Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้ป่วย Myocardial infarction - Coggle Diagram
การดูแลผู้ป่วย Myocardial infarction
การพยาบาล
ถ้าผู้ป่วยได้รับสารละลายถิ่มเลือด พยาบาลต้องติดตามอาการ อาการแสดงและระดับความรู้สึกตัวที่บ่งบอกว่ามีเลือดออกในสมอง
ให้ออกซิเจน canular ปริมาตร 3 ลิตรต่อนาที และให้นอนหงายศีรษะสูง 30 องศา เพราะเป็นท่านอนที่สบาย และหายใจสะดวก
วัดสัญญาณชีพทุกชั่วโมง
ตรวจเลือดเพื่อหาเอนไซม์ของกล้ามเนื้อหัวใจ โดยเจาะตั้งแต่วันแรกรับ
ประเมินอาการเจ็บแน่นหน้าอก เนื่องจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเป็นภาวะที่ต้องระวังอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด
บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ พร้อมทั้งติดตามการทำงานของหัวใจอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาเพื่อตรวจสอบการเต้นผิดจังหวะของหัวใจที่อาจเกิดขึ้น
สาเหตุ
ปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
กรรมพันธุ์
เพศและอายุ
ปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้
ความดันโลหิตสูง มีผลทำให้ผนังหลอดเลือดแดงโคโรนารีรับแรงกระแทกมากขึ้น จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงตีบและแข็งมากขึ้น
ระดับไขมันบางชนิดในเลือดที่สูงขึ้นจะก่อให้เกิดการสะสมของไขมันในหลอดเลือด
เบาหวาน มีผลต่อการเผาผลาญไขมันในเลือดที่ผิดปกติส่งผลให้ไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงโคโรนารีตีบแข็งได้
การขาดการออกกำลังกาย การออกกำลังกายสามารถช่วยลดปริมาณไขมันเลวและเพิ่มไขมันดีได
การสูบบุหรี่ เนื่องจากสารมีนิโคตินและคาร์บอนมอนนอกซ์ไซด์จะทำให้ผนังหลอดเลือดแดงด้านในเสียหาย
การตรวจวินิจฉัย
การตรวจเลือดหาค่าเอนไซม์ขอหัวใจ เช่น cardiac troponin T
การตรวจอื่นๆเช่น MRI หรือการตรวจโดยใช้สารกัมมันตรังสี
การตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้า
การรักษา
การรักษาทางศัลยกรรม
การใช้เลเซอร์ยิง trans myocardial revascularization : TMR
การผ่าตัดต่อเส้นเลือด coronary artery bypass grafting : CABG
percutaneous coronary intervention : PCI
การรักษาแบบประคับประคอง โดยการให้ออกซิเจน ให้ Nitroglycerin ทางหลอดเลือดดำหรืออมใต้ลิ้น
การรักษาด้วยยา
ยาละลายลิ่มเลือด
heparin
พยาธิสภาพ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (acute myocardial infarction) เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาด เลือดไปเลี้ยง ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจส่วนนั้นตายไป เนื่องจากการขาดออกซิเจนอย่างรุนแรงและเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นผลจากการไหลเวียนเลือดในหลอดเลือดแดง coronary ลดลงหรือหยุดชะงัก เมื่อเกิดการขัดข้องของการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดแดงหัวใจ ทำให้เลือดและออกซิเจนไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ตามปกติจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่กล้ามเนื้อหัวใจบริเวณนั้นๆ
เกิดการขาดเลือดได้บ่อย คือ หัวใจห้องล่างซ้ายหน้าใกล้กับยอดหัวใจ ซึ่งมักจะเกิดจากลิ่มเลือดจากหลอดเลือด anterior descending artery มีผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวหรืออาจเรียกว่าการขาดเลือด ที่หัวใจห้องล่างซ้ายพบได้มาก เนื่องจากหัวใจห้องล่างซ้ายทำหน้าที่ในการบีบตัวมากกว่า ส่วนการขาเลือดที่เกิดกับหัวใจห้องล่างขวาและห้องบนขวาเกิดขึ้นเพียงร้อยละ เท่านั้น
อาการ
อาการที่พบบ่อย คือ อาการเจ็บหน้าอกรุนแรงทันทีทันใดใต้กระดูกหน้าอก ร้าวไปที่หัวไหล่คอ ใต้คาง และแขน โดยเฉพาะ แขนซ้าย แต่อาจจะร้าวไปที่แขนขวา ลักษณะการเจ็บเหมือนถูกบีบหรือมีของหนักทับ แน่นหน้าอก อึดอัดหรือแสบหน้าอก หายใจไม่ออก อาการเจ็บหน้าอกจะไม่ดีขึ้นเป็นติดต่อกันนานมากกว่า 30 นาที การหยุดพักกิจกรรมที่ทำอยู่ไม่ได้ทำให้อาการดีขึ้น