Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สถานการณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน - Coggle Diagram
สถานการณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
โลกปัจจุบันมีพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
มีความต้องการใช้พลังงานในกิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอุตสาหกรรม
คมนาคม
เกษตรกรรม
ยิ่งประเทศพัฒนามากก็จะยิ่งมีการบริโภคพลังงานมากขึ้นตามไปด้วย
การเพิ่มของจํานวนประชากรโลกทําให้การใช้พลังงานเพิ่มขึ้นด้วย
แหล่งพลังงานพื้นฐานที่สําคัญที่ใช้กันมากในชีวิตประจําวันโดยทั่วไป
ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ
น้ํามัน
ปัญหาโลกร้อนมาจากปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ
สถานการณ์พลังงานโลก
ในยุคแรก ๆ มนุษย์ใช้พลังงานส่วนใหญ่เพียงเพื่อการดํารงชีพ
ต่อมามีการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดจนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมต่าง
ศตวรรษที่ 18-19
ยุคของการเปลี่ยนแปลงจากระบบสังคมและเศรษฐกิจฐานการเกษตรกลายไปเป็นสังคมและเศรษฐกิจฐาน
อุตสาหกรรม
ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง
ปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อสถานการณ์พลังงานโลก
ปริมาณการใช้พลังงานในปัจจุบันและความต้องการใช้พลังงานในอนาคต
ประเทศกําลังพัฒนามีการใช้พลังงานมากที่สุด คาดว่าความต้องการเพิ่มขึ้นประมาณ 65% สัดส่วนการใช้พลังงานทั้งหมดในระหว่างปี
ค.ศ. 2004-2030 จะเพิ่มจาก 46% เป็น 58%
การใช้พลังงานมหาศาลในทวีปเอเชียโดยเฉพาะประเทศจีนและอินเดียเป็นผลมาจากการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
ดังนั้น ในอีก 20 ปีข้างหน้าทวีปเอเชียจะใช้พลังงานมากขึ้นเป็น 2 เท่า
แหล่งพลังงานหลักของโลกมาจากแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วหมดไปและก๊าซธรรมชาติ
มี เพียง 13% ของพลังงานทั้งโลกได้มาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทดแทน
ในระหว่างปีค.ศ. 2004 ถึงปีค.ศ. 2030 จะมีการใช้พลังงานจากน้ํามัน ก๊าซธรรมชาติถ่านหิน พลังงานนิวเคลียร์และพลังงานอื่น ๆ เพิ่มขึ้น
คณะผู้แทนไทยประจําประชาคมยุโรป
รายงานถึงความต้องการพลังงานตามประเภทของเชื้อเพลิง
เชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลยังคงเป็นที่ต้องการมากที่สุด ในปีค.ศ. 2030
คาดว่าความต้องการเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลจะถึง90 % ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมด
โดยน้ํามันยังคงเป็นพลังงานหลัก (34%)
ตามด้วยถ่านหิน (28%)
ก๊าซธรรมชาติ (25%)
ในส่วนของพลังงานนิวเคลียร์แม้จะมีการใช้เพิ่มมากขึ้นแต่เมื่อคิดเป็oสัดส่วนของเชื้อเพลิงทั้งหมดกลับมีแนวโน้มลดลง โดยจะลดจาก 7% ในปีค.ศ. 2000เหลือ 5% ในปี ค.ศ. 2030
กล่าวโดยสรุปคือ น้ํามัน ก๊าซ และถ่านหิน ยังคงเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก อย่างน้อยสําหรับในอนาคตอีก
เอ็กซอนโมบิล (2555) รายงานการคาดการณ์อนาคตพลังงานโลกอีก 30 ปีข้างหน้า
ปีค.ศ. 2040 ความต้องการพลังงานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 30%
ประเทศที่อยู่ในองค์กรความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ
จะมีการใช้พลังงานอย่างคงที่ แม้ว่าจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีมาตรฐานการดํารงชีวิตของประชาชนสูง
ความต้องการพลังงานเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ายังคงเป็นอันดับหนึ่ง
ความต้องการถ่านหินจะเข้าสู่จุดสูงสุดและเริ่มลดลงอย่างช้า ๆ
เนื่องจากมีการออกนโยบายเพื่อลดการปล่อยก๊าซโดยกําหนดโทษค่าปรับ
เชื้อเพลิงที่นํามาใช้อย่างแพร่หลายยังคงเป็นนํ้ามัน ก๊าซ และถ่านหิน
และยังมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของทั้งโลก
ก๊าซธรรมชาติจะเติบโตอย่างรวดเร็วขึ้นและมาแทนที่ถ่านหิน จนเป็นอันดับสองรองจากนํ้ามัน
การเพิ่มจํานวนประชากรโลก
ข้อมูลทางด้านประชากรโลกที่มีผลเกี่ยว
โยงกับด้านเศรษฐกิจและสังคมขององค์การสหประชาชาติ
International Energy Agency พบว่า ความต้องการพลังงานของโลกจะเพิ่มขึ้นกว่า 50%
จากปี ค.ศ. 2010
ปริมาณสํารองของแหล่งพลังงานที่มีเหลืออยู่
โดยสรุปทั่วโลกจะยังคงมีแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลเหลือเพียงพอต่อความต้องการ
จะมีการค้นพบแหล่งน้ํามันจากแหล่งน้ํามันใหม่ๆ เข้ามาเสริมแหล่งน้ํามันที่มีอยู่เดิม
นอกจากนั้นโลกยังคงมีแหล่งก๊าซธรรมชาติและถ่านหินสํารองเป็นจํานวนมาก
และคาดว่าจะพบแหล่งก๊าซใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง
ภาพรวมแหล่งเชื้อเพลิงสํารองยังคงเหลือเพียงพอต่อความต้องการของโลก
แต่การผลิตเชื้อเพลิงกลับอยู่ในมือของบางภูมิภาคหรือบางองค์กรเท่านั้น
สถานการณ์พลังงานของแต่ละภูมิภาค
สหภาพยุโรป
จะมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นเพียงปีละ 0.4%
โดยเชื้อเพลิงที่ยังคงเป็นที่ต้องการมากที่สุด
ยุโรปจําเป็นต้องนําเข้าน้ํามันถึง 90% ของน้ํามันที่ใช้ทั้งหมด โดย 45% ของน้ํามันที่นําเข้าจะมาจากตะวันออกกลาง
ในส่วนของก๊าซนั้นปัจจุบัน 40% ของก๊าซที่ใช้ในยุโรปนําเข้าจากรัสเซีย และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไปจนถึง 60-80%
สําหรับถ่านหินนั้นในปี 2030 ยุโรปต้องจําเป็นต้องนําเข้าถ่านหิน 66% ของถ่านหินที่ใช้ทั้งหมด
อเมริกาเหนือ
จะมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นปีละ 0.7%
โดยที่ถ่านหินจะเป็นเชื้อเพลิงที่มีบทบาทสําคัญและมีการใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
เอเชีย
เอเชียจะมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นปีละ 3.7%
ถ่านหินซึ่งเป็นทรัพยากรที่ยังคงมีอยู่จํานวนมากในเอเชีย
แต่ก็จะมีความต้องการน้ํามันและก๊าซสูงขึ้นมาก
สถานการณ์ดังกล่าวทําให้เอเชียจะเปลี่ยนสถานะผู้ส่งออกก๊าซ เป็นผู้นําเข้าก๊าซในปีค.ศ. 2020 และจําต้องนําเข้าก๊าซถึง 80% ของปริมาณก๊าซที่ใช้ทั้งหมด
กลุ่มประเทศลาตินอเมริกา
โดยสัดส่วนของการใช้น้ํามันจะลดน้อยลง และจะเปลี่ยนไปใช้ก๊าซ
มีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นปีละ 2.4%
ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงมีอยู่เป็นจํานวนมากในภูมิภาคนี้
สถานการณ์การใช้พลังงานในประเทศไทย
ปริมาณการใช้พลังงานและแหล่งพลังงาน
การใช้พลังงานของประเทศไทยเป็นไปในลักษณะเดียวกับ
การใช้พลังงานของประเทศต่าง ๆ ในโลก
พลังงานเชิงพาณิชย์ (commercial energy) ซึ่งพลังงานที่มีการใช้มากที่สุด
การผลิตในประเทศไม่เพียงพอ จึงต้องนําเข้าจากต่างประเทศเป็นมูลค่าถึง1,235 พันล้านบาท (40 พันล้านเหรียญสหรัฐ)
รายงานสถานการณ์การใช้พลังงานของประเทศไทย
ชัยพร เซียนพาณิชย์ (2011)
ประเทศไทยจําเป็นต้องพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลทั้งน้ํามันและก๊าซธรรมชาติ
การผลิตไฟฟ้าที่ผ่านมาใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักในสัดส่วนถึงร้อยละ 72% ทําให้ต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยเป็นหลัก
นอกจากนี้ประเทศไทยยังต้องซื้อพลังงานไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าได้แก่ ประเทศลาว
ประเทศไทยยังสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเพียงพอต่อการใช้งานในประเทศ
แม้ว่าจะมีการรณรงค์ให้ใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น
แต่ประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการนําเข้าน้ํามันจากต่างประเทศ
ดังนั้นเมื่อน้ํามันในตลาดโลกสูงขึ้น ทําให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจตามมา
โชติชัย สุวรรณาภรณ์(2555)
กล่าวว่าแนวโน้มการใช้พลังงานในประเทศไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกภาคส่วน
ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่งที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานรวมกันสูง
ซึ่งประเทศไทยได้นําเข้าพลังงานชนิดต่างๆ เพื่อรองรับการใช้งานภายในประเทศ
ทวารัฐ สูตะบุตร (2558)
ความต้องการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้นในช่วง 8 เดือนแรกของปี
2558 คาดว่าอยู่ที่ระดับ 2,603 พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ํามันดิบต่อวัน
นอกจากนี้ยังคาดการณ์สถานการณ์พลังงานในปี 2558 (12 เดือน)
การใช้น้ํามัน จะเพิ่มขึ้น 3.5% เนื่องจากราคาน้ํามันยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ํา ทําให้มีการใช้น้ํามันเบนซินและดีเซลเพิ่มขึ้น
การใช้ก๊าซธรรมชาติ คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.5%
การใช้ถ่านหิน คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.4%
การใช้ลิกไนต์ คาดว่าจะลดลง 21.2% ตามการใช้ที่ลดลงจากการใช้
เพื่อผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
การใช้ไฟฟ้าพลังน้ําและไฟฟ้านําเข้าจาก สปป. ลาว คาดว่าการผลิตไฟฟ้า
จากพลังน้ําจะลดลง 4.5%
ผลกระทบของพลังงานกับสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงซากดึกดําบรรพ์ทําให้มีการปล่อยก๊าซหลายชนิดที่
ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ
ซัลเฟอร์
ไนโตรเจนออกไซด์
คาร์บอนมอนอกไซด์
ไฮโดรคาร์บอนรวมทั้งสารโลหะหนักต่างๆ
เมื่อพิจารณาถึงแหล่งที่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงกว่า10 ปีที่ผ่านมา
พบว่ากลุ่มประเทศอุตสาหกรรมจะมีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด
ในขณะที่กลุ่มยุโรปตะวันออก มีปริมาณการปล่อย
คาร์บอนไดออกไซด์ลดลงได้ถึงร้อยละ 40 ในช่วงปีค .ศ .1990-2001
ซึ่งสาเหตุที่สําคัญคือการหันมาใช้ก๊าซธรรมชาติแทน
สําหรับประเทศกําลังพัฒนาในแถบเอเชียโดยเฉพาะประเทศจีน
มีแนวโน้มการปล่อยสูงขึ้น
เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว
ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาจากการใช้พลังงานที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ทําให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของโลก
การเกิดปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อน
สภาวะอากาศของโลกเปลี่ยนไป (climate change)
มลพิษทางอากาศ (air pollution)