Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ - Coggle Diagram
นมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ
ผู้เเต่ง
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นกวีคนสำคัญในสมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านได้รับสมญานามว่าเป็น ศาลฎีกาภาษาไทย เพราะเป็นผู้แต่งตำราชุดแรกของไทย เรียกว่า “แบบเรียนหลวง” ใช้สอนในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และหนังสือกวีนิพนธ์ที่มีคุณค่าอีกหลายเรื่อง งานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง คือท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็น แม่กองตรวจโคลงบรรยายประกอบรูปภาพเรื่อง "รามเกียรติ์" รอบระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 100 ปี และตัวท่านเองก็ได้รับหน้าที่เป็นผู้แต่งด้วยท่านหนึ่ง
ความเป็นมา
ที่มาของบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ
เป็นบทประพันธ์รวมพิมพ์ในภาคเบ็ดเตล็ด หนังสือชุดภาษาไทยเล่มที่ ๒ ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
วัตถุประสงค์ในการเเต่ง
เพื่อสรรเสริญพระคุณของพระบิดามารดา และครูอาจารย์
บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และบทนมัสการอาจริยคุณ[1] เป็นบทสรรเสริญ พระคุณของบิดามารดาและครูอาจารย์ รวมอยู่ในคำนมัสการคุณานุคุณ ประกอบด้วยบทนมัสการ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ บทนมัสการมาตาปิตุคุณ บทนมัสการอาจริยคุณ บทสดุดีพระมหากษัตริย์ และบทสรรเสริญเทพยดา
คำนมัสการคุณานุคุณพิมพ์รวมอยู่ในงานชุดภาษาไทย ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร เล่ม ๓)
ลักษณะคำประพันธ์ของเรื่อง
พระยาศรีสุนทรโวหารเรียกฉันท์ที่ใช้ในการแต่งบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจารยคุณว่า “อินทะวะชิระฉันท์” แต่โดยทั่วไปเรียกว่า “อินทรวิเชียรฉันท์” ซึ่งมีการบังคับครุและลหุ แต่ผู้แต่งคือพระยาศรีสุนทรโวหารเลือกให้ความสำคัญกับเนื้อหา โดยเลือกสรรคำที่ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ความรู้สึก และใช้สำหรับเป็นบทบูชาสรรเสริญมากกว่าการแต่งให้ถูกฉันทลักษณ์ อย่างไรก็ตาม เพื่อน ๆ ก็สามารถอ่านให้ถูกฉันทลักษณ์ได้ เช่น คำว่า ชนนี สามารถอ่านว่า ชะ-นะ-นี เป็นต้น
อินทรวิเชียร์ฉันท์ ๑๑ หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามประดุจสายฟ้า ซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ นิยมใช้ในการแต่งข้อความซึ่งเป็นบทชม บทคร่ำครวญ และใช้แต่งเป็นบทพากย์โขน เพื่อน ๆ สามารถดูแผนผังการแต่งอินทรวิเชียร์ฉันท์ได้ที่นี่
เนื้อเรื่องย่อ
ในนมัสการมาตาปิตุคุณ จะกล่าวถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของบิดามารดาที่ต้องเหนื่อยเลี้ยงดูจนลูกเติบโต ส่วนนมัสการอาจริยคุณ จะกล่าวถึงพระคุณของครูอาจารย์ที่สั่งสอนให้ความรู้แก่ศิษย์ ซึ่งเราควรรำลึกถึงพระคุณของบิดามารดาตลอดจนครูอาจารย์
บทประพันธ์
ข้าขานบชนกคุณ ชนนีเป็นเค้ามูล
ผู้กอบนุกูลพูน ผดุงจวบเจริญวัย
ฟูมฟักทะนุถนอม บ บำราศนิราไกล
แสนยากเท่าไรๆ บ คิดยากลำบากกาย
กล่าวนอบน้อมพระคุณของบิดามารดา ผู้ได้เกื้อกูลมาตั้งแต่เล็กจนเติบโต คอยเฝ้าระวังรักษาประคับ ประคองดูแลอยู่ไม่ยอมห่าง
คุณค่า
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
มีการใช้ภาพพจน์เช่น อัปลักษณ์ คือ เปรียบเทียบระหว่างบุญคุณของพ่อแม่ กับสิ่งต่าง ๆ
คุณค่าด้านเนื้อหา
มีการสอนจริยธรรม จะเห็นได้ว่า บทเรียนเรื่องนี้ เป็นสิ่งที่เพื่อน ๆ นำไปใช้ได้จริง ด้วยการรู้จักสำนึกในพระคุณของบิดามารดาและครูอาจารย์ นับเป็นการใช้บทประพันธ์เพื่อปลูกฝังจริบธรรมได้เป็นอย่างดี
ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
เราทุกคนควรให้ความเคารพพ่อเเม่เเบะครูบาอาจารย์ เพราะพวกท่านเป็นผู้มีพระคุณ พวกท่านคอยดูเเล อบรมสั่งสอน เเละให้ความรู้เเก่เรา