Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบย่อยอาหาร (Digestive system), นางสาวจันทนิภา บุญถึก รหัสนักศึกษา…
ระบบย่อยอาหาร
(Digestive system)
อวัยวะในระบบย่อยอาหารแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ
1.ท่อทางเดินอาหาร ประกอบด้วย ปาก(mouth), คอหอย(phyrynx),หลอดอาหาร(esophagus),กระเพาะอาหาร(stomach),ลำไส้เล็ก(small intestine),และลำไส้ใหญ่(large intestine)
2.อวัยวะเสริมในการย่อย ประกอบด้วย ฟัน(teeth),ลิ้น(tongue),ต่อมน้ำลาย(salivary glands),ตับ(liver),ถุงน้ำดี(gallbladder),และตับอ่อน(pancreas)
จุลกายวิภาคของท่อทางเดินอาหาร
3.Muscularis เป็นชั้นกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการบีบตัวขอท่อทางเดินอาหาร ในส่วนของ ปาก คอหอย และหลอดอาหารส่วนต้น
4.Serosa เป็นชั้นที่เกิดจากเยื่อบุช่องท้อง (peritoneum) มาห่อหุ้มรอบท่อทางเดินอาหารในส่วนที่อยู่ใต้กะบังลม
2.Submucosa ประกอบด้วยเนื้อเยื่อยึดต่อที่เรียงตัวกันหนาแน่นยึดกับชั้น mucosa ไว้กับชั้นกล้ามเนื้อ ชั้นนี้มีหลอดเลือดเป็นจำนวนมาก
1.Mucosa เป็นชั้นเยื่อเมือกที่บุในท่อทางเดินอาหาร
ประกอบด้วยเนื้อเยื่อสำคัญ 3 ชั้น คือ epithelium,lamina propria,muscularis mucosae
คอหอย(pharynx)
คอหอยเป็นท่อรูปกรวย เริ่มจากทางด้านหลังของโพรงจมูกใต้ฐานกะโหลกศีรษะต่อลงไปทางด้านหลังของช่องปากและกล่องเสียง
คอหอยแบ่งโดยอาศัยความสัมพันธ์กับอวัยวะใกล้เคียงได้เป็น 3 ส่วน
nasopharynx , oropharynx , laryngopharynx
ช่องปาก (mouth)
ด้านหน้าและด้านข้าง
เป็นส่วนของแก้มซึ่งเป็นแผ่นกล้ามเนื้อของหน้าคลุมด้านนอกด้วยผิวหนัง
ด้านบน
เป็นเพดานแข็ง (hard palate) ทางด้านหน้า และเพดานอ่อน (soft palate) ทางด้านหลัง
ด้านล่าง
เป็นลิ้น(tongue)
ด้านล่าง
เป็นทางเปิดติดต่อกับคอหอยเรียกว่า fauces
ช่องปาก
แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1.Vestibule
เป็นส่วนของช่องปากที่อยู่ระหว่างแก้มและริมฝีปาก
2.Oral cavity proper
มีขอบเขตทางด้านหน้าและด้านข้างคือเหงือกและฟัน
ลิ้น(tongue)
กล้ามเนื้อลิ้นแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1.extrinsic muscles
อยู่นอกลิ้น ทำหน้าที่ เคลื่อนไหวลิ้นไปมาในการเคี้ยวอาหารและการกลืน
2.intrinsic muscles
อยู่ในลิ้น ทำหน้าที่ เปลี่ยนแปลงรูปร่างและขนาดของลอ้นในขณะที่มีการพูดหรือการกลืน
ตุ่มรับรส (taste bud)
ทำหน้าที่รับรู้รสชาติของอาหารที่รับประทานเข้าไป
ต่อมน้ำลาย(salivary glands)
น้ำลายสร้างมาจากต่อมน้ำลาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1.minor salivary glands
เป็นต่อมน้ำลายเล็กๆ ที่พบทั่วไปในเยื่อเมือกที่บุภายในช่องปาก
2.major salivary glands
เป็นต่อมน้ำลายขนาดใหญ่ที่อยู่นอกช่องปากแต่สร้างน้ำลายส่งผ่านทางท่อเข้ามาสู่ช่องปาก
ฟัน(teeth)
ฟันแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1.ตัวฟัน (crown) เป็นส่วนของฟันที่โผล่พ้นเหงือก
2.รากฟัน (root) เป็นส่วนของฟันที่ฝังอยู่ในกระเปราะบน alveolar processes ของกระดูกขากรรไกร
3.คอฟัน (neck) เป็นส่วนที่คอดยู่ระหว่างตัวฟันกับรากฟัน
ฟันประกอบด้วยเนื้อฟัน (dentine) เป็นเนื้อยึดต่อที่มีแคลเซียมมาตกตะกอน ทำให้ฟันคงรูปร่างและแข็งแรง
ฟันน้ำนม
มี 20 ซี่ โดยฟันน้ำนมซี่แรกจะเริ่มขึ้นเมื่อเด็กอายุ 6 เดือน และขึ้นครบเมื่ออายุ 2ปีครึ่ง
ฟันแท้
มี 32 ซี่ ฟันแท้ซี่แรกจะเริ่มขึ้นเมื่อเด็กอายุประมาณ 6 ปี
หลอดอาหาร(esophagus)
1.Mucosa ประกอบด้วย lamina propria และ muscularis mucosae
2.Submucosa เป็นชั้นของเนื้อยึดต่อที่บรรจุหลอดเลือดและหลอดน้ำเหลือง
3.Muscularis ชั้นกล้ามเนื้อของหลอดอาหารมีลักษณะพิเศษ ส่วนบนเป็นกล้ามเนื้อลาย ส่วนกลางมีทั้งกล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อลาย ส่วนล่างเป็นกล้ามเนื้อเรียบทั้งหมด
4.Adventitia ผนังชั้นนอกสุดของหลอดอาหารเป็นเนื้อยึดต่อที่เรียงตัวกันหลวมๆ
กระเพาะอาหาร(stomach)
1.Mucosa ชั้นเยื่อเมือกบุด้วย Simple columnar epithelium
2.Submucosa ประกอบด้วยเนื้อยึดต่อที่เรียงตัวกันเป็นหลวม
3.Muscularis ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ 3 ชั้น ดังนี้
ชั้นนอกสุดเรียงตัวตามยาว
ชั้นกลางเรียงตัวกันเป็นวงรอบ
ชั้นในเรียงตัวกันเป็นแนวเฉียง
4.Serosa เป็นเนื้อยึดต่อที่คลุมด้วย mesothelium
ลำไส้เล็ก(small intestine)
ลำไส้เล็กแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
1.duodenum เป็นลำไส้ส่วนต้นที่สั้นที่สุด
2.jejunum ลำไส้เล็กส่วนกลาง ยาว 8 ฟุต
3.ileum ลำไส้เล็กส่วนปลาย ยาว 12 ฟุต
1.Mucosa ชั้นเยื่อเมือกของลำไส้เล็กมีลักษณะพิเศษมองดูคล้ายผิวกำมะหยี่
2.Submucosa ชั้นลำไส้เล็กส่วน duodenum มีต่อมเมือกเรียกว่า duodenal glands
3.Muscularis มีกล้ามเนื้อเรียบ 2 ชั้น ชั้นนอกเรียงตามยาว ชั้นในเรียงตัวเป็นวงรอบ
4.Serosa ลำไส้เล็กส่วนกลางและส่วนปลายมีเยื่อบุช่องท้องหุ้มรอบ ส่วนลำไส้เล็กส่วนต้นมีหุ้มแค่บางส่วน
ลำไส้ใหญ่(large intestine)
1.Mucosa ไม่มี villi และ plica circulares บุด้วย simple columnar epithelium
2.Submucosa เป็นชั้นเนื่อเยื่อยึดต่อ
3.Muscularis ชั้นกล้ามเนื้อของลำไส้ใหญ่มี 2 ชั้น ชั้นในเรียงตัวเป็นวงรอบและชั้นนอกเรียงตัวตามยาว
4.Serosa จะมีถุงไขมันเล็กๆเกาะอยู่เรียกว่า epiploic appendages
ตับ(liver)
หน้าที่ของตับ มีดังนี้
สะสมคาร์โบไฮเดรต
สร้างน้ำดี
สร้างสารที่ทำให้เลือดแข็งตัว
กำจัดเซลล์เม็ดเลือดที่หมดอายุและแบคทีเรียที่อยู่ในเลือด
ถุงน้ำดี(gallbladder)
1.Mucosa บุด้วย simple columnar epithelium ที่มี microvilli
2.Submucosa เป็นชั้นของเนื้อยึดต่อที่เรียงตัวกันหลวมๆ
3.Muscularis เป็นชั้นกล้ามเนื้อเรียบที่ช่วยในการบีบตัวของถุงน้ำดี
4.Serosa และ Adventitia ถุงน้ำดีมีเยื่อบุช่องท้องคลุมเป็นบางส่วนเท่านั้น
ตับอ่อน(pancreas)
ตับอ่อนทำหน้าที่เป็นทั้งต่อมมีท่อผลิตน้ำย่อยอาหารและต่อมไร้ท่อสร้างฮอร์โมน
pancreatic islets ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนหลายชนิด เช่น glucagon , insulin
เนื้อต่อมส่วนที่เหลือประกอบด้วยกลุ่มเซลล์เรียกว่า acini สร้างน้ำย่อยอาหาร เช่น
pancreatic amylase สำหรับย่อยคาร์โบไฮเดรต
trypsin สำหรับย่อยโปรตีน
lipase สำหรับย่อยไขมัน
เซลล์ที่ประกอบเป็น acini มีรูปร่างเหมือนปิรามิด
นางสาวจันทนิภา บุญถึก รหัสนักศึกษา 64106301007
อ้างอิงจาก
วิไล ชินธเนศ.(2539)กายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์.กรุงเทพ:โรงพิมพ์เฟื่องฟ้า.