Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 ภัยเงียบไมโครพลาสติก - Coggle Diagram
บทที่ 4 ภัยเงียบไมโครพลาสติก
นิยามและจุดกำเนิดของไมโครพลาสติก
ไมโครพลาสติก(Microplastics)
คือ อนุภาคพลาสติกที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 5 mmไปจนถึง nmหรือเล็กเท่ากับขนาดของแบคทีเรียหรือไวรัส
มักเกิดจากการย่อยสลายหรือแตกหักของขยะพลาสติก
ส่วนใหญ่มีรูปร่างทรงกลม ทรงรี หรือบางครั้งมีรูปร่างไม่แน่นอน
ไมโครพลาสติกสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
ไมโครพลาสติกปฐมภูมิ (Primary Microplastics)
เม็ดพลาสติกบริสุทธิ์(Nurdle) คือ วัตถุดิบตั้งต้นของการผลิตพลาสติกทุกประเภท มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร จึงท าให้สามารถปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมระหว่างกระบวนการขนส่ง และการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้
กลิตเตอร์(Glitter) คือ สารตกแต่งอาหาร ที่ผลิตมาจากส่วนผสมที่มีส่วนประกอบของพลาสติกขนาดเล็ก ปัจจุบันได้รับความนิยมในการถูกน ามาใช้ตกแต่งอาหาร เพื่อให้อาหารน่ารับประทาน
เม็ดบีดส์(Beads) คือ พลาสติกขนาดเล็กที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ท าความสะอาดผิวหน้าและผิวกาย
ไมโครพลาสติกทุติยภูมิ (Secondary Microplastics)
เป็นพลาสติกที่เกิดจากพลาสติกที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งสะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานานเกิดการย่อยสลายหรือแตกหักกลายเป็นชิ้นส่วน เส้นใย หรือแผ่นฟิล์มของพลาสติกที่มีขนาดเล็กลง
การปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อม
1) การปนเปื้อนไมโครพลาสติกปฐมภูมิ
เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีไมโครพลาสติกผสมอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ครีมล้างหน้า
เกิดจากการใช้ประโยชน์โดยตรงจากเม็ดไมโครพลาสติกนั้น ๆ เช่น การใช้เม็ดพลาสติกขัดสี การขัดสิ่งสกปรกออกจากพื้นผิว
เกิดจากการปนเปื้อนของเม็ดพลาสติกที่มาจากกระบวนการผลิต เช่น น้ำเสียที่มาจากกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
2) การปนเปื้อนไมโครพลาสติกทุติยภูมิ
เกิดจากกระบวนการลดขนาดของพลาสติกขนาดใหญ่โดยตรง เช่น การทิ้งขยะพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อม การหลุดรอดของพลาสติกจากกระบวนการขนส่งต่าง ๆ
ผลกระทบของไมโครพลาสติกต่อสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบต่อระบบนิเวศ การย่อยสลายของไมโครพลาสติกให้มีขนาดเล็กลง ทำให้มีพื้นที่ผิวสัมผัสมากขึ้น และเพิ่มโอกาสในการดูดซับมลสารชนิดอื่นที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น ไมโครพลาสติกยังแฝงอันตรายที่คาดไม่ถึง คือ การเป็นตัวกลางสะสมและเคลื่ยนย้ายสารพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีอื่น ๆ เนื่องจากคุณสมบัติของไมโครพลาสติกสามารถดูดซับสารปนเปื้อนและแพร่กระจายไปสู่แหล่งน้ำต่าง ๆ
ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ เช่น สูญเสียรายได้จากการประมง สูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยว
ผลกระทบต่อสังคม เช่น ความลดลงของคุณค่าทางสุนทรียภาพ ขาดความปลอดภัยในเรื่องการรับประทานอาหารจากสัตว์ที่มีการปนเปื้อนของไมโครพลาสติก
ไมโครพลาสติกในอาหารและเครื่องดื่ม
การตรวจพบไมโครพลาสติก
อาหาร น้ำดื่มเครื่องดื่มต่างๆ เช่น น้ำผึ้ง เกลือ น้ำตาล ปลากระป๋อง เบียร์ น้ำประปา
การปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในน้ำดื่ม 259ขวด จาก 11ยี่ห้อ จาก 12 ประเทศ ได้แก่ ไทย จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เคนยา เลบานอน เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก และบราซิล ผลจากการทดสอบพบว่ามีเพียงน้ำดื่ม 17ขวดเท่านั้นที่ไม่มีไมโครพลาสติก โดยเฉลี่ยแล้วน้ำดื่มแต่ละลิตรที่จำหน่ายมีไมโครพลาสติก 325ชิ้น
สถานการณ์ไมโครพลาสติกในประเทศไทย
ทิ้งขยะพลาสติกมากเป็นอันดับที่ 6 ของโลก พบในท้องทะเล 0.15 -0.41 ล้านเมตริกตันต่อปี ส่วนมากมาจากขยะที่ทิ้ง แล้วเคลื่อนย้ายลงสู่ท้องทะเล
การจัดการไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อม
เลิกหรือห้ามใช้ไมโครพลาสติกแบบปฐมภูมิในผลิตภัณฑ์ต่างๆ
การลดการใช้ถุงพลาสติก
การรีไซเคิล การใช้ซ้ำ
การดัดแปลงให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่