Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยาฮอร์โมนและยาต้านฮอร์โมน - Coggle Diagram
ยาฮอร์โมนและยาต้านฮอร์โมน
Thyroid and
Antithyroid drugs
ต่อมไทรอยด์ (THYROID GLAND) ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมน สําคัญ 3 ชนิด คือ
ไทรอกซีน หรือ T4 (Thyroxine)
ไตรไอโอโดไธโรนีน T3 (Triiodothyronine)
แคลซิโทนิน (Calcitonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสําคัญน้อยกว่า ฮอร์โมน T4 และ T3 มาก
โรคที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ทํางานผิดปกติ
•Goiter หรือ โรคคอพอก
•เกิดจากขาดธาตุไอโอดีน โดยจะทําให้มีปริมาณ TSH (thyrotropin หรือ thyroid stimulating hormone) สูงขึ้น
•ทําให้ต่อมไทรอยด์เจริญขยายขนาดขึ้นเรื่อย ๆ
•แต่การทํางานของต่อมไทรอยด์มักสร้าง ฮอร์โมนอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือตํ่าเล็กน้อย •ผู้ป่วยจึงมักไม่มีอาการ
•Hyperthyroidism (ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ)
•เกิดจากการเพิ่มระดับของ T3 และ T4 ในกระแส เลือด ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการทํางานมากเกินปกติ ของต่อมไทรอยด์
• มักพบอาการใจสั่น มือสั่น เหนื่อยง่าย ทานอาหาร มากแต่นํ้าหนักลด ขี้หงุดหงิด เหงื่อออกมาก
• ลักษณะเด่นคือ คอพอก (goiter) ,
•ตาโปน (exophthalmos) •ซึ่งเป็น อาการของ Graves’
•Hypothyroidism
•เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทํางานน้อยทําให้การสร้างและหลั่งฮอร์โมนสูงกระแสเลือดลดลง
•ส่งผลต่อการเผาผลาญอาหารลดลง นําไปสู่ อาการและอาการแสดงต่าง ๆ
•มักพบบ่อยในผู้หญิงอายุระหว่าง 30-60 ปี
การรักษาอาการต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
•การใช้ยาต้านไทรอยด์ ( THYROTOXICOSIS ) (antithyroid) เป็นยาในกลุ่ม thioamides ได้แก่ – Propylthiouracil (PTU) – Methimazole (MMI) – carbimazole
• โดยออกฤทธิ์ยับยั้งการทํางานของเอนไซม์ thyroid peroxidase จึงมีผลต่อ iodine oxidation และ organification ของ idodine และ iodothyronine coupling ยับยั้งกระบวนการ เปลี่ยน T 4 ไปเป็น T 3 ที่ peripheral tissue และ ออกฤทธิ์ immunosuppressive
METHIMAZOLE (MMI)
•Methimazole (MMI) จะดูดซึมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยจะมีระดับยาในเลือดสูงสุดที่ 1-2 ชั่วโมงหลังรับประทาน
•นิยมใช้ยาเป็นตัวแรก
•เนื่องจากประสิทธิภาพดีกว่าและผลข้างเคียง น้อยกว่ายา Propylthiouracil (PTU)
•ส่วนยากลุ่ม carbimazole (prodrug ของ methimazole) เมื่อรับประทานไปแล้วจะถูก เปลี่ยนเป็น MMI อย่างรวดเร็ว
•MMI จะมีค่าครึ่งชีวิต 6-8 ชั่วโมง •มีระยะเวลาการออกฤทธิ์นาน 1 วัน หรือมากกว่า นั้น
•ทําให้สามารถรับประทานยาวันละครั้ง ผลข้างเคียงของยา METHIMAZOLE
•ผลข้างเคียงที่พบบ่อย เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น •ผลข้างเคียงที่พบได้ยาก เช่น – เจ็บหน้าอก หายใจลําบาก – ขาหรือเท้ามีอาการบวม ชา หรือรู้สึกเหมือนเข็มแทง – นํ้าหนักลดไม่ทราบสาเหตุ – ดีซ่าน โดยมีอาการผิวหรือตาเหลือง – ผื่นแดงคันที่ผิวหนังอย่างรุนแรง หรือผิวแห้งแตก – จํานวนเม็ดเลือดขาวลดลงชั่วคราว ทําให้เสี่ยงต่อการติด เชื้อได้ง่ายขึ้น – เลือดออกง่าย เช่น อุจจาระมีสีดํา มีเลือดปนออกมา ปัสสาวะ เป็นเลือด เลือดออกขณะแปรงฟัน มีรอยชํ้าตามผิวหนัง
PROPYLTHIOURACIL (PTU)
•Propylthiouracil (PTU) หลังรับประทานยาจะมี ระดับยาในเลือดสูงสุดที่ 1 ชั่วโมง
•มีค่าครึ่งชีวิต 1-2 ชั่วโมง โดยไม่เปลี่ยนแปลงตาม สภาวะของตับหรือไต •แต่มีระยะเวลาการออกฤทธิ์ 12-14 ชั่วโมง จึง รับประทานยาวันละ 2-3 ครั้ง
•ให้เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถใช้ยา Methimazole ได้ เช่น แพ้ยา หรือผลข้างเคียง ผลข้างเคียงของยา PTU
•ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือ ผมร่วง คลื่นไส้อาเจียน ปวดข้อ
•ผลข้างเคียงที่รุนแรง แต่พบน้อยมาก เช่น – ภาวะเม็ดเลือดขาวตํ่า (agranulocytosis) – ตับอักเสบ ตัวเหลืองตาเหลือง – ไตอักเสบ
•กลุ่มอาการ agranulocytosis เป็นผลข้าง เคียงที่อันตรายและอาจถึงชีวิต ผู้ป่วยควร ได้รับคําเตือนให้ระมัดระวัง อาการที่บ่งชี้ว่า เกิดภาวะนี้คือ มีไข้สูง เจ็บคอ
•อาการแพ้ยาที่พบได้บ่อย เช่น มีไข้ผื่นหรือ ลมพิษ ปวดตามข้อ ยาปิดกั้นอดรีเนอร์
ยาปิดกั้นอดรีเนอร์จิก (ADRENERGIC BLOCKING AGENTS) •ตัวอย่างเช่น propranolol
•ใช้ลดอาการที่เกิดจากการกระตุ้นระบบประสาท ซิมพาเทติค (Sympathetic nerves)
•บรรเทาอาการ เช่น หัวใจเต้นเร็ว มือสั่น เป็นต้น
คําแนะนําผู้ป่วยในการรับประทานยา
ห้ามใช้ยาในขนาดและความถี่มาก/ น้อยกว่าที่แพทย์แนะนํา
หากลืมรับประทานยาให้รับประทาน ทันทีที่นึกได้หากเป็นเวลาใกล้กับมื้อถัดไปให้งดมื้อที่ลืมและ ข้ามไปรับประทานมื้อถัดไป
ห้ามรับประทาน 2 มื้อควบ ห้ามหยุดยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์
Insulin and
Hypoglycemic drugs
INSULIN ออกฤทธิ์เหมือนกับอินซูลิน ภายในร่างกาย ทําให้เกิดการยับยั้งการสลาย ไกลโคเจนจากตับ เพิ่มการใช้กลูโคสที่กล้ามเนื้อ หรือ ไขมัน ส่งผลให้ระดับนํ้าตาลในเลือดลดลง
ข้อบ่งใช้ของ การใช้ยาฉีด อินซูลิน
อินซูลิน
o โรคเบาหวานชนิดที่ 1
o ความผิดปกติของตับอ่อน
o ภาวะกรดคั่งจากคีโตน
o การตั้งครรภ์
o การติดเชื้อรุนแรง การผ่าตัด
o โรคตับ โรคไต
o ภาวะนํ้าตาลในเลือดสูงรุนแรง และใน กรณีที่ไม่สามารถควบคุมระดับนํ้าตาลใน เลือดได้ด้วยการควบคุมอาหารหรือยาเม็ด ลดระดับนํ้าตาล
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา อินซูลิน
ภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า การแพ้ยา ตาพร่ามัวมากขึ้น อาการบวม นํ้าหนักเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็ว
ประเภทของยาฉีดอินซูลิน
•แบ่งยาตามระยะเวลาการออกฤทธิ์ของยา ดังนี้
• ฮิวแมนอินซูลินที่ออกฤทธิ์สั้น (Short acting หรือ Regular human insulin : RI)
• อินซูลินอะนาลอกที่ออกฤทธิ์เร็ว (Rapid acting insulin analog : RAA) เป็นอินซูลินที่เกิดจากการดัดแปลงกรดอะมิโนที่สายของ ฮิวแมนอินซูลิน เช่น Insulin lispro และ Insulin aspart
• ฮิวแมนอินซูลินที่ออกฤทธิ์ปานกลาง (Intermediate acting insulin : NPH)
• อินซูลินอะนาลอกที่ออกฤทธิ์นาน (Long acting insulin analog : LAA) เป็นอินซูลินที่เกิดจากการดัดแปลงกรดอะมิโนที่สายของ ฮิวแมนอินซูลิน และเพิ่มกรดอะมิโนหรือ เสริมแต่งสายของ อินซูลินด้วยกรดไขมัน เช่น Insulin glargine และ Insulin detemir
ข้อควรระวังในการบริหารยา
❖ เก็บในตู้เย็น 2-8 °C (ห้ามเก็บไว้ที่ฝาตู้เย็นและ ช่องแช่แข็ง)
❖ ควรคลึงขวดยาในฝ่ามือไปมาทั้งสองข้างก่อน ฉีดห้ามเขย่าขวด
❖ ควรให้ยาทาง SC เท่านั้น
❖ หากต้องการให้ IV มีเพียง Regular Insulin เท่านั้นที่สามารถให้ได้
❖ ตําแหน่งที่เหมาะสมในการฉีด SC คือ หน้าท้อง > สะโพก > ต้นแขน > ต้นขา
❖ ควรบริหารยาก่อนอาหาร 30 นาที
❖ ยกเว้น Quick acting insulin
อาการไมjพึงประสงค์จากยา
อินซูลิน
มือสั่น ใจสั่น/หวิว เหงื่อออกมาก ตาลาย หน้ามืด/วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้ออ่อนแรง เพลีย หิวมาก ซึมลง ตัวเย็น เป็นลม/หมดสติ
HYPOGLYCEMIC DRUG •ยาเม็ดลดระดับนํ้าตาลในเลือด ส่วนใหญ่ใช้สําหรับผู้ป่วยโรค เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นหลัก แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ตามกลไก การออกฤทธิ์ดังนี้
ยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการหลั่ง ของอินซูลินจากตับอ่อน
ยากลุ่มที่ลดภาวะดื้อต่อ อินซูลิน
ยากลุ่มที่ยับยั้งเอนไซม์ แอลฟากลูโคซิเดส
ยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการหลั่ง ของอินซูลินจากตับอ่อน
1.1 ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) ออกฤทธิ์โดยกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจาก ตับอ่อน
▪ ส่งผลให้มีปริมาณอินซูลินในร่างกายเพิ่ม มากขึ้น
1.2 ยากลุ่มออกฤทธิ์เร็วที่ไม่ใช่ซัลโฟนิลยูเรีย (Rapid acting non-sulfonylurea) เป็นยากลุ่มใหม่ ที่โครงสร้างของยาไม่ใช้กลุ่มซัลฟา
ยากลุ่มที่ลดภาวะดื้อต่อ อินซูลิน
❑ ยากลุ่มไบกัวไนด์ (Biguanide)
❑ ออกฤทธิ์ยับยั้งการสลายไกลโคเจนจากตับเป็น หลัก
❑ ทําให้อินซูลินออกฤทธิ์ที่กล้ามเนื้อได้ดีขึ้น จึงมี การนํานํ้าตาลเข้าเซลล์กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น
❑ ข้อดีของยากลุ่มนี้คือ
❑ ไม่ทําให้เกิดภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า
❑ นํ้าหนักตัวไม่ค่อยเพิ่มขึ้น หรือทําให้นํ้าหนักลด ลง
❑ ผลข้างเคียงที่พบบ่อย เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ไม่สบายท้อง ท้องเสีย แต่อาการเหล่านี้จะดีขึ้น เมื่อใช้ยาติดต่อกันไปสักระยะ
❑ อาการไม่พึงประสงค์ที่สําคัญ คือ ภาวะกรดแล คติกคั่งในเลือด (Lactic acidosis)
❑ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มนี้ในผู้ป่วยที่ มีไตผิดปกติหรือในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิด ภาวะ Lactic acidosis เช่น โรคตับ โรคหัวใจล้มเหลว เป็นต้น
❑ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ Metformin
ยากลุ่มที่ยับยั้งเอนไซม์แอลฟา กลูโคซิเดส (ALPHA-GLUCOSIDASE INHIBITOR)
ยากลุ่มนี้มีผลในการลดระดับ นํ้าตาลในเลือดหลังอาหาร (Postprandial glucose)
ยาถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายน้อยมาก จึงไม่มีผลต่อการออกฤทธิ์ทั่ว ร่างกาย
ผลข้างเคียงที่พบบ่อย เช่น ท้องอืด แน่นท้อง ปวดท้อง ถ่ายเหลว โดยเฉพาะผู้ป่วยได้รับยาในขนาดสูง
ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Acarbose และ Vo
Contraceptive agents
ยาเม็ดคุมกําเนิด (Oral
Contraceptives)
ยาเม็ดคุมกําเนิด เป็นยาที่ใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด 1. ชนิดฮอร์โมนเดี่ยว มีส่วนประกอบของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (progesterone) เพียงอย่างเดียว
ชนิดฮอร์โมนรวม (combined pills) ซึ่งในแต่ละเม็ดมีตัวยาสําคัญ เป็นฮอร์โมนใน กลุ่มเอสโตรเจน (estrogens) ผสมกับฮอร์โมนในกลุ่มโพรเจสติน
การออกฤทธิ์ของยาคุมกําเนิด (Mechanism of Oral contraceptives)
✔ ออกฤทธิ์ยับยั้งการตกไข่
✔ ลดการสร้างเมือกและเพิ่มความหนืดของเมือก ปากมดลูกซึ่งทําให้ตัวอสุจิไม่สามารถเดินทางไปปฏิสนธิ กับไข่
✔เพิ่มการบีบตัวของท่อนําไข่และมดลูก ซึ่งทําให้ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วมาถึงโพรงมดลูกใน เวลาที่ไม่เหมาะสมในการฝังตัว
✔ ทําให้เยื่อบุมดลูกไม่พร้อมที่จะรับการฝังตัว ของตัวอ่อน
ฮอร์โมน เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน การมีระดูหรือประจําเดือน o การเปลี่ยนแปลงของระบบสืบพันธุ์ของสตรีจะมี เป็นรอบหรือวงจร o แต่ละรอบใช้เวลาประมาณ 25 - 35 วัน
o โดยเฉลี่ยประมาณ 28 วัน
ตัวยาสําคัญในยาเม็ดคุมกําเนิด (Oral Contraceptives) Estrogen vs Progestin
อาการไม่พึงประสงค์ของยาเม็ดคุมกําเนิด ชนิดฮอร์โมนรวม
คลื่นไส้อาเจียน เจ็บคัดเต้านม ท้องอืด ปวดศีรษะ นํ้าหนักตัวเพิ่ม มีนํ้าสะสมมากในร่างกาย (ตัวบวมนํ้า) มีเลือดคล้ายประจําเดือนออกกะปริบกะปรอย เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดํา (จึง ห้ามใช้ในผู้ที่มีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดําหรือมีประวัติ ของความผิดปกตินี้) ซึ่งความเสี่ยงดังกล่าวมากน้อยต่างกันขึ้น
ข้อห้ามใช้ (Contraindications)ผู้ที่มีโรค/เคยเป็นโรค/ประวัติเสี่ยง (รวมถึงประวัติญาติ พี่น้องสายตรง) ของภาวะหลอดเลือดดําอักเสบ โรคลิ่ม เลือดอุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ การทํางานของตับผิดปกติ (ต้องรักษาให้ normal liver function ก่อน จึงจะใช้ยาคุมกําเนิดชนิดฮอร์โมนรวมได้) มะเร็ง (หรือสงสัย) มะเร็งเต้านม เลือดออกจากทางช่องคลอดที่ยังไม่ทราบสาเหตุ ตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าจะตั้งครรภ์ ผู้ที่สูบบุหรี่และมีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ไขมันในเลือดสูงมาก ยังควบคุมไม่ได้(Severe hypercholesterolemia or hypertriglyceridemia > 750 mg/dL) ความดันโลหิตสูงที่ยังควบคุมไม่ได้
Oxytocin
คือฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่กระตุ้นการหด ตัวของมดลูก และกระตุ้นการหลั่งนํ้านม ทางการแพทย์นํามาใช้เพื่อ
❑ กระตุ้นการคลอดหรือเพิ่มการบีบตัวของมดลูก ในระหว่างการคลอดบุตร
❑ ใช้รักษาอาการตกเลือดหลังคลอด
ข้อบ่งใช้
• กระตุ้นการคลอดและรักษาอาการตกเลือด
• การคลอดช่วยในการคลอดในรายที่มดลูกทํางาน ช้ามาก ในรายที่ผ่าตัดหน้าท้องเพื่อเอาเด็กออก ให้ฉีดยาเข้ามดลูก ป้องกันและรักษาในรายที่มดลูก หย่อน
• ระยะหลังคลอด ในรายที่การหดคืนตัวของมดลูกไม่ สมบูรณ์และช่วยในการห้ามเลือด ในรายที่เกิดการ แท้งอย่างไม่สมบูรณ์
ขนาดและวิธีใช้
▪ ฉีดเข้ากล้าม (IM)
▪ หยดยาเข้าหลอดเลือดดํา (IV infusion) ช้าๆ
▪ ผู้ป่วยต้องได้รับยาดังกล่าวตามคําแนะนําของแพทย์ และภายในโรงพยาบาลเท่านั้น
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Oxytocin ที่พบบ่อย
คลื่นไส้อาเจียน
มีอาการปวดหรือปวดบีบที่ท้อง
มดลูกบีบตัวรุนแรงและบ่อยครั้งขึ้น ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Oxytocin ที่พบไม่บ่อย(ถ้า พบต้องแจ้งแพทย์)
มีเลือดออกทางช๋องคลอดมากขึ้น หรือเลือดไหลไม๋หยุด หัวใจเต็นผิดปกติเจ็บหรือแน่นบริเวณหน้าอก ตรวจพบความดันโลหิตขึ้นสูงถึงขึ้นเป็นอันตราย เกิดผื่นลมพิษ