Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
:explode: สรุปเรื่องนมัสการมาตาปิตุคุณและนมัสการอาจริยคุณ :explode:,…
:explode: สรุปเรื่องนมัสการมาตาปิตุคุณและนมัสการอาจริยคุณ :explode:
:red_flag: ที่มาเรื่องนมัสการมาตาปิตุคุณและนมัสการอาจริยคุณ
เป็นบทประพันธ์รวมพิมพ์ในภาคเบ็ดเตล็ด หนังสือชุดภาษาไทยเล่มที่ ๒ ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
:red_flag:ประวัติผู้เเเต่ง
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เกิดวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๕ เป็นผู้แต่งตำราภาษาไทย และเป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาไทยแก่เจ้านายในสมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ รวมสิริอายุได้ ๖๘ ปี
:red_flag:วัตถุประสงค์ใรการแต่ง
เพื่อสรรเสริญพระคุณของพระบิดามารดา และครูอาจารย์
:red_flag: ลักษณะคำประพันธ์
“อินทรวิเชียรฉันท์” ซึ่งมีการบังคับครุและลหุ
:red_flag: เนื้อเรื่องย่อ
ในนมัสการมาตาปิตุคุณ จะกล่าวถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของบิดามารดาที่ต้องเหนื่อยเลี้ยงดูจนลูกเติบโต ส่วนนมัสการอาจริยคุณ จะกล่าวถึงพระคุณของครูอาจารย์ที่สั่งสอนให้ความรู้แก่ศิษย์ ซึ่งเราควรรำลึกถึงพระคุณของบิดามารดาตลอดจนครูอาจารย์
:red_flag: บทประพันธ์ที่รู้สึกประทับใจ คือ เรื่อง นมัสการมาตาปิตุคุณ
เพราะ เพราะทำให้เราได้รู้จักบุญคุณพ่อแมีที่ได้เลี้ยงเรามาตั้งแต่เล็กจนโตด้วยความยากลำบากแต่ท่านก็เลี้ยงดูเรามาถึงแม้เราจะตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ยังไงก็ไม่สามารถตอบแทนหมดได้
:red_flag: วิเคราะห์คุณค่า
ด้านเนื้อหา
บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และบทนมัสการอาจริยคุณ มุ่งปลูกฝังให้สำนึก ในพระคุณของบิดามารดาและครูอาจารย์อันเป็นพระคุณที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งท่านเหล่านี้เป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ตัวที่สุด ผู้ที่มีความกตัญญูกตเวทีย่อมทำดีและคิดดี ความกตัญญูจึงเป็นเครื่องหมายของคนดี
ด้านวรรณศิลป์
การใช้ภาพพจน์ “อุปลักษณ์” ในการเปรียบเทียบ เปรียบหนักชนกคุณ ชนนีคือภูผา ใหญ่พื้นพสุนธรา ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน
การซ้ำคำ มีการใช้คำที่ออกเสียงเหมือนกันมาวางไว้ในตำแหน่งใกล้กัน แต่มีการใช้คำอื่นแทรกลงไป ทำให้การออกเสียงมีความคมคาย ไพเราะ และยังเพิ่มความหมายที่น่าสนใจ เช่น ก็ บ่ เทียบ บ่ เทียมทัน มีการใช้คำว่า “บ่” แทรกกลางระหว่างคำว่า “เทียบ” และ “เทียม” ที่ออกเสียงคล้ายคลึงกัน
การเล่นเสียงการเล่นเสียงพยัญชนะ หากเล่นเสียงพยัญชนะเดียวกับหรือใกล้เคียงกัน จะทำให้เกิดการกระทบกันของเสียง ช่วยให้เกิดความไพเราะ เช่น ข้าขอนบชนกคุณ มีการใช้คำว่า ข้าและขอ เป็นเสียง ข เหมือนกัน และใช้คำว่า (ช) นกและนบ ซึ่งเป็นเสียง น เหมือนกัน
การเล่นเสียงสระ มีการเล่นเสียงสระที่เป็นเสียงเดียวกัน ทำให้เวลาอ่านเกิดการส่งสัมผัสที่น่าฟัง เช่น ตรากทนระคนทุกข์ มีการเล่นเสียงสระโอะ โดยใช้คำว่า ทน และ (ระ) คน
การเลือกสรรคำ มีการใช้ภาพพจน์เปรียบเทียบระหว่างบุคคลของพ่อแม่กับสิ่งต่างๆ เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญและความยิ่งใหญ่ของพระคุณของท่าน โดยผู้ประพันธ์ได้ใช้อุปลักษณ์ในการเปรียบเทียบ
:red_flag: ข้อคิด
ไม่มีพระคุณของผู้ใดจะยิ่งใหญ่เท่ามารดา
ครูเป็นผู้ชี้แจง อบรมสั่งสอนทั้งวิชาความรู้และความดีทางจริยธรรมพระคุณของครูนับว่า สูงสุดจะป็นรองก็เพียงแต่บิดามารดาเท่านั้น
การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน :check:
เพื่อให้ผู้อ่านได้ประจักษ์ในคุณค่าของชีวิต ได้นำแง่คิดและประสบการณ์จากเรื่องที่อ่าน ไปใช้ในการดำเนินชีวิต หรือเป็นแนวปฏิบัติในการแก้ปัญหา
นายอาณัฐ พะสุโร ม.4/7 เลขที่ 10