Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ ข้อคิดจากเรื่องมาตาปิตุคุณและอาจริยคุณ,…
วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ ข้อคิดจากเรื่องมาตาปิตุคุณและอาจริยคุณ
ประวัติผู้แต่ง
พระยาศรีสุนทรโวหาร
(น้อย อาจารยางกูร) เป็นกวีคนสำคัญในสมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านได้รับสมญานามว่าเป็น ศาลฎีกาภาษาไทย เพราะเป็นผู้แต่งตำราชุดแรกของไทย เรียกว่า “แบบเรียนหลวง”
ประวัติความเป็นมาของบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ
บทประพันธ์รวมพิมพ์ในภาคเบ็ดเตล็ด หนังสือชุดภาษาไทยเล่มที่ ๒ ของพระยาศรีสุนทรโวหาร
บทนมัสการอาจริยคุณ
ข้อคิดที่ได้
ครูเป็นผู้ครูเป็นผู้ชี้แจง อบรมสั่งสอนทั้งวิชาความรู้และความดีทางจริยธรรม
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้โดยเชื่อฟังคำสอนของครูอาจารย์
เนื้อเรื่องย่อ
กล่าวถึงการสรรเสริญพระคุณของครูอาจารย์ ผู้ที่คอยสั่งสอนให้รู้วิชาและศาสตร์ต่าง ๆ อีกทั้งในเรื่องของบาปบุญคุณโทษ ดังนั้น พระคุณของครูอาจารย์จึงควรระลึกและน้อมใจชื่นชมยกย่องเป็นอย่างยิ่ง
คุณค่าด้านเนื้อหา
เป็นการสอนจริยธรรม ปลูกฝังให้ลูกศิษย์สำนึกในบุญคุณของครูอาจารย์ รู้จักแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ
บทนมัสการมาตาปิตุคุณ
ข้อคิดที่ได้
บิดามารดาเป็นผู้ที่คอยเลี้ยงดูเรามาตั้งแต่เล็กจนโตแม้จะลำบากก็อดทนเพื่อให้ลูกได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้
สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้โดยเมื่อเราโตเป็นผู้ใหญ่แล้วเราต้องกลับมาดูแลบิดามารดาเพื่อขอบคุณบิดามารดาที่เลี้ยงดูเรามา
เนื้อเรื่องย่อ
กล่าวถึงพระคุณของบิดามารดา ที่ได้เลี้ยงดูทะนุถนอมบุตรจนเติบใหญ่ โดยมิเห็นแก่ความยากลำบาก พระคุณของบิดามารดามีมากมายเกินกว่าจะทดแทนได้
คุณค่าด้านเนื้อหา
นมัสการมาตาปิตุคุณมีการลำดับเนื้อหาอย่างเหมาะสม ชัดเจน โดยในคำนมัสการมาตาปิตุคุณ มีการกล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ที่คอยเลี้ยงดูลูกจนเติบใหญ่ ตลอดจนความยิ่งใหญ่ของบุญคุณของพ่อแม่ และปิดท้ายด้วยการการสอนให้เด็กๆ รู้จักกตัญญูรู้คุณต่อผู้ให้กำเนิด
ลักษณะคำประพันธ์
พระยาศรีสุนทรโวหารเรียกฉันท์ที่ใช้ในการแต่งบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจารยคุณว่า “อินทะวะชิระฉันท์” แต่โดยทั่วไปเรียกว่า “อินทรวิเชียรฉันท์” ซึ่งมีการบังคับครุและลหุ โดยเลือกใช้คำที่ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ความรู้สึก และใช้สำหรับเป็นบทบูชาสรรเสริญมากกว่าการแต่งให้ถูกฉันทลักษณ์
บทประพันธ์ที่รู้สึกประทับใจ
เปรียบหนักชนกคุณ ชนนีคือภูผา
ใหญ่พื้นพสุนธรา ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน
เพราะจากบทประพันธ์แสดงให้เห็นถึงความรักของพ่อกับแม่ที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าสิ่งใดจะเทียบได้
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
การเลือกสรรคำ
ผู้ประพันธ์ได้เลือกคำที่เหมาะสมในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก มีการใช้คำที่เป็นการยกระดับในการเดินเรื่อง และยังพยายามใช้คำเพื่อให้คนเห็นภาพ โดยส่วนใหญ่ผู้ประพันธ์ใช้คำที่เรียบง่าย อ่านแล้วเข้าใจได้ในทันที
การใช้คำซ้ำ
มีการใช้คำที่ออกเสียงเหมือนกันมาวางไว้ในตำแหน่งใกล้กัน แต่มีการใช้คำอื่นแทรกลงไป ทำให้การออกเสียงมีความคมคาย ไพเราะ และยังเพิ่มความหมายที่น่าสนใจ เช่น ก็ บ่ เทียบ บ่ เทียมทัน มีการใช้คำว่า “บ่” แทรกกลางระหว่างคำว่า “เทียบ” และ “เทียม” ที่ออกเสียงคล้ายคลึงกัน
นอกจากนี้ยังมีการเล่นคำที่มีความหมายคู่ตรงข้าม เช่น บ ทราบก็ได้ทราบ ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน เป็นต้น
การใช้ภาพพจน์
มีการใช้ภาพพจน์เพื่อเปรียบเทียบระหว่างบุญคุณของพ่อแม่ กับสิ่งต่างๆ เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญและความยิ่งใหญ่ของพระคุณของท่าน โดยผู้ประพันธ์ได้ใช้ “อุปลักษณ์” ในการเปรียบเทียบ เช่น ใหญ่พื้นพสุนธรา ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน
จุดประสงค์ในการแต่ง
เพื่อสรรเสริญพระคุณของพระบิดามารดา และครูบาอาจารย์
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ "พระคุณครู"
อาจารย์พระคุณมี จิตดีแนะปัญญา
คลายอันธปัญหา กวะทางสว่างไกล
สมาชิก
1.นางสาวสุรีวรรณ เพ็งหนู เลขที่22
2.นางสาวกรภัทร์ ทองน้ำเพ็ญ เลขที่23
3.นางสาวธฤษวรรณ บุญไทย เลขที่24
4.นางสาวพัณณิตา ศรีเพชร เลขที่25