Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผนการให้สุขศึกษา ใส่ใจ รู้ทัน ป้องกันความดันโลหิตสูง - Coggle Diagram
แผนการให้สุขศึกษา ใส่ใจ รู้ทัน ป้องกันความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง คือ แรงดันของกระแสเลือดที่กระทบต่อผนังหลอดเลือดแดงซึ่งเกิดจากการสูบฉีดของหัวใจ (คล้ายแรงลมที่ดันผนังของยางรถเมื่อเราสูบลมเข้า) ซึ่งสามารถวัดได้โดยการใช้เครื่องวัดความดัน (Sphygmomanometer) วัดที่แขน และมีค่าที่วัดได้ 2 ค่า คือ ความดันค่าบน หรือ ความดันซิสโตลิก (Systolic blood pressure) หมายถึง แรงดันเลือดในขณะที่หัวใจบีบตัว และ ความดันค่าล่าง หรือ ความดันไดแอสโตลิก (Diastolic blood pressure) หมายถึง แรงดันเลือดในขณะที่หัวใจคลายตัว
1. ความหมายโรคความดันโลหิตสูง
2. สาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
3. ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง
4. การดูแล และป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
บทนำ
โรคความดันโลหิตสูง คือ แรงดันของกระแสเลือดที่กระทบต่อผนังหลอดเลือดแดงซึ่งเกิดจากการสูบฉีดของหัวใจ (คล้ายแรงลมที่ดันผนังของยางรถเมื่อเราสูบลมเข้า) ค่าที่วัดได้ 2 ค่า คือ
ความดันค่าบน หรือ ความดันซิสโตลิก (Systolic blood pressure) หมายถึง แรงดันเลือดในขณะที่หัวใจบีบตัว มีค่า 90-140 มิลลิเมตรปรอท
ความดันค่าล่าง หรือ ความดันไดแอสโตลิก (Diastolic blood pressure) หมายถึง แรงดันเลือดในขณะที่หัวใจคลายตัว มีค่า 60-90 มิลลิเมตรปรอท
ขั้นสอน
สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง
1.ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม : เนื่องจากโรคนี้สูงขึ้นในคนที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ โดยผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคนี้จะมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติดังกล่าวประมาณ 3 เท่า
2.เพศและอายุ : เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย มีข้อมูลบ่งบอกว่า พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในช่วงก่อนอายุ 50 ปี แต่เมื่ออายุเลย 50 ปี ผู้หญิงจะมีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมีฮอร์โมนเอสโทรเจนลดลง ซึ่งมีผลต่อความยืดหยุ่นของเส้นเลือด ส่วนในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป พบความดันโลหิตสูงเท่ากันทั้ง 2 เพศ
3.เครื่องดื่มคาเฟอีน : กาแฟมีทั้งคาเฟอีน และสารกลุ่มไดเทอร์พีน ซึ่งมีฤทธิ์เพิ่มการทำงานของหัวใจ ทำให้หลอดเลือดหดตัว ส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นได้ การดื่มกาแฟในปริมาณมาก จึงอาจทำให้ใจสั่น กระสับกระส่าย และความดันโลหิตเพิ่มขึ้นชั่วขณะ
4.การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ : การนอนหลับสนิททำให้ความดันโลหิตลดต่ำลงขณะหลับเมื่อเปรียบเทียบกับขณะตื่นตอนกลางวัน เพราะสมองและร่างกายจะได้รับการพักผ่อนสามารถซ่อมแซมส่วนต่าง ๆได้ แต่หากเรานอนหลับไม่เพียงพอจะทำให้ความดันไม่ลดและยังส่งผลให้ความดันสูงขึ้นอีก
5.ความเครียด : เมื่อเกิดความเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอทิซอล (Cortisol) และอะดรินาลีน (Adrenaline) ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เลือดสูบฉีดมากขึ้น ผนังหลอดเลือดหดเกร็งขึ้น ทำให้เกิดความดันเลือดสูงขึ้นในช่วงที่เกิดความเครียด
ขั้นสรุป
ความดันโลหิตสูงคือภาวะที่ร่างกายมีความดันหิตตั้งแต่ 140/90 mmHg ส่วนความดันโลหิต 120/80 – 139/89 mmHg จะถือว่าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยง
ซึ่งสามารถสังเกตอาการที่เกิดได้ดังนี้ วิงเวียนศีรษะหน้ามืด ปวดหัวตุบๆ หากเป็นมานานหรือความดันโลหิตสูงมาก อาจมีอาการเลือดกำเดาไหล ตามัว หรือ มองเห็นภาพซ้อน ใจสั่น มือเท้าชา ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที
ภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูง
1.สมอง : อาจเกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก กลายเป็นโรคอัมพาตครึ่งซีกซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย บางรายถ้าเป็นเรื้อรังอาจกลายเป็นโรคความจำเป็นเสื่อม สมาธิลดลง นอกจากนี้ ในรายที่มีหลอดเลือดฝอยในสมองส่วนสำคัญแตกก็อาจทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว หรือในรายที่มีความดันโลหิตสูงรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันก็อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ซึม ชัก หรือหมดสติได้ ซึ่งเรียกว่า “Hypertensive encephalopathy”
2.หัวใจ : จะทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายโต (LVH) ซึ่งถ้าปล่อยให้เป็นมากขึ้นจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงอื่น ๆ เกี่ยวกับหัวใจตามมาได้ และโรคนี้ยังอาจทำให้หลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจตีบกลายเป็นโรคหัวใจขาดเลือด มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ซึ่งถ้าเป็นรุนแรงอาจเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย ซึ่งจะทำให้มีอาการบวม หอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ ส่วนในรายที่มีความดันโลหิตสูงรุนแรง อาจตรวจพบหัวใจเต้นมากกว่า 120 ครั้งต่อนาที และจังหวะไม่สม่ำเสมอจากหัวใจห้องบนเต้นแผ่นระรัว
3.ตา : จะเกิดภาวะเสื่อมของหลอดเลือดแดงภายในลูกตาอย่างช้า ๆ ในระยะแรกหลอดเลือดจะตีบ แต่ต่อมาอาจแตกมีเลือดออกที่ตา ทำให้ประสาทตาเสื่อม ตามัวลงเรื่อย ๆ จนถึงขั้นตาบอดได้
4.ไต : อาจเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง เนื่องจากหลอดเลือดแดงแข็ง เลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ ซึ่งไตที่วายจะยิ่งทำให้ความโลหิตของผู้ป่วยสูงขึ้น กลายเป็นวงจรที่เลวร้าย
5.หลอดเลือดแดงใหญ่และหลอดเลือดแดงส่วนปลาย : หลอดเลือดแดงใหญ่เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง และภาวะเลือดเซาะผนังหลอดเลือดแดงใหญ่