Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction) - Coggle Diagram
กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction)
ภาวะที่เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดหัวใจ
จนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายในที่สุด
สาเหตุของโรค
เกิดจากการที่ก้อนไขมันในเส้นเลือดหัวใจเกิดการปริแตกออก ทำให้เกิดการจับตัวกันของเกร็ดเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้
อาการของโรค
รู้สึกแน่นและเจ็บหน้าอก ผู้ป่วยจะมีอาการแน่น รู้สึกเหมือนหัวใจถูกบีบ หรือมีแรงดันจ านวนมากที่
บริเวณกลางอกหรือที่อกข้างซ้าย โดยอาการอาจจะเกิดขึ้นไม่กี่นาทีแล้วก็หาย แต่จากนั้นก็อาจจะ
กลับมาเป็นอีก นอกจากนี้ผู้ป่วยยังอาจรู้สึกเหมือนแสบร้อนกลางอก หรืออาหารไม่ย่อยได้อีกด้วย
อาการเจ็บหน้าอกมักจะเกิดขึ้นรุนแรง บางรายอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยคล้ายกับอาหารไม่ย่อย
ขณะที่ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานอาจไม่มีอาการเจ็บหน้าอกใด ๆ ได้เช่นกัน
รู้สึกอึดอัดที่หน้าอกหรือลิ้นปี่ นอกจากรู้สึกแน่นที่หน้าอกแล้ว ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าอาการแน่นแล่นไป
ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายท่อนบนด้านซ้าย ได้แก่ บริเวณกราม คอ หลังหน้าท้อง และแขน แต่บาง
รายก็อาจมีอาการจุกเสียดแน่นทั้ง 2 ซีกของร่างกายส่วนบนได้
หายใจถี่ ๆ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการหายใจสั้นที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกของตนเอง หรืออาจเกิดขึ้น
ขณะที่รู้สึกเจ็บและแน่นหน้าอก โดยอาการนี้อาจเกิดขึ้นจากหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน
เหงื่อออกขณะที่ร่างกายเย็น
รู้สึกวิตกกังวลมากผิดปกติ
ไอ หรือหายใจมีเสียง
มีอาการเหนื่อยมากผิดปกติโดยไม่มีสาเหตุ
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรค
เพศชายอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป เพศหญิงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป
การสูบบุหรี่
ภาวะไขมันในเลือดสูง
ความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน
อ้วน
การรักษา
การให้ออกซิเจน
การให้ยาแก้ปวด
การให้ยาขยายหลอดเลือด
การให้ยาต้านเกร็ดเลือด และยาละลายลิ่มเลือด
5.ให้ยาไนโตรไกลเซริน (Nitroglycerin) เพื่อลดการทำงานของหัวใจ
และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
การผ่าตัด
การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูนและการถ่างด้วยขดลวด(Coronary Angioplasty
and Stenting) เป็นการผ่าตัดที่จะน าอุปกรณ์คล้ายที่มีลักษณะคล้ายบอลลูนใส่เข้าไปที่หลอดเลือด
หัวใจเพื่อขยายหลอดเลือดบริเวณที่อุดตันหรือตีบ แพทย์จะน าท่อเล็ก ๆ สอดเข้าไปในหลอดเลือด
หัวใจ โดยเริ่มจากที่บริเวณขา หรือขาหนีบ เพื่อถ่างหลอดเลือดไว้วิธีการผ่าตัดนี้สามารถช่วยฟื้นฟู
ระบบไหลเวียนเลือดให้สามารถไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้อย่างเพียงพอ
การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Surgery) ในบางกรณีผู้ป่วย
อาจต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อบายพาสหลอดเลือดหัวใจอย่างเร่งด่วน โดยแพทย์จะน าหลอดเลือดด าที่
บริเวณขามาเชื่อมต่อกับหลอดเลือดหัวใจ เพื่อเบี่ยงทางไหลเวียนของเลือดข้ามส่วนที่ตีบหรืออุดตัน
ซึ่งเมื่อผ่าตัดแล้วระบบไหลเวียนเลือดจะค่อย ๆ กลับมาใกล้เคียง ท าให้หัวใจกลับมาท างานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพมากขึ้น