Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเจาะน้ำไขสันหลัง (Lumbar Puncture) - Coggle Diagram
การเจาะน้ำไขสันหลัง
(Lumbar Puncture)
ข้อบ่งชี้
เพื่อการวินิจฉัย
โรคติดเชื้อของเยื่อหุ้มสมอง (meningitis)
โรคที่มีพยาธิสภาพหรือรอยโรคใน subarachnoid space
เช่น subarachnoid hemorrhage, carcinomatous meningitis
โรคอื่นๆที่เกิดในเนื้อสมอง, ไขสันหลังหรือรากประสาทที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในน้ำไขสันหลัง เช่น
encephalitis, neurosyphilis, demyelinating disease, GuillainBarre’s syndrome
เพื่อการรักษา
ลดความดันในกะโหลกศีรษะ เช่น eosinophilic meningitis, cryptococcal meningitis, pseudotumorcerebri
ให้ยาทางวิสัญญีวิทยา
ให้ยาเข้าสันหลัง เช่น การให้ยาต้านจุลชีพ, ยาต้านเชื้อรา หรือยาต้านมะเร็ง
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะไขกระดูก
1.อธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงเหตุผลของการเจาะ วิธีการเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจและให้ความร่วมมือ
2.เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมด้วย aseptic technique
3.จัดท่าผู้ป่วยให้เหมาะสม
4.อยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วยในระหว่างที่แพทย์ทำการเจาะไขกระดูก พร้อมกับสังเกตอาการผิดปกติ
5.หลังจากแพทย์เจาะเสร็จแล้วควรใช้สำลีหรือผ้าก๊อซกดแผลจนเลือดหยุดไหล หรือให้ผู้ป่วยนอนหงายทับ
6.วัดสัญญาณชีพผู้ป่วย
7.ประเมินอาการปวดแผลและสังเกตภาวะเลือดออกมากกว่าปกติบริเวณแผลเจาะ
น้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal fluid , CSF )
หน้าที่สำคัญของน้ำไขสันหลัง คือ เป็นกันชนไม่ให้สมองและไขสันหลังได้รับการกระทบกระเทือนจากภายนอก รวมทั้งยังทำหน้าที่ในการขนส่งอาหารและลำเลียงของเสียต่าง ๆ ออกจากสมองด้วย
หล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง
น้ำไขสันหลังสามารถนำมาใช้ตรวจดูการติดเชื้อในระบบบประสาทส่วนกลางได้
น้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal fluid , CSF )
ในผู้ใหญ่จะมีปริมาณน้ำไขสันหลังประมาณ 90 – 150 มล.
ในเด็กเล็กจะมีปริมาณ 10 – 60 มล.
ภาวะแทรกซ้อน
1.ควรหลีกเลี่ยงการเจาะไขกระดูกตรงตำแหน่ง sternum ในผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือหรือผู้ป่วยที่มีกระดูกบางกว่าปกติ เช่น ผู้ป่วย multiple myeloma, ผู้สูงอายุ เป็นต้น
2.การใช้ guard มีความจำเป็นในการเจาะไขกระดูกที่ sternum เพื่อป้องกันเข็มเจาะทะลุกระดูก ทำให้เกิด injuryต่ออวัยวะใกล้เคียง ซึ่งทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึงแก่ชีวิตได้แก่ fatal hemorrhage,pericardial temponade, mediastinitis และ pneumomediastinum
3.ควรหลีกเลี่ยงการเจาะไขกระดูกในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของ coaglulation factors เพราะจะทำให้เลือดออกไม่หยุด
4.การเจาะไขกระดูกควรทำด้วยวิธี aseptic technique โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เม็ดเลือดขาวต่ำถึงแม้โอกาสติดเชื้อจากการเจาะไขกระดูกจะพบน้อยมากก็ตาม