Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Urinary System - Coggle Diagram
Urinary System
หลอดไตส่วนต้น (proximal convoluted tubul)
น้ำกรองที่ผ่านหลอดไตส่วนต้นแล้วจะไหลลงมาตามห่วงหลอดไต ของน้ำกรองที่ถูกกรองออกมา เนื่องจากห่วงหลอดไตมีลักษณะคล้ายห่วงรูปตัวยู
ผนังของท่อจึงมีความหนาแตกต่างกันเป็น 2 ขนาด คือส่วนหลอดไตรูปตัวยูส่วนที่ต่อกับหลอดไตส่วนต้น ซึ่งทอดตัวลงมาเป็นท่อตรงเข้าไปในเนื้อไตส่วนในจะเป็นส่วนของท่อที่มีผนังบาง เรียกว่าทินเดสเซนดิ้งลิมพ์
thin descending limb เป็นหลอดไตที่มีผนังบางเป็นเซลล์เยื่อบุชั้นเดียว ที่มีคุณสมบัติยอมให้น้ำผ่านได้ดี ทำให้น้ำกรองมีความเข้มข้นขึ้น บริเวณส่วนนี้จะไม่มีการดูดซึมหรือขับสารเข้าออก
หลอดไตที่ต่อจากส่วนนี้คือทินเอสเซนดิ้งลิมพ์ (thin ascending limb) เป็นหลอดไตที่มีผนังบางเช่นกันแต่เซลล์มีคุณสมบัติยอมให้สารเคลื่อนผ่านช่องว่างระหว่างเซลล์ได้ แต่ไม่ให้น้ำผ่าน เมื่อน้ำกรองผ่านส่วนนี้ได้ยาก จึงมีการแพร่ของโซเดียมอิออน (Na+) และคลอไรด์อิออน (Cl–) ออกจากหลอดไต และสารที่มีโมเลกุลใหญ่ที่มากับน้ำกรอง
กลไกที่สำคัญในการดูดซึมกลับของน้ำที่หลอดไต มีทั้งกลไกที่ไม่ต้องใช้พลังงานเช่นขบวนการแพร่ ซึ่งเป็นขบวนการที่ไม่ใช้พลังงาน (passive transport) โดยอาศัยความแตกต่างของความเข้มข้นของสารในท่อไต
กลไกที่จำเป็นต้องใช้พลังงาน (ATP) ในการดูดกลับผ่านขบวนการใช้พลังงาน (active transport) ซึ่งจะต้องมีตัวนำ (carrier) ให้สารเกาะด้วย
หลอดไตส่วนต้น (proximal convoluted tubule)
คือ น้ำกรองจากเลือดไหลผ่านเข้ามา ส่วนประกอบของของเหลวที่ได้จากการกร อง glomerulus filtrate
จะคล้ายกับน้ำเลือด แต่มีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณ 93-94 % นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอื่นเช่น ฮอร์โมน กลูโคส
ในขณะที่น้ำกรองจากเลือด (glomerulus fitrate) → (tubular fitrate) น้ำกรองนี้จะถูกเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบไปบางส่วนทันที
การดูดซึมกลับของสารต่างๆที่ชั้นเซลล์เยื่อบุของหลอดไตผ่านขบวนการแพร่ (diffusion) และ กลไกที่ต้องใช้พลังงาน (active transport)
เซลล์เยื่อบุของหลอดไตส่วนต้นจะเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปทำให้แตกต่างจากหลอดไตส่วนอื่น
ลักษณะเซลล์จะเป็นเซลล์รูปสี่เหลี่ยมที่มีขน ลักษณะคล้ายกับเซลล์เยื่อบุในลำไส้เล็กเรียกว่าบรัสบอเดอร์ (brush border) หรือไมโครวิลไล (microvilli)
บรัสบอเดอร์ (brush border) หรือไมโครวิลไล (microvilli) จะยื่นเข้าไปในช่องว่างของหลอดไต ทำหน้าที่ดูดซึมส่วนประกอบของน้ำกรอง (glomerular filtrate)
การดูดซึมกลับทั้งหมดที่เกิดขึ้นจะเป็นการดูดซึมกลับที่หลอดไตส่วนต้น โดยอาศัยการทำงานของบรัสบอเดอร์ (brush border)
หลอดไตส่วนต้นสามารถทำหน้าที่ขับสารบางอย่างให้แก่น้ำกรองได้เช่น ครีเอทีน (creatine) และไอโอดีน (iodine)
หลอดไตรวม (collecting tubules)
โดยอาศัยการทำงานของเอ็นไซม์โซเดียมโพแดสเซียมเอที่พีแอส (Na-K ATPase) นอกจากนี้ยังมีการดูดกลับของยูเรีย โพแตสเซียมอิออน (K+) และ ไฮโดรเจนอิออน (H+) ด้วย แต่ละท่อของหลอดไตรวมจะรับน้ำปัสสาวะจากส่วนปลายของหลอดไตส่วนปลายหลายๆท่อรวมกัน ดังนั้นความเข้มข้นของน้ำปัสสาวะในส่วนของหลอดไตรวม คือความเข้มข้นของน้ำปัสสาวะที่ออกจากร่างกาย
ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดูดกลับน้ำ และโซเดียมอิออน (Na+) และมีการหลั่งโพแตสเซียมอิออน (K+) กลับออกมา
หลอดไตส่วนปลาย (distal convoluted tubule)
เป็นหลอดไตสั้นๆที่ต่อระหว่างปลายของส่วนทินเอสเซนดิ้งลิมพ์ (thin ascending limb) ของห่วงหลอดไตมีลักษณะคล้ายห่วงรูปตัวยู (Henle’s loop) กับส่วนหลอดไตรวม (collecting tubules)
ส่วนนี้สามารถดูดซึมน้ำกลับได้ โซเดียมอิออน (Na+) และ คลอไรด์อิออน (Cl–) นอกจากนั้นยังสามารถขับสารต่าง ๆ เช่นแอมโมเนียมอิออน (NH4+) ไฮโดรเจนอิออน (H+) และโพแตสเซียมอิออน (K+) ออกมาได้ด้วย
การดูดกลับของสารที่หลอดไต (tubular reabsorption)