Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Pneumonia - Coggle Diagram
Pneumonia
-
การวินิจฉัย
แพทย์วินิจฉัยโรคปอดอักเสบได้โดยการซักประวัติ สอบถามอาการโดยเฉพาะอาการไอแบบมีเสมหะ มีไข้ และหายใจหอบในกรณีที่สงสัยว่าเกิดจากการติดเชื้อ ร่วมกับการตรวจร่างกาย เช่น ฟังเสียงปอด และเอกซเรย์ปอด
-
-
-
สาเหตุ
- ติดเชื้อ เป็นชนิดของปอดอักเสบที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเชื้อโรคที่เข้าสู่ปอดและทำให้เกิดการอักเสบของถุงลมปอดและเนื้อเยื่อโดยรอบ ได้แก่ เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ซึ่งเชื้อที่พบจะแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอายุ และสภาพแวดล้อมที่เกิดโรค เช่น ได้รับเชื้อจากที่ชุมชนทั่วไป หรือจากภายในโรงพยาบาล
เชื้อแบคทีเรียที่พบมักได้แก่ เชื้อ Streptococcus pneumoniae, เชื้อ Haemophilus influenzae type b, เชื้อ Chlamydia pneumoniae, เชื้อ Legionella spp. และเชื้อ Mycoplasma pneumoniae ส่วนเชื้อไวรัส ได้แก่ เชื้อ Respiratory Syncytial Virus (RSV), เชื้อ Influenza หรือเชื้อไข้หวัดใหญ่ และเชื้อราจากมูลนกหรือซากพืชซากสัตว์
- ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น เกิดจากการหายใจเอาสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ฝุ่น ควัน สารเคมีที่ระเหยได้ นอกจากนี้ การใช้ยาปฏิชีวนะ ยาเคมีบำบัด และยาสำหรับควบคุมการเต้นของหัวใจบางชนิดก็อาจทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้
การพยาบาล
มีดังนี้
- ร่วมมือกับแพทย์ในการวินิภัยโรค เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องทันท่วงที
- ดูแลเก็บเสมหะส่งตรวจ และเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อ ก่อนเริ่มให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์
- การดูแลและบำบัดทางระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ป่วยปอดอักเสบ เนื่องจากการระบายอากาศและการแลกเปลี่ยนก๊าซไม่ดีพอ เพราะมีน้ำ (exudate) ในถุงลม ปอดแฟบ
มีเสมทะในทางเดินหายใจ และอาจมีการหครัดตัวของหลอดลม
- ดูแลให้ผู้ป่วยมีความสมดุลของสารน้ำและอิเลคโตรลัยธื ผุ้ป่วยที่มีปอดอักเสบมักจะมีสูญเสียน้ำและโซเดียมมากจะเหงื่อออกมากและอาจมีอาเจียนร่วมด้วย นอกจากนี้อาจจะมีไข้สูง หายใจเร็ว เสมหะเพิ่มขึ้น จึงต้องได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
- การให้สารน้ำทางหลอดเลืออดำ
- ให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างเพียงพอ ถ้ามีอาการเหนื่อยควรได้รับออกซิเจน
- ให้ยาลดไข้และเช็ดตัวเมื่อมีไข้สูง
- ดูแลความสะอาดปากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในรายที่มีไข้ ขาดน้ำและเสมหะ เป็นหนอง หรือเจ็บคอ จะช่วยทำให้มีความอยากอาหารมากขึ้น
- สังเกตและประเมินอาการแทรกซ้อน เช่น การหายใจล้มเหลว น้ำท่วมปอด อุณหภูมิสูง ช็อก ปอดแฟบ ท้องอืด ให้รีบแจ้งแพทย์ทันที
ปอดบวม หรือปอดอักเสบ (pneumonia) เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของเนื้อปอดบริเวณหลอดลมฝอยส่วนปลาย (terminal และrespiratory bronchiole)
ถุงลม (alveoli) และเนื้อเยื่อรอบถุงลม (intersttium)