Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปองค์ความรู้ เรื่องนมัสกรมาตาปิคุณและนมัสอาจรินะคุณ :<3: - Coggle…
สรุปองค์ความรู้
เรื่องนมัสกรมาตาปิคุณและนมัสอาจรินะคุณ
:<3:
ลักษณะคำประพันธ์
อินทรวิเชียร์ฉันท์ ๑๑ หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามประดุจสายฟ้า ซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ นิยมใช้ในการแต่งข้อความซึ่งเป็นบทชม บทคร่ำครวญ และใช้แต่งเป็นบทพากย์โขน เพื่อน ๆ สามารถดูแผนผังการแต่งอินทรวิเชียร์ฉันท์ได้ที่นี่
บทนมัสการมาตาปิตุคุณและนมัสการอาจริยคุณ เป็นคำประพันธ์ที่แต่งด้วยฉันท์ ซึ่งเป็น อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ เพื่อให้การอ่านตัวบทได้อย่างถูกต้องและไพเราะ จึงจำเป็นต้องเข้าใจฉันทลักษณ์ของอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ก่อน
ประวัติผู้แต่ง
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เกิดวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๕ เป็นผู้แต่งตำราภาษาไทย และเป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาไทยแก่เจ้านายในสมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ รวมสิริอายุได้ ๖๘ ปี
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
การเลือกสรรคำ
ผู้ประพันธ์ได้เลือกคำที่เหมาะสมในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก มีการใช้คำที่เป็นการยกระดับในการเดินเรื่อง เช่น ชนก ชนนี เป็นต้น และยังพยายามใช้คำเพื่อให้คนเห็นภาพ เช่น โอบเอื้อ เจือจุน เป็นต้น โดยส่วนใหญ่ผู้ประพันธ์ใช้คำที่เรียบง่าย อ่านแล้วเข้าใจได้ในทันที อาจมีคำยากบ้างแต่ไม่มากนัก
การใช้ภาพพจน์
มีการใช้ภาพพจน์เพื่อเปรียบเทียบระหว่างบุญคุณของพ่อแม่ กับสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญและความยิ่งใหญ่ของพระคุณของท่าน โดยผู้ประพันธ์ได้ใช้ “อุปลักษณ์” ในการเปรียบเทียบ เช่น เปรียบหนักขนกคุณ ชนนีคือภูผา ใหญ่พื้นพสุนธรา ก็บ่้ทียบบ่เทียมกัน
การเล่นเสียง
การเล่นเสียงพยัญชนะ หากเล่นเสียงพยัญชนะเดียวกับหรือใกล้เคียงกัน จะทำให้เกิดการกระทบกันของเสียง ช่วยให้เกิดความไพเราะ เช่น ข้าขอนบชนกคุณ มีการใช้คำว่า ข้าและขอ เป็นเสียง ข เหมือนกัน และใช้คำว่า (ช) นกและนบ ซึ่งเป็นเสียง น เหมือนกัน เป็นต้น
การเล่นเสียงสระ มีการเล่นเสียงสระที่เป็นเสียงเดียวกัน ทำให้เวลาอ่านเกิดการส่งสัมผัสที่น่าฟัง เช่น ตรากทนระคนทุกข์ มีการเล่นเสียงสระโอะ โดยใช้คำว่า ทน และ (ระ) คน
การซ้ำคำ
มีการใช้คำที่ออกเสียงเหมือนกันมาวางไว้ในตำแหน่งใกล้กัน แต่มีการใช้คำอื่นแทรกลงไป ทำให้การออกเสียงมีความคมคาย ไพเราะ และยังเพิ่มความหมายที่น่าสนใจ เช่น ก็ บ่ เทียบ บ่ เทียมทัน มีการใช้คำว่า “บ่” แทรกกลางระหว่างคำว่า “เทียบ” และ “เทียม” ที่ออกเสียงคล้ายคลึงกัน
นอกจากนี้ยังมีการเล่นคำที่มีความหมายคู่ตรงข้าม เช่น บ ทราบก็ได้ทราบ ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน เป็นต้น
คุณค่าด้านเนื้อหา สังคมและข้อคิด
คุณค่าด้านเนื้อหา
การลำดับความได้ชัดเจน คำนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจริยคุณมีการลำดับเนื้อหาอย่างเหมาะสม ชัดเจน โดยในคำนมัสการมาตาปิตุคุณ มีการกล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ที่คอยเลี้ยงดูลูกจนเติบใหญ่ ตลอดจนความยิ่งใหญ่ของบุญคุณของพ่อแม่ และปิดท้ายด้วยการการสอนให้เด็ก ๆ รู้จักกตัญญูรู้คุณต่อผู้ให้กำเนิด เช่นเดียวกับคำนมัสการอาจาริยคุณ ที่กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของครูอาจารย์ที่คอยสั่งสอนและให้ความรู้ทั้งทางธรรมและทางโลก ตามด้วยการกล่าวถึงบุญคุณของคุณครู ซึ่งเด็ก ๆ ควรเคารพและขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง
มีการสอนจริยธรรม จะเห็นได้ว่า บทเรียนเรื่องนี้ เป็นสิ่งที่เพื่อน ๆ นำไปใช้ได้จริง ด้วยการรู้จักสำนึกในพระคุณของบิดามารดาและครูอาจารย์ นับเป็นการใช้บทประพันธ์เพื่อปลูกฝังจริบธรรมได้เป็นอย่างดี
คุณค่าด้านข้อคิด
ไม่มีพระคุณของผู้ใดจะยิ่งใหญ่เท่ามารดา
การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ผู้อ่านได้ประจักษ์ในคุณค่าของชีวิต ได้นำแง่คิดและประสบการณ์จากเรื่องที่อ่าน ไปใช้ในการดำเนินชีวิต หรือเป็นแนวปฏิบัติในการแก้ปัญหา
ครูเป็นผู้ชี้แจง อบรมสั่งสอนทั้งวิชาความรู้และความดีทางจริยธรรมพระคุณของครูนับว่า สูงสุดจะป็นรองก็เพียงแต่บิดามารดาเท่านั้น
เนื่อเรื่องย่อ
ในนมัสการมาตาปิตุคุณ จะกล่าวถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของบิดามารดาที่ต้องเหนื่อยเลี้ยงดูจนลูกเติบโต ส่วนนมัสการอาจริยคุณ จะกล่าวถึงพระคุณของครูอาจารย์ที่สั่งสอนให้ความรู้แก่ศิษย์ ซึ่งเราควรรำลึกถึงพระคุณของบิดามารดาตลอดจนครูอาจารย์
บทที่ประทับใจ
ชอบบทนมัสการมาตาปิคุณครับ เพราะว่าทำให้นึกถึงพ่อแม่เมื่อท่านได้สั่งสอนเราทำให้เราเติบโตและเลี้ยงดูเรามาอย่างเหน็ดเหนื่อย