Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
หนองใน (Gonorrhea)
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียนัยชีเรียโกโนเรีย (Neisseria Gonorrhea) หรือ จี.ซี.(G.C.)มีความจำเพาะต่อเซลล์ columnar epithelial ที่บริเวณเยื่อบุผิวของอวัยวะสืบพันธุ์ เชื้อจะเกาะติดเซลล์เยื่อบุผิวโดยอาศัย pili โปรตีน Opa ช่วยให้เชื้อเกาะเซลล์เยื่อบุผิวดีขึ้น จากนั้นเชื้อเข้าสู่ภายในเซลล์โดยขบวนการ parasite-directed endocytosis โปรตีน Por สัมพันธ์กับการ ติดเชื้อลุกลามเนื่องจากมีฤทธิ์ยับยั้งการทำลายเชื้อจากคอมพลีเมนต์
ระยะฟักตัว
จะเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 3-5 วัน ที่พบบ่อยคือ 1-14วัน
แหล่งเชื้อ
น้ำอสุจิ ตกขาวหรือหนองจากช่องคลอดหรือปลายองคชาต
การติดต่อ
โดยการมีเพศสัมพันธ์หรือสัมผัสทางเพศกับผู้เป็นโรค
อาการ
ผู้หญิง
ตกขาวเป็นหนอง มักมีอาการปัสสาวะขัดหรือเจ็บแสบ มีอาการอักเสบของท่อปัสสาวะช่องคลอด ปากมดลูก และทวารหนักอาจมีการอักเสบของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานอย่างรุนแรง จนเป็นหนอง ทำให้ท่อนำไข่ตีบตัน มีผลให้เป็นหมัน และท้องนอกมดลูกได้ เชื้อนี้สามารถแพร่เข้าสู่กระแสเลือดทำให้เกิดการอักเสบของข้อนิ้ว ข้อมือ ข้อเข่า และข้อเท้า
ผู้ชาย
ปัสสาวะแสบขัด มีหนองไหลจากท่อปัสสาวะ มีฝีที่ผนังท่อปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ตีบตัน
ทำให้ต่อมลูกหมากอักเสบ อัณฑะอักเสบ และทำให้เป็นหมันได้
การพยาบาล
1.การพยาบาลเพื่อการป้องกันโรค
1.ให้ความร้เกี่ยวกับกายวิภาคและ สรีรวิทยาสตรี
แนะนําการทำความสะอาดร่างกาย และอวยัวะสืบพันธ์ุอย่างถูกวิธี
แนะนําการรักษาสุขอนามัยทางเพศ
แนะนําให้สังเกตอาการติดเชื้อในระบบสืบพันธ์ุ เช่น ไข้สูง ปวดท้องน้อย
หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธุ์ที่ไม่ปลอดภัย
2.ดูแลและให้ยาปฏิชีวนะตามการรักษาของแพทย์
Ceftriaxone,Cefixime เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มเซฟาโลสปอริน (cephalosporin) ตัวยามีฤทธิ์เข้าจับกับ penicilin-binding protein (PBPs) ที่จะยับยั้งกระบวนการทรานส์เปปทิเดชันในขั้นตอนสุดท้ายของการสังเคราะห์เปปทิโดไกลแคนของผนังเชลล์ ของแบคทีเรีย เป็นผลให้ยับยั้งสารชีวสังเคราะห์ของผนังเซลล์แบคทีเรียและ หยุดการประกอบโครงสร้างของผนังเซลล์ เซฟไตรอะโซน(Ceftriaxone) มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อที่กว้าง ในแบคทีเรียที่มีเอนไซม์บีต้าเลคแตมเมสเพื่อทำลายยา
การพยาบาลเพื่อไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ
3.1 งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะรักษาหายทั้งผู้ป่วยและคู่นอน ถ้าจำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัย
3.2 รับประทานยา หรือรับการรักษาจนครบตามแผนการรักษาของแพทย์
3.3 ดูแลความสะอาดร่างกาย และความสะอาดของเสื้อผ้า ชุดชั้นใน ไม่ใส่ซ้ำ ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น
3.4 ดูแลความสะอาดอวัยวะเพศทุกครั้งหลัง ขับถ่ายโดยล้างจากด้านหน้าไปด้านหลัง แล้วซับให้แห้งด้วยผ้าหรือทิชซูที่สะอาด
3.5 มารับการตรวจรักษาตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ
3.6 ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น ตกขาวมีกลิ่นเหม็น หรือมีหนองไหลจากอวัยวะเพศ ควรไปพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง
3.7 หากคู่นอนมีอาการน่าสงสัย ควรแนะนำ พามาพบแพทย์ และใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์
หนองในเทียม (Non-gonoccal urethritis)
กลไกลการเกิด/สาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า คลามัยเดียทราโคมาติส (Chlamydia Trachomatis) จากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันกับผู้ที่ติดเชื้อ เชื้อสามารถแพร่ติดต่อได้หลายทาง เช่น ทางอวัยวะเพศ ทางทวารหนัก ทางปาก หรือแม้กระทั่งทางตา รวมไปถึงการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกในขณะตั้งครรภ์ และเป็นโรคที่พบมากในวัยรุ่น สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งเพศชายและเพศหญิง
อาการและอาการแสดง
อาการของหนองในเทียม ในช่วงแรกอาจจะยังไม่แสดงอาการให้พบเห็น หลังได้รับเชื้อแล้วในระยะเวลา 1-3 สัปดาห์ จะแสดงอาการแตกต่างกันออกไปตามเพศ
เพศชาย
มีมูกใสหรือขุ่นไหลออกจากปลายอวัยวะเพศ ซึ่งไม่ใช่ปัสสาวะหรือน้ำอสุจิ
มีอาการอักเสบที่บริเวณหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ
รู้สึกเจ็บหรือแสบที่อวัยวะเพศขณะปัสสาวะ
รู้สึกปวดหรือมีการบวมที่ลูกอัณฑะ
เพศหญิง
มีตกขาวลักษณะผิดปกติและมีกลิ่นเหม็น
รู้สึกเจ็บหรือแสบที่อวัยวะเพศขณะปัสสาวะ
รู้สึกคันหรือแสบร้อนบริเวณรอบอวัยวะเพศ
รู้สึกเจ็บท้องน้อยเวลามีประจำเดือนหรือขณะมีเพศสัมพันธ์
การพยาบาล
1.แนะนำการทำความสะอาดร่างกายและอวัยวะสืบพันธ์อย่างถูกวิธี
2.ให้ความรู้เกี่ยวกับช่องทางการติดต่อของหนองในเทียมและการแพร่กระจายไปสู่บุคคลอื่น
3.ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยรักษาหรือป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายของแบคทีเรีย ได้แก่ ยาอะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin),อะซิโธรมัยซิน (Azithromycin), อิริโทรมัยซิน (Erythromycin), ร็อกซิโทรมัยซิน (Roxithromycin)
4.อธิบายวิธีการป้องกันหนองในเทียมให้ผู้ป่วย
ใช้ถุงยางอนามัยให้ถูกวิธีทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
ควรมีคู่นอนเพียงคนเดียวการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นหนองในเทียมและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ
หลีกเลี่ยงการสวนล้างภายในร่างกาย โดยเฉพาะในเพศหญิง เพราะจะเป็นการลดจำนวนแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อช่องคลอด และเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
5.แนะนำให้ไปพบแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจร่างกาย ตรวจเลือด หรือตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ซิฟิลิส (Syphilis)
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า ทริปโปนีมา พัลลิดุม (Treponema Pallidum) จากการสัมผัสถูกเชื้อโดยตรงจากแผลของผู้ป่วย โดยเฉพาะในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ที่มักสุ่มเสี่ยงกับการติดเชื้อได้มากที่สุด จึงมักถูกจัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้การใช้เข็มฉีดยารวมกับผู้อื่น การรับเลือดจากผู้อื่น รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์ที่มีเชื้อสามารถส่งผ่านเชื้อไปยังทารกในครรภ์ได้เช่นกัน
ในช่วงระยะที่ 1-2 ของการติดเชื้อจะสามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ง่ายมากที่สุด อย่างไรก็ตามการใช้สิ่งของร่วมกันในบางกรณีที่ไม่ได้สัมผัสกับเชื้อโดยตรงอาจไม่เกิดการแพร่กระจายของเชื้อ เช่น การใช้ห้องน้ำ การสวมเสื้อผ้า หรือใช้ช้อนส้อมร่วมกัน
รวมไปถึงระยะสงบของโรคที่มักไม่ค่อยมีอาการและไม่เกิดการติดต่อ
การติดต่อ
1.ทางเพศสัมพันธ์ เชื้อโรคซิฟิลิสติดต่อทาง
เพศสัมพันธ์โดยติดผ่านทางเยื่อบุช่องคลอดท่อปัสสาวะ
2.ทางเข็ม ของมีคม บาดแผล โดยสัมผัสทางแผล หากผิวหนังที่มีแผลสัมผัสกับแผลสารคัดหลั่ง เลือดที่มีเชื้อหรือการใช้เข็ม ของมีคมที่มีเชื้อร่วมกันทำให้เกิดการติดเชื้อได้(ระยะที่สอง เป็นระยะที่มีปริมาณเชื้อในกระแสเลือดมาก)
3.จากมารดาที่ตั้งครรภ์และเป็นโรคซิฟิลิส เชื้อสามารถติดจากมารดาไปทารกขณะตั้งครรภ์และคณะคลอดได้
อาการ
ระยะที่ 1 (Early/Primary Syphilis)
เกิดแผลขนาดเล็กบริเวณที่ได้รับเชื้อ ก้นขอบแผลมีลักษณะเรียบและแข็งที่เรียกว่า แผลริมแข็ง (Chancre) โดยเฉพาะตามอวัยวะเพศและริมฝีปากหลังการได้รับเชื้อประมาณ 3 สัปดาห์ แต่ก็อาจพบอาการได้ในช่วง 10-90 วัน มักไม่มีอาการเจ็บปวดและจะค่อย ๆ หายไปได้เองภายใน 6 สัปดาห์แม้ไม่ได้รับการรักษา
ระยะที่ 2 (Secondary Stage)
โรคจะเริ่มพัฒนาจากระยะแรกใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือน ผู้ป่วยจะเริ่มเกิดผื่นที่มีลักษณะตุ่มนูนคล้ายหูดขึ้นตามบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า อวัยวะเพศ หรือส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ขาหนีบ ทวารหนัก ภายในช่องปาก แต่ไม่มีอาการคันตามผิวหนัง บางรายอาจมีอาการเจ็บคอ มีปื้นแผ่นสีขาวในปาก เป็นไข้ ต่อมน้ำเหลืองบวม เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด ผมร่วง หรืออาการอื่น ๆ
แต่อาการเหล่านี้มักจะหายไปแม้ไม่ได้รับการรักษาเช่นกัน
ระยะที่ 3 (Tertiary Syphilis)
หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะทำให้โรคพัฒนามาจนถึงระยะสุดท้ายที่ก่อให้เกิดความผิดปกติและภาวะแทรกซ้อนที่หัวใจ สมอง เส้นประสาท หรืออวัยวะหลายส่วนของร่างกายเมื่อเชื้อไปอยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งจะนำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น อัมพาต ตาบอด ภาวะสมองเสื่อม หูหนวก ไร้สมรรถภาพทางเพศ โรคหัวใจ เสียสติ และมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
การป้องกัน
แนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยตลอดการตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อขณะตั้งครรภ์
แนะนำให้คุมกำเนิดโดยถุงยางอนามัย หรือใส่ห่วงอนามัย
แนะนำงดเหล้า บุหรี่ และการทำงานหนักเพราะจะทำให้การกำเนิดของโรครุนแรงขึ้น
ควรหลีกเลี่ยงแปรงสีฟันร่วมกันและใช้ช้อนกลาง
หลีกเลี่ยงการใช้มีดโกน ที่ตัดเล็บร่วมกัน
การพยาบาล
ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคซิฟิลิสเป็นรายบุคคลโดยการพูดคุย ดูดีวีดี และอ่านคู่มือเรื่องโรคซิฟิลิสที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพยาธิสภาพของโรคเกิดจากแบคทีเรียชนิดหนึ่งเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อเมือก เยื่อบุตา ผิวหนังที่มีแผล และเข้าสู่กระแสเลือดไปจับตามอวัยวะต่างๆของร่างกกายมี4ระยะแต่ละระยะมอีาการแตกต่างกัน ระยะแรกจะมีแผลที่บริเวณอวัยวะเพศระยะที่ 2 มีผื่น ตามตัว ฝ่ามือฝ่าเท้า หรืออาจมีไข้ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย อ่อนเพลียได้ ระยะที่ 3 ไม่มี อาการแสดงของโรคแต่สามารถตรวจเลือดพบผลบวกซิฟิลิสได้ ระยะที่ 4 เชื้อซิฟิลิสทำลาย อวัยวะต่างๆ ได้แก่ สมอง ไขสันหลัง หัวใจ และหลอดเลือด เชื้อซิฟิลิส ติดต่อจากเพศสัมพันธ์
ดูแลการให้ยาฉีด โดยยา Benzathine penicillin ตามการรักษาของแพทย์
3.แนะนำผู้ป่วยดูแลการทำความสะอาดอวัยวะเพศอย่างถูกวิธี
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกและซักถามในสิ่งที่สงสัยเพิ่มเติม
ชื่มชมผู้ป่วยที่มีความเข้าใจและปฏิบัติได้ถูกต้อง ให้กำลังใจและเสริมพลังเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการนำไปปฏิบัติจริง
แผลริมอ่อน (Chancroid)
กลไกการเกิด
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Haemophilus Ducreyi ทำให้เกิดเป็นแผลบริเวณอวัยวะเพศร่วมกับอาการเจ็บหรือปวด และต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบโต
พบได้บ่อยในประเทศแถบอากาศร้อน
สาเหตุ
กิดจากการสัมผัสโดนของเหลวจากแผลโดยตรง ซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น ทางผิวหนังที่เกิดบาดแผลหรือมือที่มีเชื้อไปสัมผัสโดนดวงตา
รวมถึงการสัมผัสถูกเชื้อในขณะมีเพศสัมพันธ์ทุกรูปแบบ ทั้งการร่วมเพศทางปาก ทางทวารหนัก หรือการมีเพศสัมพันธ์แบบชายหญิงโดยปกติ
ระยะฟักตัวของโรคจะอยู่ในช่วง 1 วัน-2 สัปดาห์ แต่เฉลี่ยจะอยู่ประมาณ 5-7 วัน จึงเริ่มพัฒนาอาการให้เห็นชัดตามมา
ลักษณะทางคลินิก
อาการ
ตุ่มนูนแดงและเจ็บ หลังจากนั้นแตกเป็นแผล กันแผลมีหนอง ขอบแผลนูน ไม่แข็ง รอบๆ แผลจะอักเสบแดง มีอาการเจ็บมาก แผลเล็กๆ จะรวมกันเป็นแผลใหญ่ ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบจะโต กดเจ็บ บางคนแตกเป็นหนอง
อาการแสดง
แผลริมอ่อนในผู้หญิง
เกิดตุ่มแดงเล็กขึ้นบริเวณอวัยวะเพศมากกว่าเพศชาย โดยจะมีอาการเจ็บปวดน้อยกว่าเพศชาย มักพบแผลในแคมเล็ก อวัยวะเพศ ต้นขา ขาหนีบ ปากช่องคลอด ซึ่งลักษณะของอาการแผลริมอ่อนในเพศหญิงมีความคล้ายคลึงกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น หรือบางรายอาจไม่แสดงอาการของโรคริมอ่อนอย่างชัดเจน ส่งผลให้สังเกตอาการได้ยากและอาจแพร่เชื้อสู่คู่นอนโดยไม่รู้ตัว
แผลริมอ่อนในผู้ชาย
เกิดตุ่มแดงเล็กขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ใต้หนังหุ้มปลายองคชาต หรือ ถุงอัณฑะ โดยที่แผลอาจลุกลามเป็นแผลเปื่อยได้ภายใน 1-2 วัน ซึ่งผู้ติดเชื้อจะมีอาการเจ็บหรือแสบร้อนบริเวณที่เกิดแผล
การพยาบาล
1 . การพยาบาลเพื่อป้องกันโรค
-ให้ความรู้เกี่ยวกับกายวิภาคและสรีรวิทยาของเพศชาย และเพศหญิง
แนะนำการทำความสะอาดร่างกายและอวัยวะสืบพันธ์อย่างถูกวิธี
แนะนำการรักษาสุขอนามัยทางเพศ
แนะนำให้สังเกตอาการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ เช่น ไข้สูง ปวดท้องน้อย มีอาการคัน
หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธุ์ที่ไม่ปลอดภัย
2 . ประเมินภาวะติดเชื้อ โดยวัดสัญญาณชีพ ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อสังเกตและประเมินอาการของผู้ป่วย
3 . ดูแลผู้ป่วยให้ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนอย่างเพียงพอ
4 . แนะนำให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความสำคัญของการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง และมาตรวจตามแพทย์นัด
5 . ให้การประคับประคองจิตใจ เอาใจใส่ พูดคุย สอบถาม
6 . ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวะตามแผนรักษาของแพทย์ โดยยาที่ใช้ ได้แก่ Ceftriaxone, Ciprofloxacin, Erythromycin และ Azithromycin มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ช่วยบรรเทาอาการบริเวณแผลริมอ่อน และลดรอยแผลเป็นให้ดีขึ้นได้ภายใน 1 อาทิตย์ ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของแผลในผู้ป่วยแต่ละรายด้วยเช่นกัน
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการต่อมน้ำเหลืองโตมีขนาดใหญ่มาก แพทย์อาจจะต้องทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเจาะระบายน้ำหนองออกเพื่อลดอาการบวมของแผล ซึ่งวิธีนี้จะใช้ระยะเวลาในการรักษาประมาณ 1-3 เดือน พร้อมทั้งติดตามและรักษาคู่เพศสัมพันธ์แม้ไม่มีอาการ
7 . ดูแลทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและบริเวณทวารหนัก เพื่อความสะอาดและไม่มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
การป้องกัน
ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคนี้หรือมีบาดแผลบริเวณอวัยวะเพศ
ควรสวมถุงยางป้องกันทุกครั้งก่อนการมีเพศสัมพันธ์
รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศ
ผู้เป็นโรคควรงดการมีเพศสัมพันธ์ทุกรูปแบบ หรือในรายที่คาดว่าได้รับเชื้อควรงดการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 10 วัน และไปพบแพทย์ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
เริม (Herpes simplex)
สาเหตุ
โรคติดเชื้อจากไวรัสที่มีชื่อว่า Herpes simplex virus
HPV Type 1 ลําตัว
HPV Type 2 อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ซึ่งการได้รับเชื้อไวรัสครั้งแรก เกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่เป็นโรคซึ่งอาจแสดงอาการหรือไม่ก็ได้ เชื้อไวรัสจะเข้าสู่ผิวหนังทำให้เกิดเป็นโรคเริมครั้งแรกหลังจากนั้นเชื้อไวรัสจะเข้าสะสมในปมเส้นประสาท และเมื่อมีปัจจัยกระตุ้น เชื้อจะเคลื่อนจากปมประสาทมาตามเส้นประสาทจนถึงปลายประสาทและเกิดโรคซ้ำที่ผิวหนังหรือเยื่อบุ การเกิดโรคพบได้ในหลายตำแหน่งเช่น ที่ริมฝีปากหรือบริเวณอวัยวะเพศ
อาการ
ระยะฟักตัวประมาณ 3-7 วันหลังได้รับเชื้อ ส่วนมากผู้ป่วยมักไม่มีอาการ แต่ถ้ามี อาการจะรุนแรง พบเป็นกลุ่มของตุ่มน้ำ แตกเป็นแผลตี้นๆ มักมีอาการเจ็บ ปวดแสบร้อน แผลจะค่อยๆแห้งตกสะเก็ดและหายในระยะเวลาประมาณ 2-6 สัปดาห์ อาจมีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หรือต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วยได้ เริมสามารถเป็นซ้ำได้ โดยอาการจะน้อยกว่า ตุ่มน้ำจะมีขนาดเล็กกว่า จำนวนตุ่มน้ำน้อยกว่าการเป็นครั้งแรก ผู้ป่วยอาจมีอาการนำ เช่น อาการคัน แสบร้อนบริเวณที่จะเป็น ต่อมาจะมีกลุ่มของตุ่มน้ำเกิดขึ้น ในตำแหน่งใกล้เคียงกับตำแหน่งเดิม การเป็นซ้ำมักไม่มีอาการอื่นๆ เช่น ไข้ร่วมด้วย
ซึ่งโรคเริมส่วนใหญ่ อาการไม่รุนแรง และหายเองได้ โดยเฉพาะเริมที่กลับเป็นซ้ำ
การพยาบาล
ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนและดื่มน้ำมาก ๆ
หากผู้ป่วยมีไข้สูง ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อย ๆ และรับประทานยาพาราเซตามอลบรรเทาไข้
ใช้น้ำเกลือกลั้วปากถ้ามีแผลในปาก
ตัดเล็บสั้น ไม่แกะเกา และอาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาด เพื่อป้องกันมิให้ตุ่มกลายเป็นหนองและ
-ใช้ผ้าก็อซชุบน้ำเกลือหรือน้ำต้มสุกประคบทำความสะอาดแผล
ดูแลให้การทายาต้านไวรัสมีประโยชน์น้อยโดยเฉพาะรอยโรคที่อวัยวะเพศ และอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้ - ดูแลให้ได้การรับประทานยาต้านไวรัสเร็วภายใน 48 ชั่วโมงหลังมีอาการนำ จะสามารถลดระยะเวลาการเกิดโรค ลุดการแพร่เชื้อ และลดระยะเวลาเจ็บปวดได้ แต่เนื่องจากยามีผลข้างเคียงต่อไต รวมถึงต้องมีการปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์เมื่อเริ่มมีอาการเพื่อพิจารณาเรื่องยาต้านไวรัส
การป้องกันเริมกลับเป็นซ้ำ
ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เริมเกิดเป็นซ้ำ
ถ้าเริมเป็นซ้ำบ่อยมากกว่า 6 ครั้งต่อปีหรือเริมที่เป็นซ้ำอาการรุนแรง หรือ การเป็นซ้ำมีผลลดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาการรับประทานยาต้านไวรัสทุกวันเพื่อป้องกันเริมกลับเป็นซ้ำแผลเป็น
การป้องกันการแพร่เชื้อของโรคเริม
ระยะแพร่เชื้อติดต่อให้ผู้อื่นคือ ตั้งแต่ เริ่มมีอาการนำจนกระทั่งแผลหายตกสะเก็ด
หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผล น้ำลาย สารคัดหลั่งของผู้ป่วย
ผู้ป่วยที่มีรอยโรคที่อวัยวะเพศ สามารถแพร่เชื้อให้คู่นอนได้ จึงควรงดการมี
เพศสัมพันธ์ตั้งแต่เริ่มมีอาการนำจนกว่าแผลจะหายสนิท
เนื่องจากโรค เริมสามารถแพเชื้อสู่คู่นอนได้แม้ผู้ป่วยไม่มีอาการจึงแนะนำให้ใช้ถุงยางทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
การรับประทานยาต้านไวรัสทุกวันสามารถลดการแพร่เชื้อได้ แต่เนื่องจากยามีผลข้างเคียง จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานยา