Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยวิตกกังวล Anxiety, นางสาววารุณี สวามิชัย รหัสนักศึกษา…
การพยาบาลผู้ป่วยวิตกกังวล Anxiety
สภาวะทางอารมณ์ของบุคคลที่รู้สึหวาดหวั่น หวาดกลัว อึดอัดไม่สบายใจเกรงว่าจะมีสิ่งร้ายเกิดขึ้นกับตน
Anxiety มี 3 ประเภท
Normal Anxiety พบระยะสั้นๆ เฉพาะ เวลาที่ตื่นตัว ช่วยให้เกิดความกระตือรือร้น
Acute Anxiety พบเมื่อมีเหตุการณ์ ตื่นตัวต่ออันตรายคุกคาม ความรุนแรงลดลงขึ้นอยู่กับวิธีการปรับตัว
Chronic Anxiety ความหวาดหวั่น ขาดความมั่นคง การแก้ไขปัญหาหรือปรับตัวเมื่อมีภาวะวิตกกังวลไม่ได้
Anxiety มี 5 ระดับ
วิตกกังวลระดับปานกลาง (Moderate anxiety)
บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับปานกลางจะมีการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆทั้งการมองเห็นการฟังมีประสิทธิภาพลดลง ความสนใจและสมาธิลดลง การรับรู้แคบลง บุคคลจะมีอาการพูดเสียงสั่นๆ พูดเร็วขึ้น เริ่มมีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ยังมีความสามารถแก้ไขปัญหาได้แต่ต้องใช้สมาธิมากขึ้น
วิตกกังวลระดับสูง (Severe anxiety)
บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับสูงจะรับรู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้น้อยลง ความสนใจจดจ่ออยู่กับแค่บางสิ่งบางอย่าง ไม่สามารถอธิบายสิ่งที่ต้องการพูดได้ พูดจาไม่รู้เรื่อง กระบวนการคิดไม่ดี สับสน อาจจะเกิดช่วงก่อนที่บุคคลจะมองหาความช่วยเหลือ ระยะนี้ตัดสินใจไม่ดี สับสน
วิตกกังวลระดับน้อย (Mild anxiety)
ในระยะนี้บุคคลจะมีความสามารถในการรับรู้ความจริง จะเห็น จะได้ยิน และรับรู้ข้อมูลได้มาก ความวิตกกังวลในระดับนี้บุคคลจะเรียนรู้ที่จะหาวิธีในการแก้ไขปัญหา และอาจมีการแก้ไขปัญหาได้ดี ซึ่งแต่ละบุคคลจะมีลักษณะจำเพาะที่สามารถผ่อนคลายได้มากหรือน้อยต่างกันไป บางคนไม่สามารถลดระดับความวิตกกังวลได้เลย จนกว่างานหรือภารกิจจะเสร็จสิ้น
วิตกกังวลระดับหวาดกลัวรุนแรง (Panic state)
บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับหวาดกลัวรุนแรงความสามารถในการรับรู้จะหยุดชะงัก พูดไม่รู้เรื่อง ไม่สามารถสื่อสารกับบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ ความรู้สึกตัว อารมณ์ผิดปกติ การรับรู้ผิดไปจากความเป็นจริง
1.วิตกกังวลระดับปกติ (Normal)
เป็นความรู้สึกของบุคคลที่แสดงออกมาให้บุคคลรับรู้ว่า มีความไม่สบายใจ มีความรู้สึกหวาดหวั่น ซึ่งเป็นระดับที่บุคคลจะรู้สึกต้องเตรียมพร้อมในการป้องกันตนเองจากสิ่งที่คุกคาม ระยะนี้เกิดได้ในสถานการณ์ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อบุคคล
การพยาบาลผู้ที่มีความวิตกกังวล
การวางแผนการพยาบาล
บุคคลอยู่ในภาวะวิตกกังวลในระดับน้อย-ปานกลาง บุคคลจะสามารถจัดการกับความวิตกกังวลได้ โดยพยาบาลต้องประเมินและวางแผนการดูแลให้เหมาะสมเพื่อลดระดับความวิตกกังวล
บุคคลมีความวิตกกังวลในระดับสูงจนถึงระดับวิตกกังวลรุนแรง หรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกังวล (Generalized Anxiety Disorder) พยาบาลต้องวางแผนการดูแลควบคู่กับการรักษาของแพทย์ ทั้งเรื่องของการดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา การทำกลุ่มบำบัด การทำกลุ่มพฤติกรรมบำบัด
การปฏิบัติกิจกรรมทางการพยาบาล
จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบลดสิ่งกระตุ้น และลดการรบกวนของสิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่มั่นคง
ในช่วงที่บุคคลมีความกังวลสูง การรับรู้แคบลง พยาบาลควรให้การดูแลด้วยการพูดที่กระชับ เข้าใจง่าย ได้ใจความเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
ให้การพยาบาลด้วยความสงบ การดูแลต้องมีท่าทีที่เป็นมิตร มั่นคง สุขุม นุ่มนวลและให้การยอมรับผู้รับบริการ
ประเมินความวิตกกังวล ด้วยการสังเกตอาการและอาการแสดง การซักประวัติ การตรวจสภาพจิต และการใช้แบบประเมินความวิตกกังวล
เมื่อบุคคลมีอาการวิตกกังวลลดลง หรือ อาการสงบลง พยาบาลควรเปิดโอกาสให้บุคคลได้ระบายความรู้สึก และสำรวจความคิดของตนเองถึงสาเหตุของความวิตกกังวลนั้น
แนะนำการฝึกทักษะการผ่อนคลายการฝึกกำหนดลมหายใจ กำหนดสมาธิ
การดูแลด้วยการนวดผ่อนคลาย การฟังดนตรีที่มีลักษณะท่วงทำนองที่ผ่อนคลายไม่เร่งเร้า
ดูแลให้เข้ากลุ่มจิตบำบัดเพื่อประคับประคองจิตใจ เสริมสร้างความมั่นใจ เสริมสร้างความรู้สึกมั่นคง มีกำลังใจ และเพื่อเปิดโอกาสให้ได้ระบายความรู้สึก
การรักษาด้วยยา
ยาระงับอาการวิตกกังวล เช่น ยากลุ่ม Benzodiazepines เช่น Valium (diazepam), Xanax (alprazolam), Klonopin (clonazepam) และ lorazepam
ยาช่วยควบคุมอาการทางร่างกายเมื่อมีความวิตกกังวล เช่น ใจสั่น มือสั่น คือ ยากลุ่ม Beta Blockers เช่น propranolol
ยารักษาอาการซึมเศร้า เช่น ยากลุ่ม Selective Serotonin Reuptake Inhibitors (SSRIs)
นางสาววารุณี สวามิชัย รหัสนักศึกษา 62128301071ชั้นปีที่ 3