาดาราศาสตร์เป็นอย่างมาก โปรดให้สร้างพระที่นั่งภูวดลทัศไนยขึ้นในพระบรมมหาราชวัง อีกทั้งยังทรงสถาปนาระบบเวลามาตรฐานขึ้น และพระราชกรณียกิจที่สำคัญในด้านดาราศาสตร์ก็คือการพยากรณ์ล่วงหน้าว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ซึ่งพระองค์ทรงพยากรณ์ไว้ได้อย่างแม่นยำ
หลังจากเสด็จฯ กลับจากการทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ประชวรด้วยพระโรคไข้มาลาเรีย และเสด็จสวรรคตในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ขณะพระชนมมายุได้ 64 พรรษา รวมระยะเวลาครองราชย์ทั้งหมด 17 ปี และด้วยพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ รัฐบาลไทยจึงได้มีมติให้กำหนดวันที่ 18 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และเทิดพระเกียรติให้พระองค์ทรงเป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์
ต่อมาในโอกาสวันพระบรมราชสมภพครบ 200 ปี องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณ ให้พระองค์ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก สาขาการศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ มานุษยวิทยา การพัฒนาสังคม และการสื่อสาร ประจำปี พ.ศ. 2546-2547
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงปฎิบัติพระราชกรณียกิจ เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ มาตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์เริ่มตั้งแต่การตามเสด็จพระราชดำเนินไปยังภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อทอดพระเนตรความเป็นอยู่และความทุกข์ยากเดือดร้อนของราษฎรทรงเรียนรู้แนวทางการพระราชทานความช่วยเหลือราษฎรซึ่งประสบปัญหาแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่โดยเฉพาะการพัฒนาอาชีพ การพัฒนาแหล่งน้ำและการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรผู้ยากไร้ในถิ่นทุรกันดาร ทำให้ทรงเข้าพระราชหฤทัยถึงความทุกข์ยากของราษฎรทุกหมู่เหล่า