Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติที่สัมพันธ์กับการมีระดู Menstrual cycle…
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติที่สัมพันธ์กับการมีระดู Menstrual cycle disorders
menopause
วัยหมดประจำเดือนหรือวัยทอง (Menopause) คือ ช่วงอายุที่รังไข่ของผู้หญิงหยุดทำงาน หยุดการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงและหยุดการเจริญของไข่เพื่อการตกไข่ ทำให้ไม่มีประจำเดือน และหมดความสามารถในการมีบุตร โดยจะถือว่าผู้หญิงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเมื่อขาดประจำเดือนไปต่อเนื่องกันนานกว่า 1 ปี (โดยเฉลี่ยจะเข้าสู่วัยนี้เมื่ออายุ 50 – 51 ปี) โดยก่อนที่ประจำเดือนจะขาดไปอย่างถาวรนั้น จะมีช่วงที่ประจำเดือนเริ่มมาไม่สม่ำเสมอและมีอาการจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายต่างๆเกิดขึ้น
ความสำคัญของการดูแลสุขภาพในวัยหมดประจำเดือน
เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากปัจจัยหลักสองอย่างร่วมกัน คือ ความเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น และการขาดฮอร์โมนเพศหญิง
โรคหลายโรคพบมากขึ้นในวัยนี้ การตรวจสุขภาพคัดกรองโรคจึงมีความสำคัญ เนื่องจากโรคหลายโรคสามารถรักษาได้ผลดี ถ้าตรวจพบและได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ
อาการหลายๆ อาการ แม้ว่าเป็นอาการปกติที่เกิดได้ในวัยนี้ แต่ถ้ามีอาการมากอาจมีผลต่อคุณภาพชีวิต ซึ่งมียารักษาหรือบรรเทาอาการให้ลดลงได้
การดูแลสุขภาพ เรื่องอาหาร และการออกกำลังกายจึงมีความสำคัญ
อาการของภาวะหมดประจำเดือน
vasomotor symptom (hot flashes)เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อย ที่สุดในสตรีวัยทอง โดยพบได้ประมาณร้อยละ 75 โดยอาการที่พบได้แก่การรู้สึกร้อนอย่างเฉียบพลันบริเวณผิวหนัง ศีรษะ ใบหน้า คอ โดยอาจมีอาการคลื่นไส้ วิงเวียน ปวดศีรษะ ใจสั่น วิตกกังวล เหงื่อออกท่วมตัว (diaphoresis) เหงื่อออกตอนกลางคืน (night sweats) และกระทบการนอนหลับ โดยอาการสามารถปรากฏ ตั้งแต่ในช่วง perimenopausal หรือตั้งแต่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ของประจาเดือน อาการมักจะเป็นอยู่ไม่กี่นาที แต่สามารถเป็นได้ วันละหลายครั้ง กลไกการเกิดอาการ hot flashes เกิดจากสารสื่อ ประสาทต่าง ๆ ไปมีผลต่อระบบควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ทาให้ ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นได้ง่ายและเร็วขึ้นในสตรีวัยทอง
genitourinary syndrome เป็นกลุ่มอาการของภาวะvalvovaginal atrophy และ urinary tract dysfunction โดยอาการมักจะปรากฏในช่วงท้ายของ postmenopausal stage อาการที่ปรากฏได้แก่อาการแสบร้อนบริเวณช่องคลอด อาการคัน บริเวณช่องคลอด ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ตกขาว หรือเจ็บ ขณะมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น
osteoporosis การเกิดภาวะกระดูกพรุน และกระดูกแตกหัก จาก การเกิด bone resorption เพิ่มมากขึ้น
การพยาบาล
แนะนำการรับประทานอาหาร ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงโดยเฉพาะไขมันจากสัตว์ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด นอกจากนี้ ควร รับประทานอาหารที่ มีแคลเซียมให้เพียงพอในแต่ละวัน โดยปริมาณแคลเซียมที่สตรีวัย ทองควรได้รับในแต่ละวันคือ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยพบ แคลเซียมจะพบมากในอาหารประเภท นมวัว กุ้งฝอย ปลาตัวเล็ก และผักใบเขียวชนิดต่างๆ นอกจากนี้ในแต่ละวันไม่ควรได้รับปริมาณ cholesterol เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน โดย cholesterol จะพบมากในอาหารจาพวกเครื่องในสัตว์ ไข่แดง และอาหารทะเล
การออกกาลังกาย ควรออกกาลังกายตามความเหมาะสมของ สภาพร่างกาย ในวัยทองการออกกาลังกายเป็นสิ่งที่ควรกระทำ เพราะมีผลต่อการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและ กระดูก ช่วยลดปริมาณไขมันส่วนเกิน นอกจากนี้ยังสามารถลด อาการทางจิตประสาท และลดภาวะซึมเศร้าในวัยนี้ได้ ปริมาณ ของการออกกาลังกายที่เหมาะสม คือ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง และใช้ เวลาในแต่ละครั้งประมาณ 30 นาที ควรออกกาลังกายในช่วงเช้า หรือเย็นที่มีแดดอ่อนๆ วันละประมาณ 15-20 นาที
สตรีในวัยนี้มักมีอาการซึมเศร้า อ่อนไหวง่าย ท้อแท้ เหงาหงอย จึงแนะนาไม่ให้อยู่คนเดียว ควรอยู่ใกล้ชิดเพื่อนฝูงหรือลูกหลาน
ทำสมาธิ
งดสุรา เบียร์ บุหรี่ และกาแฟ
การรักษา
ให้กลุ่มยาที่ไม่ใช่ฮอร์โมนเพศหญิง (non-hormonal theatment)
1.ยากลุ่ม antidepressant ยากลุ่ม SSRIS และ SNRIS
2.ยากลุ่ม Selective estrogen receptor modulators (SERS)ให้ฮอร์โมนเพศหญิงทดแทน (HRT)ใช้เฉพาะผู้ที่มีอาการรุนแรง
Dysfunctional Uterine Bleeding (DUB)
สาเหตุ
กลุ่มที่มีการตกไข่ตามปกติ (Ovulatory DUB) : ยังมีการตกไข่ตามปกติของรอบเดือน แต่มีความผิดปกติของการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงโปรเจสเตอโรน (ซึ่งทำหน้าที่ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือนทุกเดือน) ทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ
กลุ่มที่ไม่มีการตกไข่ตามปกติของรอบเดือน (Anovulatory DUB) : เกิดจากฮอร์โมนในร่างกายที่สร้างจากสมอง, ต่อมใต้สมองและรังไข่ ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมประจำเดือน ทำงานได้ไม่สมดุล ทำให้ไม่มีไข่ตกตามรอบเดือนปกติ เมื่อไม่มีไข่ตก ร่างกายจึงไม่สร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (ซึ่งทำหน้าที่ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือนทุกเดือน) จึงทำให้มีประจำเดือนผิดปกติ
มักพบในผู้หญิงวัยเริ่มมีประจำเดือนใหม่ๆ ในช่วง 2 ปีแรก (ฮอร์โมนยังสร้างได้ไม่ปกติ) และผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน (อวัยวะต่างๆ ทำงานสร้างฮอร์โมนได้น้อยลงและตอบสนองต่อฮอร์โมนเพศน้อยลงด้วย) นอกจากนี้การที่ไข่ไม่ตกตามปกติยังสัมพันธ์กับภาวะเครียด, การออกกำลังกายมากเกินไป, การมีน้ำหนักเปลีี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและยาบางชนิด
อาการ
ประจำเดือนมาผิดปกติ
ประจำเดือนออกมากผิดปกติ มักจะเป็นหลังจากขาดประจำเดือนไปหลายเดือน
ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ : อาจมีประจำเดือนบ่อยกว่าปกติ (รอบเดือนน้อยกว่า 28 วัน) หรือประจำเดือนมาห่างกว่าปกติ (รอบเดือนมากกว่า 35 วัน)
ประจำเดือนมานานกว่าปกติ : เลือดออกนานมากกว่ารอบเดือนปกติหรือมากกว่า 7 วัน
มีเลือดออกกระปริดกระปรอยระหว่างรอบเดือน
ประจำเดือนไม่มาเลยติดต่อกันหลายเดือน
อาการแสดงอย่างอื่นที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศในร่างกาย เช่น มีขนขึ้นมากเกินไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย (เหมือนผู้ชาย), ร้อนวูบวาบ, อารมณ์แปรปรวน, ปวดบริเวณช่องคลอดและรู้สึกว่าช่องคลอดแห้ง
ถ้าเลือดประจำเดือนออกมาก ผู้ป่วยอาจมีอาการจากภาวะซีดได้ เช่น เหนื่อยง่ายกว่าปกติ, เพลีย เป็นต้น
Dysfunctional Uterine Bleeding หรือ DUB คือ การที่มีเลือดประจำเดือนมาผิดปกติ โดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางกายวิภาค ดังนั้นการวินิจฉัยโรคเพื่อตัดสาเหตุจากความผิดปกติทางกายวิภาคในระบบอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงที่ทำให้มีเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูกได้ เช่น มะเร็งที่เยื่อบุโพรงมดลูกหรือเยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อในวัยหมดประจำเดือน เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด และผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน รวมทั้งอาจจะเป็นผลมาจากความเครียดหรือความเจ็บปวดก็ได้
กลุ่มที่มีการตกไข่ตามปกติ (Ovulatory DUB) : พบได้ร้อยละ 10 ของผู้ป่วย DUB ทั้งหมด
กลุ่มที่ไม่มีการตกไข่ตามปกติของรอบเดือน (Anovulatory DUB) : พบได้ร้อยละ 90 ของผู้ป่วย DUB ทั้งหมด มักพบในผู้หญิงวัยเริ่มมีประจำเดือนใหม่ๆ ในช่วง 2 ปีแรก และผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน
การวินิจฉัย
ประวัติ : ผู้ป่วยจะมีอาการดังที่กล่าวมาแล้ว
การตรวจร่างกาย : แพทย์จะทำการตรวจภายใน เพื่อหาความผิดปกติทางกายวิภาคของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
การตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฎิบัติการ
การตรวจเลือด
1.1 การตรวจความเข้มข้นเลือด (Hb และ Hct) เพื่อดูว่ามีภาวะซีดจากการเสียเลือดร่วมด้วยหรือไม่ และถ้ามีรุนแรงแค่ไหน
1.2 ตรวจระดับฮอร์โมน : ตรวจดูระดับฮอร์โมน FSH และ LH (สร้างจากต่อมใต้สมอง ทำหน้าที่กระตุ้นรังไข่ ให้เกิดการเจริญเติบโตของไข่และทำให้เกิดการตกไข่ ตามรอบเดือนปกติ), ฮอร์โมนเพศชาย Androgen, ฮอร์โมน Prolactin, ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของต่อมไทรอยด์ (TSH และ T4)
1.3 ทดสอบการตั้งครรภ์ : เพื่อวินิจฉัยว่าไม่ใช่ภาวะเลือดออกในช่วงตั้งครรภ์
การตรวจอัลตราซาวน์ : เพื่อดูความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก, ดูว่ามีถุงน้ำที่รังไข่หรือไม่ และดูความผิดปกติทางกายวิภาคอื่นในอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง
การส่องกล้องเข้าไปดูภายในโพรงมดลูก
การขูดเอาชิ้นเนื้อจากเยื่อบุโพรงมดลูกมาตรวจ : เพื่อวินิจฉัยแยกโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มักทำในรายที่มีเลือดออกผิดปกติจกโพรงมดลูกในช่วงวัยหมดประจำเดือน เพราะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้สูง
การพยาบาล
ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการที่มีเลือดประจำเดือนมาผิดปกติ
ติดตามประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
หลังผ่าตัดกระตุ้นให้หายใจลึก ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สังเกตลักษณะสีจำนวนของเลือดและสิ่งคัดหลั่งทางช่องคลอด หากมีความผิดปกติรายงานให้แพทย์ทราบ
ดูแลความสะอาดของร่างกายและดูแลแผลให้แห้งสะอาดเสมอ
-รับประทานอาหารที่มีโปรตีน มีกากใยและเหล็กสูง ให้ดื่มน้ำให้เพียงพอวันละ 2,000 มิลลิลิตร
ดูแลให้ได้รับสารน้ำและยาทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
อธิบายและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลรักษาภาวะเลือดประจำเดือนมาผิดปกติ
postmenstrual bleeding
ความหมาย
ภาวะที่สตรีหมดระดูต่อเนื่องมา 12 เดือน แล้วกลับมามีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดอีก โดยทั่วไป ถือว่าสตรีใกล้หมดระดูที่ขาดระดูต่อเนื่องติดต่อกัน 12 เดือน ขึ้นไป ได้เข้าสู่วัยทองสมบูรณ์แล้วจึงไม่ควรมีเลือดออกจากมดลูกอีก ถ้ามีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ควรได้รับการค้นหาสาเหตุของเลือดระดูที่ออกผิดปกตินั้น
สาเหตุ
เยื่อบุช่องคลอดหรือเยี่ยเบื่มดลูกบ้างจากภาวะพร่องฮอร์โมนในสตรีวัยหมดระดู
มีพยาธิสภาพในช่องคลอด ปากมดลูกและโพรงมดลูก เช่น ติ่งเนื้อ เนื้องอกมะเร็งที่ปากมดลูก เป็นต้น
มีการอักเสบในโพรงมดลูก
เยื่อบุมดลูกหนาตัวจากการได้รับฮอร์โมนหรือสารที่กระตุ้นเยื่อบุมดลูกให้หนาตัวผิดปกติ
มะเร็งเยื่อบุมดลูก
การวินิจฉัย
แพทย์จะทำการตรวจภายใน ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกดูดหรือขุดชิ้นเนื้อในโพรงมดลูกเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
รายที่เป็นติ่งเนื้อในโพรงมดลูก แพทย์อาจพิจารณานำชิ้นเนื้อในโพรงมดลูกนั้นออกมาตรวจด้วยวิธีส่องกล้องในโพรงมดลูก และตัดชิ้นเนื้อดังกล่าวออกมาส่งตรวจทางพยาธิวิทยาต่อไป
การรักษา
การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุของประจำเดือนผิดปกติ ได้แก่ การสังเกตอาการ การใช้ยาฮอร์โมน การผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพที่ตรวจพบ
มารับการตรวจภายใน ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ เพื่อแพทย์จะได้ให้การดูแลรักษาความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรก
การพยาบาล
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนการขูดมดลูก ให้คำแนะนำผู้ป่วยก่อนขูดมดลูก ผู้ป่วยควรได้รับความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนก่อนและหลังขูดมดลูก ข้อห้ามและข้อควรระวังหลังการขูดมดลูกไปแล้ว เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนภายหลังขูดมดลูก
แนะนำเตรียมความพร้อมทางด้านจิตใจโดยสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยด้วยท่าทีที่เป็นมิตร เปีดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถามข้อสงสัย ปลอบโยนให้กำลังใจและอธิบายถึงสาเหตุของโรค วิธีการ
ขูดมคลูกอย่างคร่าวๆ
แนะนำเตรียมตัวทางด้านร่างกายโดย งคน้ำและอาหารทางปากอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนการขูดมดลูกเพื่อไม่ให้เกิดการสำลักอาหารเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ อาบน้ำ สระผม ล้างสีเล็บ ถอดฟัน
ปลอมและไม่ใส่ของที่เป็นโลหะของมีค่าทุกชนิด
การพยาบาลผู้ป่วยหลังการขูดมดลูก
ประเมินระดับความรู้สึกตัวและอาการเจ็บปวดโดยกรซักถามและสังเกตอาการ
วัดและบันทึกสัญญาณชีพทุก 15 นาที 4 ครั้ง ทุก 30 นาที 2 ครั้ง และทุก 1 ชั่วโมง จนกว่าจะคงที่ ซึ่งควรวัดอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือตามแผนการรักษา
ใส่ผ้าอนามัยเพื่อสังเกตและประเมินปริมาณ ลักษณะ สี กลิ่นของเลือดที่ออกทางช่องคลอด
สังเกตอาการข้างเคียงของการได้รับยาระงับความรู้สึกและอาการทั่วไป เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ซีด วิงเวียนศีรษะ ถ้ามีอาการปวดท้องมากดูแลให้ได้รับยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
ดูแลให้ถ่ายปัสสาวะภายใน 8 ชั่วโมง หลังขูดมดลูก หากไม่ถ่ายปัสสาวภายใน8 ชั่วโมง ควรช่วยกระตุ้น ถ้ายังไม่ถ่ายปัสสาวะให้รายงานแพทข์เพื่อพิจารณาสวนปัสสาวะ
amenorrhea
สาเหตุของการขาดระดูปฐมภูมิ
สาเหตุมักเกิดจากความผิดปกติทางกายวิภาคของระบบสืบพันธุ์มาตั้งแต่กำเนิด หรือมีความผิดปกติของโครโมโซม ทำให้มีผลต่อการทำงานของรังไข่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเพศได้ตามปกติ
สาเหตุของการขาดระดูปฐมภูม
การตั้งครรภ์ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด
ภาวะ Polycystic ovary syndrome (PCOS)คือภาวะที่รังไข่เกิดภาวะตกไข่ไม่สม่ำเสมอหรือไม่ตกไข่เรื้อรังเกิดเป็นถุงน้ำเล็กๆหลายใบในรังไข่จากภาวะไข่ไม่ตกยังไม่ทราบสาเหตุของโรคนี้แน่ชัด
ภาวะทำงานผิดปกติของต่อมไทรอยด์
ภาวะเครียด
5.ภาวะอ้วน (Obesity)
การทำงานของรังไข่ล้มเหลวก่อนกำหนดจากการฉายรังสี/รังสีรักษาการให้ยาเคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็ง
ภาวะที่มีน้ำนมไหล (Galactorrhoea) โดยที่ไม่ได้อยู่ในระยะให้นมบุตร
โรคทางจิตเวชเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร มีการควบคุมอาหารอย่างมากเนื่องจากมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับรูปร่างและน้ำหนัก ทำให้น้ำหนักลดลงอย่างมาก เกิดภาวะผอมอย่างรุนแรง ส่งผลให้เกิดการขาดสารอาหารทำให้กระทบต่อการทำงานของรังไข่ เกิดภาวะไม่ตกไข่ หรือตกไข่ไม่สม่ำเสมอ
นักกีฬามาราธอน หรือบุคคลที่ออกกำลังกายอย่างหนักหน่วง
การตีบตันของปากมดลูก ช่องคลอด และหรือโพรงมดลูกเนื่องจากพังผืดหรือหลังการขูดมดลูกทำให้เลือดระดูไม่สามารถไหลออกมาทางช่องคลอดตามปกติได้
การพยาบาล
กรณีที่รับการรักษาด้วยฮอร์โมนเพศ ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ที่จำเป็นต้องรักษาด้วยฮอร์โมนส่วนใหญ่จะเป็นพวก ovarian dysgenesis และต้องมีการเตรียมผู้ป่วยก่อนรับการรักษาด้วยฮอร์โมนดังนี้
1.1 อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจและยอมรับสภาพของความผิดปกติที่เป็นอยู่
1.2 อธิบายให้ทราบถึงการรักษาด้วยฮอร์โมน อาจต้องใช้ฮอร์โมนเป็นระยะเวลานาน และบางรายอาจจะต้องใช้ฮอร์โมนตลอดชีวิต
1.3 อธิบายให้ญาติทราบว่าจำเป็นต้องได้รับการประคับประคองทางด้านจิตใจในการที่จะยอมรับสภาพความเป็นจริงและสามารถปรับตัวกับสภาพความผิดปกติของร่างกายที่เกิดขึ้นได้
1.4 อธิบายให้ทราบว่าผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียดว่าไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่จะมีอันตรายในระหว่างการรักษาด้วยฮอร์โมน
กรณีที่รับการรักษาโดยการผ่าตัด การผ่าตัดที่พบบ่อยคือผู้ป่วยที่เยื่อพรหมจารีไม่มีรูเปิด และผู้ป่วยที่มีช่องคลอดตีบตัน
การพยาบาลทางด้านจิตใจ สตรีที่มีความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ เมื่อได้รับการตรวจและวินิจฉัยแล้ว จะได้รับความกระทบกระเทือนทางด้านจิตใจ เกิดความหวาดกลัว บางรายอาจไม่ยอมรับการรักษา พยาบาลจะต้องมีความระมัดระวังในการให้การพยาบาลผู้ป่วยประเภทนี้ จะต้องมีความรู้สึกไวต่อการเปลี่ยนแปลง ไวต่อปฏิกิริยาของผู้ป่วยและรับฟังความรู้สึกของผู้ป่วยที่ระบายออกมา
พยาบาลต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการตรวจและความจำเป็นที่ต้องตรวจเพื่อลดความวิตกกังวล ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการตรวจ
ภาวะขาดระดู (Amenorrhea)
รอบระดูปกติ คือมีระยะห่างระหว่างรอบ 21 - 35 วัน โดยระยะเวลาที่มีเลือดระดูในแต่ละรอบไม่เกิน วัน และไม่มีเลือดระดูออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน
ภาวะชาดระดูปฐมภูมิ(Primary amenorhea) คือภาวะที่สตรีไม่เคยมีระดูเลยตั้งแต่สาว (ใช้เกณฑ์อายุ 15 ปี ยังไม่เคยมีระดู หรือ 13 ปี ยังไม่มีลักษณะพัฒนาการทางเพศขั้นที่สองของสตรี เช่น การมีเต้านม ขนหัวหน่าว ขนที่อวัยวะเพศ และการมีระดู)
ภาวะขาดระดูทุติยภูมิ(Secondary amenorhea) คือภาวะที่สตรีเคยมีระดูมาก่อน แต่ต่อมามีการขาดระดูติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน หรือ 3 รอบ
dysmenorrhea
อาการปวดประจำเดือน
ผู้หญิงจำนวนมากมีอาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือน 1-2 วัน และระหว่างมีประจำเดือนในช่วงวันแรกๆ อาการปวดประจำเดือน (dysmenorrhea) มีตั้งแต่อาการปวดหน่วงหรือปวดเกร็งเล็กน้อย ไปจนถึงอาการปวดขั้นรุนแรงบริเวณท้องน้อยและอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดหลังด้านล่าง คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออก ท้องเสียหรือท้องผูก ท้องอืด เวียนศีรษะและปวดศีรษะ เป็นต้น
สาเหตุของการปวดประจำเดือน
โดยเฉลี่ยทุกๆ 28 วัน หากไข่ไม่มีอสุจิมาผสม เยื่อบุโพรงมดลูกจะหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน อาการปวดประจำเดือนเกิดจากสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน ชื่อว่า โพรสตาแกลนดิน (prostaglandin) ซึ่งก่อตัวขึ้นที่เยื่อบุโพรงมดลูกระหว่างมีประจำเดือน โพรสตาแกลนดินทำให้กล้ามเนื้อบีบตัวและหดเกร็งคล้ายกับอาการเจ็บปวดขณะคลอดบุตร นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย หากร่างกายหลั่งสารนี้ในปริมาณมากจะยิ่งเพิ่มความรุนแรงของอาการบีบรัด ทำให้รู้สึกปวดประจำเดือนยิ่งขึ้น
ประเภทของอาการปวดประจำเดือน
ปวดประจำเดือนประเภทปฐมภูมิ (Primary Dysmenorrhea) เป็นอาการปวดประจำเดือนที่พบบ่อยที่สุด สาเหตุมักเกิดจากการที่เยื่อบุโพรงมดลูกผลิตสารโพรสตาแกลนดินมากเกินไป
ปวดประจำเดือนประเภททุติยภูมิ (Secondary Dysmenorrhea) เกิดจากภาวะผิดปกติของมดลูกหรืออวัยวะสืบพันธุ์อื่นๆ เช่น
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis)
การป้องกันและบรรเทาอาการปวดประจำเดือน
ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบท้องน้อยและหลัง
อาบน้ำอุ่น
ใช้เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น โยคะหรือนั่งสมาธิ
รับประทานยาต้านการอักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs) ควรรับประทานเมื่อเริ่มมีอาการปวดหรือก่อนมีอาการปวด การรับประทานยาแก้ปวดอาจมีผลข้างเคียง ดังนั้นควรใช้เมื่อมีอาการปวดอย่างรุนแรงเท่านั้น
พักผ่อนให้เพียงพอ
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
รับประทานผักและผลไม้ ลดปริมาณอาหารที่มีไขมัน เกลือ เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และขนมหวาน
การพยาบาล
ประเมินระดับความปวดของผู้ป่วยใช้ Pain score ในการประเมินและสังเกตพฤติกรรม
Pain score 1-3 คะแนน ผู้ป่วยมีอาการปวดในระดับน้อย (mild pain) จะพิจารณายา Acetaminophen และ/หรือยากลุ่ม Nonsteroidal anti-inflammatory (NSAIDs) ซึ่งจัดเป็นยากลุ่ม Non-opioid (Non-opioid analgesia) และต้องประเมินอาการปวดภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังจากได้รับประทานยาแก้ปวดไปแล้วหากผู้ป่วยยังมีอาการปวดเล็กน้อยอาจพิจารณา เพิ่มกลุ่มยาแก้ปวดเสริม (Adjuvant analgesia หรือ Coanalgesic therapy) เพื่อช่วยทำให้ระงับอาการปวดได้ดีขึ้นแต่ถ้าอาการปวดไม่บรรเทาและเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นทั้งๆที่ได้รับการรักษาด้วยยา ดังกล่าวแล้ว ควรเปลี่ยนเป็นกลุ่มยาแก้ปวดระดับที่2
Pain score 4-6 คะแนน ผู้ป่วยมีอาการปวดในระดับปานกลาง (moderate pain) จะพิจารณาเริ่มต้นรักษาด้วยยากลุ่ม Weak opioid เช่นcodeine, Tramadol หรือ Ultracet (1 เม็ดจะประกอบด้วยตัวยา tramadol 37.5 ม.ก.และacetaminophen 325 ม.ก.) หากยงั มีอาการปวดเล็กน้อย อาจพิจารณาเพิ่มยาแก้ปวดกลุ่ม Non-opioid และ/หรือยาแก้ปวดเสริม (adjuvant analgesia) โดยเลือกชนิดกลุ่มยาให้เหมาะสมกับประเภทของอาการปวด แต่ถ้าอาการปวดไม่บรรเทาและเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นทั้งๆที่ได้รับการรักษาด้วยยาดังกล่าวแล้ว ควรเปลี่ยนเป็นกลุ่มยาแก้ปวดระดับที่3
Pain score 7-10 คะแนน ผู้ป่วยมีอาการปวดในระดับรุนแรง (severe pain) จะพิจารณารักษาด้วยยากลุ่ม Strong opioid เช่น Morphine, Fentanyl, Methadone, Oxycodone, และ Hydromorphone (ประเทศไทยยังไม่มียา Oxycodone และ Hydromorphone) นอกจากนี้อาจพิจารณาใช้ยากลุ่ม Non-opioid และ/หรือยาแก้ปวดเสริม (adjuvant analgesia) ร่วมด้วย หากผู้ป่วยยังมีอาการปวดอีกเล็กน้อย
จัดให้ผู้ป่วยนอนในท่าที่สุขสบาย เช่น นอนขดตัวแบบนอนตะแคง : เป็นท่าเดียวกันกับท่าทารกขดตัวในครรภ์มารดาโดยงอเข่าติดกับศอก ซึ่งท่านี้จะช่วยลดการกดทับท้องน้อยช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนท่านอนหงาย : ใช้หมอนมาหนุนใต้เข่าจะช่วยให้กระดูกสันหลังไม่อยู่ในลักษณะโค้งเกินไป
แนะนำหรือหากิจกรรมเบา ๆ เช่น โยคะ นั่งสมาธิ ให้ผู้ป่วยทำเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจและลดอาการปวด
ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวลเพื่อลดการกระทบหรือโดนบริเวณที่ผู้ป่วยเจ็บ
แนะนำให้ประคบร้อนหรือประคบอุ่นเพื่อบรรเทาอาการปวด
แนะนำให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ
ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวลเพื่อลดการกระทบหรือโดนบริเวณที่ผู้ป่วยเจ็บ