Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การทำงานของระบบย่อยอาหาร Physiology, นางสาวอภิญญา ทองมี เลขที่ 69B,…
การทำงานของระบบย่อยอาหาร Physiology
ระบบทางเดินอาหารเป็นระบบหลัก ที่ทำหน้าที่ “นำเข้าอาหาร” เพื่อเป้าหมายสองอย่างคือ “เพื่อเป็นพลังงานให้กับสิ่งมีชีวิต” และ “เพื่อเป็นวัตถุดิบในการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆ
ทางเดินอาหารของมนุษย์ประกอบด้วยอวัยวะหลายอย่าง เริ่มจากช่องปาก ทำหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหาร ส่งต่อไปยังทางเดินอาหาร กระเพาะและลำไส้ ทำการดูดซึมสารอาหารที่สำคัญ และขับทิ้งของเสียทางทวาร ซึ่งจะใช้เวลาโดยเฉลี่ย คือ 12 ชั่วโมง
การย่อยมีหลักการสำคัญคือ เปลี่ยนอาหาร ที่มีขนาดใหญ่ ให้เป็นโมเลกุลเล็กลง เพื่อการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย โดยมี “สองกลไกหลัก” คือ “การย่อยโดยการเคลื่อนไหว”(Mechanical) และ “การย่อยโดยเอนไซม์และสารเคมี” (Chemical) โดยทั้งสองกลไกทำงานร่วมกันอย่างสอดคล้องกัน
การย่อยแบ่งเป็นระยะได้ สามระยะครับ คือ “สมอง” “กระเพาะ” และ “ลำไส้”
ทางเดินอาหารนั้นประกอบด้วย ช่องปาก หลอดอาหาร กระเพาะ ลำไส้เล็ก ตับ ตับอ่อน ทางเดินน้ำดี ลำไส้ใหญ่ ทวาร
Cephalic Phase (ระยะที่กระตุ้นโดยสมอง
)
ระยะนี้มีเป้าหมายคือ การเตรียมการย่อย และระยะนี้เกี่ยวข้องกับการสร้างกรด Hydrochloric (HCL) ในกระเพาะอาหาร ถึง 30 %
เมื่อเราเริ่มกินอาหาร การย่อยก็เริ่มขึ้น โดย “ฟัน” ทำหน้าที่ในการบดเคี้ยว “ลิ้น” ทำการคลุกเคล้าน้ำลายที่มีน้ำย่อย พออาหารละเอียดได้ที่ เรากลืนอาหารผ่านการบีบตัวของ “หลอดอาหาร” เพื่อเข้าสู่กระเพาะอาหาร และเริ่มต้น Gastric phase
Gastric phase (ระยะที่กระตุ้นโดยกระเพาะอาหาร)
เมื่ออาหารเข้าสู่กระเพาะอาหาร จะทำให้เกิด “การตึงยืดของผนังกระเพาะ” รวมไปถึง “สภาพกรด-เบสที่เปลี่ยนแปลง” และ “สารอาหารบางชนิด” สามสิ่งหลักๆนี้จะไปกระตุ้นการทำงานของเซลล์ต่างๆในกระเพาะ
G-Cell
เมื่อได้รับการกระตุ้นจากสมอง การตึงยืดของกระเพาะอาหาร และ โปรตีนบางชนิด G-cell จะหลั่ง Gastrin ออกมาเพื่อไปกระตุ้นการทำงานของเซลล์ต่างๆข้างเคียงให้เริ่มทำงาน
Enteroendocrine Cell
ทำหน้าที่ในกระตุ้นการหลั่งกรด HCL ผ่านการหลั่ง Serotonin และ Histamine และ ยังสามารถยับยั้งการหลั่งกรดผ่านการหลั่ง Somatostatin
Parietal Cell
ถือว่าเป็นเซลล์หลักในกระเพาะอาหาร เพราะทำการหลั่งกรด Hydrochloric (HCL) ทำหน้าที่หลักในการย่อย ผ่านการกระตุ้นของเซลล์ต่างๆ
Chief Cell
ทำหน้าที่ในการหลั่ง Pepsinogen ซึ่งจะไปรวมกับ HCL เพื่อให้เกิด Pepsin ซึ่งมีหน้าที่หลักในการย่อยโปรตีน
Intestinal Phase (ระยะที่กระตุ้นโดยการทำงานของลำไส้)
การย่อยต่อเนื่อง
ลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenum) ทำหน้าที่ในการย่อย สร้างฮอร์โมน เพื่อยับยั้งกระเพาะอาหาร สร้างฮอร์โมนเพื่อกระตุ้น ทางเดินน้ำดี ตับ และ ตับอ่อน
ทางเดินน้ำดีและตับ ทำหน้าที่สร้างน้ำดี เพื่อช่วยย่อยไขมัน ให้สามารถดูดซึมได้
ตับอ่อน ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยต่างๆ
Peptidase, Trypsin ช่วยย่อยโปรตีนให้เป็น Amino acid
Lipase ช่วยย่อยไขมันให้เป็น Glycerol, Fatty acid
Amylase ช่วยย่อยแป้งให้เป็น Glucose, Fructose
Nuclease ช่วยย่อย Nucleic acid ให้เป็น Nucleotides
การดูดซึมสารอาหารที่สำคัญ
การดูดซึมสารอาหารเหล่านี้จะเกิดขึ้นในลำไส้เล็กส่วนกลาง (Jejunum) เป็นส่วนใหญ่ และมีสารบางชนิดที่ดูดซึมบริเวณลำไส้เล็กส่วนปลาย (Ileum) คือ vitamin A D E K B12
การเก็บและขับของเสีย
เกิดในลำไส้ใหญ่ครับ จะกินเวลา 10 ชั่วโมง หรือหลายวันจนกว่าเราอยากจะขับมันออกมา ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่เรากิน
นางสาวอภิญญา ทองมี เลขที่ 69B
อ้างอิง
http://www.idoctorhouse.com/library/physiology-gi/