Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ชาวต่างประเทศที่มีส่วนสร้างสรรค์ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและความก้าวหน้าของสัง…
ชาวต่างประเทศที่มีส่วนสร้างสรรค์ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและความก้าวหน้าของสังคมไทย
การสร้างองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ไทย
ฟาน ฟลิต หรือ วัน วลิต (Jeremias van Vliet)
พ่อค้าชาวฮอลันดาที่เข้ามาติดต่อค้าขายสมเด็จพระเจ้าปราสาททองได้บนทึกหลักฐานสำคัญเกี่ยวข้องสภาพสังคมเศรษฐกิจและการเมืองไทยสมัยอยุธยาได้แก่ พรรณนาเรื่องอาณาจักรสยาม พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาจดหมายฟาน ฟลีต
ซีมง เดอ ลาลูแบร์ (Simon de la Loubere)
เป็นทูตชาวฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เขียนบันทึจดหมายเหตุ ลาลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม หาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพสังคม เศรษฐกิจวิถีชีวิต และราชสำนักไทยสมัยอยุธยา
นิโกลาส์ แชรแวส (Nicolas Gervaise)
เป็นชาวฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เขียนบันทึกเรื่องประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยามซึ่งให้ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไทย ศาสนาและเรื่องราวเกี่ยวกับราชสำนักไทย
พระสังฆราชปาลเลอกัวซ์ (Pallegoix)
เป็นบาทหลวงชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาและพำนักอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 3หากรุงรัตนโกสินทร์ทำให้มีโอกาสเดินทางไปยังหัวเมืองต่างๆของไทยและได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทยในหนังสือเล่าเรื่องกรุงสยามซึ่งมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการศึกษาสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
เฮนรี เบอร์นีย์ (Henry Burney)
เป็นทูตชาวอังกฤษที่เดินทางมาเจรจาการทูตในรัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและได้ทำบันทึกรายงานการเจรจาทางการทูตและข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทยเสนอต่อรัฐบาลอังกฤษ หรือเอกสาร เฮนรี เบอร์นีย์
เซอร์จอห์น เบาว์ริ่ง (Sir John Bowring)
เอกอัครราชทูตพิเศษชาวอังกฤษที่เดินทางเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทยมันต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเบาว์ริ่งได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับประเทศไทยชื่อราชอาณาจักรและราษฎรสยามหนังสือเล่มนี้ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทยในอดีตทางด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา ศาสนาและเศรษฐกิจซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเรื่องราวในอดีตของไทย
การแพทย์
หมอบรัดเลย์ (Dan beach Bradley)
เป็นมิชชันนารีชาวอเมริการุ่นแรกๆที่เดินทางเข้ามาเผยแผ่ศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวหมอบรัดเลย์จบวิชาแพทย์ศาสตร์จากสหรัฐอเมริกาจึงนำความรู้ทางการแพทย์แผนตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยโดยเฉพาะได้เริ่มการรักษาด้วยการทำการผ่าตัดในประเทศไทยเป็นครั้งแรกนอกจากนี้ยังเผยแพร่เรื่องการปลูกฝึและฉีดวัคซีนด้วย
หมอเฮ้าส์ (Dr. Samuel R House)
เป็นมิชชันนารีชาวอเมริกันที่ได้ช่วยรักษาคนไข้จำนวนมากโดยเฉพาะเมื่อเกิดอหิวาตกโรคระบาดในกรุงเทพฯเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตหลายพันคนและต้องดูแลรักษาผู้ป่วยจำนวนมากพร้อมกับฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้แก่ราษฎรนอกจากนี้ยังเป็นแพทย์คนแรกที่นำวิธีการผ่าตัดโดยใช้ยาสลบมารักษาผู้ป่วยในประเทศไทยด้วย
ชอร์ช บี. แมคฟาร์แลนด์ (George B. McFarland)
เป็นบุตรของมิชชันนารีชาวอเมริกาซึ่งเกิดในประเทศไทยจบการศึกษาด้านแพทย์ศาสตร์และฝึกหัดทำฟันจากสหรัฐอเมริกาจากนั้นได้กลับมาสอนนักเรียนแพทย์ฝึกหัดชาวไทยที่โรงเรียนแพทยาลัยซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลศิริราชพร้อมกับเปีดคลินิกรักษาโรคฟันพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระอาจริยาคม
ศิลปกรรม
นายริโกลี (Riguli)
จิตรกรชาวอิตาลีผู้วาดภาพจิตรกรรมเพดานพระที่นั่งอนันตสมาคมและภาพจิตรกรรมพระอุโบสถวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร
นายคาร์ล ดอริง (Karl Dohring)
สถาปนิกชาวเยอรมันนายช่างประจำกรมรถไฟซึ่งเป็นผู้ออกแบบวังวรดิศตำหนักบางขุนพรหมและพระรามราชนิเวศน์
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศิลป์
ผลงานที่สำคัญ คือเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรและบุกเบิกการสอนศิลปะในประเทศไทย
เป็นศิลปินข้าวอิตาลี เป็นผู้รอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์การวิจารณ์ศิลปะและปรัชญาโดยเฉพาะความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรม
การศึกษา
เจษฏาจารย์ ฟ. ฮิแลร์ หรือนามเดิม ฟรังซัว ดุเวอเนต์ (Francois Touvenet)
ภราดาชาวฝรั่งเศสในคณะภารดาเซนต์คาเบรียลพี่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในประเทศไทยและเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กทยทำให้มีการสร้างโรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยคณะภราดาเซนต์คาเบรียลหลายแห่งทั้งในเขตกรุงเทพฯและต่างจังหวัด
บาทหลวงเอมีล ออกุสต์ กอลมเบิร์ต (Emile August Golmbert)
ชาวฝรั่งเศสเจ้าอาวาสวัดอัสสัมชัญได้ก่อตั้งโรงเรียนประจำวัดอัสสัมชัญ ซึ่ง ปัจจุบันคือโรงเรียนอัสสัมชัญ
ดร.ชามูเอล อาร์. เฮ้าส์ (Samuel R House) และ ศาสตราจารย์สตีเว่น แมตตูน (Steven Mattoon)
ได้เปิดโรงเรียนสำหรับเด็กชายที่สำเหร่ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นโรงเรียนชายแห่งแรกของไทยหรือโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนในปัจจุบัน
นางแฮร์เรียต เฮาส์ (Harriet) House
ได้เปิดโรงเรียนสำหรับเด็กหญิงแห่งแรกในประเทศไทยชื่อโรงเรียนกุลสตรีวังหลังต่อมา เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
นาย ณัฐสิทธิ์ จันตา เลขที่ 9 ม 4/12