Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ - Coggle Diagram
คัมภีร์ฉันทศาสตร์
แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
เรื่องย่อ
แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ตอนคัมภีร์ฉันทศาสตร์ เปิดเรื่องด้วยบทไหว้ครู ซึ่งมีการไหว้พระรัตนตรัย ไหว้เทพเจ้าของพราหมณ์ ได้แก่ พระอิศวร พระพรหม ไหว้หมอชีวกโกมารภัจและไหว้ครูแพทย์โดยทั่วไป จากนั้นกล่าวถึงคัมภีร์ฉันทศาสตร์ที่ครูเคยสั่งสอน เปรียบเสมือนแสงสว่างแก่สรรพสัตว์ทั้งปวง รวมถึงสิ่งที่แพทย์ควรมีและสิ่งที่ไม่ควรกระทำ โดยทั่วไปจะมีความประมาท ความอวดดี ความริษยา ความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความหลงตัว และความไม่เสมอภาคในการรักษาคนรวยและคนจน
อีกจะกล่าวเปรียบเทียบร่างกายเหมือนกับบ้านเมือง โดยให้ความสำคัญกับดวงจิต ด้วยการเปรียบดวงจิตเป็นกษัตริย์ และเปรียบโรคภัยเป็นข้าศึก เปรียบแพทย์เป็นทหารที่มีความชำนาญ คอยดูแลปกป้องรักษาไม่ให้ร่างกายมีโรคภัย อีกทั้งดวงใจก็พยายามอย่าโกรธเพื่อไม่ให้โรคภัยคุกคามเร็วเกินไป ความรู้ความเชี่ยวชาญในการรักษาบำบัดรักษาโรค มีความสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อใดเกิดอาการเจ็บป่วย แพทย์ต้องรักษาโรคให้ทันท่วงที และรักษาให้ถูกโรค เนื่องจากอาการเจ็บป่วยอาจลุกลามจนรักษาไม่หายและควรรอบรู้ในการรักษาทั้งคัมภีร์พุทธไสย์อย่างรอบด้าน เพื่อให้สามารถวินิจฉัยและถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่นได้
กล่าวถึงอาการของโรคทับ ๘ ประการ ทับ คือ อาการของโรคอย่างหนึ่งซึ่งเกิดแทรกซ้อนโรคหนึ่งที่เป็นอยู่ก่อน ทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้นในคัมภีร์ฉันทศาสตร์กล่าวถึงทับ ๘ ประการ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดกับเด็กมีชื่อต่าง ๆ ดังนี้
๒. ทับสำรอก
๓. ทับละออง
๑. ทับสองโทษ
๔. ทับกำเดา
๕. ทับกุมโทษ
๖. ทับเชื่อมมัว
๗. ทับซาง
๘. ทับช้ำใน
เหตุผลในการสร้างหนังสือ
ใช้เพื่อสอนแพทย์ในสมัยนั้น
เป็นการรวบรวมภูมิปัญญาความรู้ของคนไทย
เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาโรค
ประวัติศาสตร์ในการรักษาโรคของคนไทย
ที่มา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้จัดพิมพ์ตำราแพทย์หลวงสำหรับโรงเรียนขึ้นใช้เป็นครั้งแรก เรียกว่า "ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์"
พระยาพิศณุประสาทเวช (คง ถาวรเดช)
จัดพิมพ์ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวงจำนวน ๒ เล่มจบสมบูรณ์ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
ในโอกาสครบ ๖ รอบของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ รัฐบาลจึงได้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ขึ้นอีกครั้ง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ประชุมคณะแพทย์หลวง เพื่อสืบค้นและรวบรวมตำราแพทย์จากที่ต่าง ๆ มาตรวจสอบชำระให้ตรงกับฉบับดั้งเดิม แล้วส่งมอบให้กรมพระอาลักษณ์เขียนลงสมุดไทย
ลักษณะคำประพันธ์
ผู้เขียนแต่งโดยใช้คำประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี 11
ผู้แต่ง
พระยาพิศณุประสาทเวช (คง ถาวรเวช) หรือที่เรียกกันว่า “หมอคง”
เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๖
เคยเป็นศิษย์ของพระยาประเสริฐศาสตร์ธำรง (หนู วรกิจพิศาล)
หมอคงเป็นหมอที่มีชื่อเสียงและเป็นหมอประจำโรงพยาบาลศิริราชตั้งแต่แรกก่อตั้ง เมื่อกิจการโรงพยาบาลศิริราชได้รับความนิยามมากขึ้น
กรมพยาบาลจึงจัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นมาตรงหน้าวังบูรพาภิรมย์ เป็นโรงพยาบาลสามัญ เรียกว่า “โรงพยาบาลบูรพา” หมอคงจึงย้ายไปประจำอยู่ที่นั่น
คุณค่าด้านต่างๆ
คุณค่าด้านเนื้อหา
สาระสำคัญของเรื่อง คือ ความสำคัญของแพทย์และคุณสมบัติที่แพทย์พึงมี ซึ่งจะช่วยรักษาโรคได้ผลมากกว่ารู้เรื่องนาอย่างเดียว
โครงเรื่อง มีการลำดับความเริ่มต้นด้วยบทไหว้ครู เป็นการไหว้พระรัตนตรัย ไหว้เทพเจ้าของพราหมณ์ ไหว้หมอชีวกโกมารภัจ และไหว้ครูแพทย์โดยทั่วไป ต่อด้วยความสำคัญของแพทย์ จรรยาบรรณแพทย์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่แพทย์พึงมี และตอนท้ายกล่าวถึงทับ ๘ ประการ
รูปแบบการแต่งคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์ เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้จากตำราอื่นๆ เกี่ยวกับแพทยศาสตร์ ซึ่งผู้แต่งเลือกใช้คำประพันธ์ประเภท กาพย์ยานี ๑๑ เริ่มต้นด้วยบทไหว้ครู และจรรยาบรรณของแพทย์ กับข้อควรปฏิบัติ
กลวิธีการแต่ง เนื้อหาจัดเป็นตำราเฉพาะด้าน เน้นการอธิบายเป็นส่วนใหญ่ จึงใช้อุปมาโวหารเปรียบเทียบ
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
๑.การสรรคำ
๑.๑ การใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมแก่เนื้อเรื่อง
ทำให้เข้าใจความหมายตรงไปตรงมา
๑.๒ การใช้สำนวนไทย ช่วยอธิบายให้ชัดเจนมากขึ้น
๒. การใช้โวหาร ทำให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายและเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น
คุณค่าด้านสังคม
๑. สะท้อนให้เห็นความเชื่อของสังคมไทย ฉันทศาสตร์มีความหมายว่า ตำรา (ศาสตร์) ที่แต่งเป็นสูตร (ฉันท์) ตามอย่างตำราการแพทย์ในคัมภีร์อาถรรพ์เวท ตำราอาถรรพ์เวท เป็นพระเวทหนึ่งในศาสนาพราหมณ์ จึงมีเรื่องเกี่ยวกับไสยศาสตร์ด้วย
๓. ให้ข้อคิดสำหรับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถนำข้อคิดที่ได้จากการศึกษาคัมภีร์ฉันทศาสตร์ไปใช้ได้ทุกสาขาอาชีพ
๒. สะท้อนให้เห็นคุณค่าเรื่องแพทย์แผนไทย ถ้าพิจารณาในส่วนที่กล่าวถึงทับ ๘ ประการ จะเป็นได้ว่าแพทย์แผนไทยเป็นวิธีการรักษาโรคอีกวิธีหนึ่ง เป็นแพทย์ทางเลือกที่มีความจำเป็นในการรักษาโรค
๔. ให้ความรู้เรื่องศัพท์ทางการแพทย์แผนโบราณ เช่น คำว่า “ธาตุพิการ”ธาตุทั้งสี่ (ดิน น้ำ ลม และไฟ) ในร่างกายไม่ปกติ ทำให้เกิดโรคต่างๆ ขึ้นตามกองธาตุเหล่านั้น