Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ที่มีต่อสถานการณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม - Coggle…
ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ที่มีต่อสถานการณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
ระบบเศรษฐกิจแบบฐานข้อมูลข่าวสาร (Information based economy)
ระบบเศรษฐกิจได้เปลี่ยนรากฐานจากระบบอุตสาหกรรมมาเป็นระบบเศรษฐกิจแบบฐานข่าวสารโดยตรงกับการผลิต การจัดการ และการเผยแพร่ข่าวสาร ข่าวสารเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่าย เป็นที่มาการว่าจ้างแรงงานด้านข่าวสาร
ระบบการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมเปลี่ยนเป็นการผลิตต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ระบบการเงินก็ต้องปรับมาบริการแบบ 24 ชั่วโมงด้วย กระแสเงินตราต่าง ๆ ได้ผ่านเข้าและออกธนาคารตลอดเวลาในช่วงเวลาที่วัดกันเป็นเสี้ยววินาที โดยใช้อิเล็กทรอนิกส์ มีผลต่อการกระจายอํานาจและผลกําไรอย่างมากมาย มีการแข่งขันด้านการค้า กลายเป็นสภาพข้ามชาติอย่างแท้จริง มีการพัฒนาซับซ้อนจึงใช้ การทูตแผนใหม่
ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 เปรียบเหมือนคลื่นโลกาภิวัตน์ลูกที่หนึ่งทําให้ค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศถูกลง สร้างความมั่นคงให้แก่กลุ่มลูกค้าประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร แคนาดา และอิตาลี หลังปี ค.ศ.1990 คลื่นโลกาภิวัตน์เกิดขึ้นลูกที่สอง เพราะการพัฒนาเทคโนโลยีที่ล่าช้า แต่ช่วง 20 ปี ที่ผ่านมาก็ได้พัฒนาขึ้นหลาย ๆ ประเทศก็นำไปใช้ในประเทศของตนเอง
การที่ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่มีข้อมูลข่าวสารเข้ามามีบทบาทสําคัญเปลี่ยนแปลงด้านการผลิตสินค้า มาเป็นการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุมในการผลิต ทําให้ใช้ระยะเวลาการผลิตสั้นกว่า สิ้นเปลืองน้อยกว่า ผลิตในประเทศแล้วส่งออกทั่วโลก เป็นแบบฉบับธุรกิจโลกาภิวัตน์ซึ่งส่งผลต่อไปถึงธุรกิจการเงิน หลักทรัพย์ ธนาคาร ประกันภัย ที่ต้องปรับตัวเพื่อรองรับธุรกิจแบบโลกาภิวัตน์
ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ UNCTAD ระบุว่าการใช้หุ่นยนต์มากขึ้นจะกลายเป็นความเสี่ยงสำหรับแรงงานมากในประเทศที่กำลังพัฒนาและอาจจะส่งผลไปถึงการจ้างงานในครัวเรือนด้วย เนื่องจากผลสำรวจพบว่ามีการซื้อหุ่นยนต์เพื่อใช้ในบ้านเพิ่มมากขึ้น ศาสตราจารย์ริชาร์ด
บอลด์วิน บอกไว้ว่ารัฐบาลควรให้
ความสนใจกับนโยบายด้านสังคมและออกมาตรการเพื่อรักษาการจ้างแรงงาน
แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย
ไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาเคยประสบความสําเร็จจากการใช้ข้อได้เปรียบจากการส่งออกสินค้าที่ใช้แรงงานราคาถูกจน
ทําให้ประชากรมีรายได้ที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง เมื่อมีการแข่งขันมากขึ้น การทำแบบเดิมจึงเป็นอุปสรรคในระยะยาว จึงจำเป็นต้องสร้างข้อได้เปรียบใหม่ให้สามารถแข่งขันได้ ต้องเปลี่ยนจากเพิ่มมูลค่ากลายเป็นสร้างมูลค่า
ท้องถิ่นนิยม (Localism)
ระบบสื่อสารไร้พรมแดนทําให้เกิดการครอบโลกทางวัฒนธรรม อิทธิพลของวัฒนธรรมและอํานาจของเศรษฐกิจจากประเทศที่พัฒนาแล้วได้เข้าสู่ประเทศอื่นอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดกระแสวัฒนธรรมโลก ครอบงำความคิด การแต่งการ การบริโภคนิยม เป็นต้น ผลที่ตามมาคือ เกิดระบบผูกขาดแบบไร้พรมแดน ส่งผลกระทบด้านชุมชนเช่นกันทําให้เกิดการปลุกจิตสํานึกของประชาชนในท้องถิ่นให้รู้จักเห็นคุณค่าอนุรักษ์
สถานการณ์พลังงาน
ความเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกก่อให้เกิดขีดจํากัดของโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน การพัฒนา
กิจการไฟฟ้านับเป็นสิ่งที่สําคัญที่สุดต่อความมั่นคงด้านพลังงานในอนาคตของประเทศที่
กําลังพัฒนาหลายประเทศ การดําเนินโครงการกระจายไฟฟ้าสู่ชนบท การเพิ่มบทบาทเอกชนในกิจการไฟฟ้าและการยกเลิกการควบคุมราคา จะทําให้เศรษฐกิจระดับประเทศเกี่ยวโยงไปถึงเครือข่ายธุรกิจระหว่างประเทศและทั่วโลก
ตลาดพลังงานไฟฟ้าและเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิต มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก และเป็นปัจจัยสําคัญต่อความมั่นคงด้านพลังงาน การเจริญเติบโตสูงมากโดยเฉพาะทวีปเอเชีย กิจการไฟฟ้ามีวัฒนาการอย่างมาก เปลี่ยนจากที่รัฐเป็นเจ้าของไปเป็นบริษัทเอกชน
ด้านพลังงานไฟฟ้ามีความสําคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็ทําให้มีประเด็นปัญหาที่ท้าทายใหม่ ๆ เกี่ยวกับความมั่นคงด้านพลังงานเกิดขึ้นตามมา ระหว่างตลาดถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลัก กับตลาดก๊าซธรรมชาติ มีความสำคัญมาก บางครั้งไม่สามารถเทียบความสําคัญได้เท่ากับความมั่นคงด้านพลังงาน การเกี่ยวพันระหว่างเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์กับอาวุธนิวเคลียร์ยังคงเป็นปัญหาและเป็นประเด็นความมั่นคงด้านพลังงานที่สําคัญ ในศตวรรษที่ 21 ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงด้านพลังงาน คงจะเน้นในเรื่องการผลิตไฟฟ้ามากกว่าการจัดหาน้ํามัน
พลังงานเป็นปัจจัยสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ ภาคการผลิตใช้พลังงานสังเคราะห์ ได้แก่ น้ํามันเชื้อเพลิงและ
ไฟฟ้า ส่งผลให้มีการใช้อุปกรณ์เพื่ออํานวยความสะดวกในการประกอบอาชีพและการ
ดําเนินชีวิตมากขึ้น
ประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้ามากถึง 68% ของเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิต เป็นอัตราที่มีความเสี่ยงสูงต่อความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า ในปี พ.ศ.2555 ไทยมีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป ได้แก่ น้ำมันเบนซิล เบนซินพื้นฐาน เป็นต้น จึงต้องนําเข้าพลังงานวัตถุดิบจากต่างประเทศ เพื่อนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมและการค้าของประเทศ
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมีความเสี่ยง 2 ลักษณะ คือ (1) ความเสี่ยงที่เกิดยากเมื่อเกิดแล้วมีความรุนแรงมาก และ (2)
ความเสี่ยงที่สะสมจากการดําเนินการต่อเนื่อง
ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้สร้างปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติไว้มากสิ่งแวดล้อมความทรุดโทรมอย่างหนักทั้งภาวะโลกร้อน มลภาวะทางอากาศ การขาดแคลนน้ำ
ภาวะขาดแคลนน้ำ
สรุปได้ 10สาเหตุ ได้แก่
5.ภาคอุตสาหกรรมขยายตัว
6.ขาดการจัดการที่ดีในเรื่องของการใช้น้ําและควบคุมมลพิษ
4.ภาคเกษตรและปศุสัตว์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น
7.การขุดเจาะนําน้ําใต้ดินขึ้นมาใช้
3.จํานวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทําให้ความต้องการใช้น้ําเพิ่มสูงขึ้น
8.การสร้างเขื่อน
มลพิษในแม่น้ําลําคลองและแหล่งน้ำต่าง ๆ
9.ขยะที่ถูกฝังใต้ดิน
1.ภาวะเรือนกระจกที่ทําให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น
10.ป่าไม้ถูกทําลาย
การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นองค์รวมของความหลากหลายทาง พันธุกรรม ชนิดหรือสปีชีส์ และนิเวศวิทยา ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกภัยธรรมชาติที่รุนแรงคุกคาม จึงเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงของโลก มีสิ่งมีชีวิตมากทั้งจํานวนและชนิดประมาณ 6-10% ของโลก
ประเทศไทยเริ่มพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามแบบทุนนิยมตะวันตกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และสมดุลธรรมชาติมาโดยตลอด มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ป่าที่เคยมีมากถึง 70 % ของพื้นที่ทั้งประเทศให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม ป่าถูกทำรายเหลือเพียง 20% เกิดเป็นมลพิษทั้งทางดินและทางน้ำ
เทคโนโลยีนิเวศ หมายถึง การศึกษาหาข้อมูลโดยกระบวนการและความรู้ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มลภาวะทางอากาศ
การเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล จะทําให้เกิดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เมื่อก๊าซเหล่านี้ทําปฏิกิริยากับน้ําฝนหรือละอองน้ําในอากาศจะกลายเป็นกรดไนตริก และกรดกํามะถัน เกิดเป็นภาวะที่เรียกว่า “ฝนกรด” อันตรายต่อทางเดินหายใจ
คุณภาพของอากาศในเมืองที่มีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลักจะมีอนุภาคขนาดเล็กแขวนลอยอยู่ในอากาศ และ
มีก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เข้มข้นสูง เสี่ยงเป็นโรคทางเดินหายใจ
ภาวะโลกร้อน หรือภาวะอุณหภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
ช่วงทศวรรษที่ 1980 สถานีวัดอากาศได้รายงานว่า ชั้นบรรยากาศมีก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ มีเทน สารประกอบไนโตรเจน และก๊าซคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลและส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศที่จะกระทบต่อไปถึงการเกิดน้ำท่วม ภาวะแห้งแล้ง เป็นต้น
มีสาเหตุมาจากชั้นบรรยากาศที่ปกคลุมโลกไว้มีก๊าซต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกมีคุณค่ามหาศาลต่อสิ่งมีชีวิต เนื่องจากกรองรังสีจากดวงอาทิตย์ไม่ให้โนผิวโดยตรง ในชั้นบรรยากาศมีก๊าซที่ทําหน้าที่นี้ ได้แก่ CO2,O3,CH4,N2O และ CFC เรียกก๊าซเหล่านี้ว่า ก๊าซเรือนกระจก
จากช่วงสงครามโลกครั้งที่สองจนถึง ค.ศ.1988 ภาคอุตสาหกรรมมีอัตราการผลิตเพิ่มขึ้นกว่า 40 เท่าทําให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยออกมาเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ปี ค.ศ. 1988 มีรายงานผลการวิจัยว่า การเผาป่าในลุ่มน้ําอเมซอนในบราซิลปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สามพันล้านตันสู่
บรรยากาศโลกมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก