Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวิเคราะห์หลักสูตร - Coggle Diagram
การวิเคราะห์หลักสูตร
ขั้นตอนการวิเคราะห์หลักสูตร
1 กำหนด/แต่งตั้งคณะกรรมการวิเคราะห์หลักสูตร จานวน 5-10 คน จากบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในรายวิชา/ศาสตร์เดียวกัน
2 ร่วมกันวิเคราะห์เนื้อหาโดยการจำแนกรายละเอียดของเนื้อหาเป็นเนื้อหาย่อย ๆ ที่เรียงลาดับก่อนหลัง
3 สร้างตารางสำหรับวิเคราะห์ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาย่อย ๆ กับพฤติกรรม ที่ต้องการให้เกิดขึ้นทั้งด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย
4 ให้กรรมการแต่ละคนได้ให้น้ำหนักคะแนนความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหากับพฤติกรรมโดยให้กำหนดน้ำหนักคะแนนเต็มช่องละ 10 คะแนน ที่มีเกณฑ์ในการพิจารณาให้คะแนนในแต่ละข้อ
5 นำตารางวิเคราะห์หลักสูตรของกรรมการแต่ละคนมาสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตรโดยการหาค่าเฉลี่ยของน้ำหนักคะแนนที่ได้ในแต่ละช่องของกรรมการทุกคน
6 นำตารางวิเคราะห์หลักสูตรโดยเฉลี่ยมาสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร 1,000 หน่วย
เพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการนำไปใช้ในการคำนวณจานวนชั่วโมงและการสร้างแบบทดสอบด้วยการ
เทียบสัดส่วน มีวิธีการคำนวณโดยการนำคะแนนเฉลี่ยในช่องนั้นคูณด้วย 1,000 แล้วหารด้วยผลรวม
ของคะแนนเฉลี่ย
7 นำตารางวิเคราะห์หลักสูตรโดยเฉลี่ยมาสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร 100 หน่วย
ประโยชน์ของตารางวิเคราะห์หลักสูตร
1 ทำให้ครูผู้สอนทราบว่าในการสอนแต่ละรายวิชาต้องสอนเนื้อหาใดบ้างมีเนื้อหาใดที่จะต้องเน้นและมุ่งให้เกิดพฤติกรรมใดบ้าง
2 ทำให้ครูผู้สอนสามารถกำหนดเวลาในการสอนได้อย่างเหมาะสมตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรโดยการนำน้ำหนักของคะแนนในส่วนเนื้อหามาเทียบสัดส่วนกับเวลาทั้งหมดที่ใช้สอน ก็จะได้ทราบว่าจะใช้เวลาในแต่ละเนื้อหามากหรือน้อยเพียงไร
3 ทำให้ครูผู้สอนทราบว่าควรเลือกใช้สื่อ/วิธีการสอนใดจึงจะเหมาะสมกับเนื้อหาและพฤติกรรมที่มุ่งให้เกิดขึ้นโดยพิจารณาจากน้ำหนักของคะแนนรวมในส่วนของพฤติกรรมที่มุ่งให้เกิดขึ้นเป็นหลัก
4 ทำให้ครูผู้สอนทราบว่าจะต้องวัดและประเมินผลในเนื้อหาและพฤติกรรมใดบ้างก่อให้เกิดการสร้างเครื่องมือในการวัดผลที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการสร้างแบบทดสอบจะได้แบบทดสอบที่มีความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content Validity) และความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity)
5 ทำให้ครูผู้สอนหลายคนในรายวิชาเดียวกันได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนในแนวเดียวกันเน้นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเหมือนกันและสามารถใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลร่วมกันได้
ประเด็นการวิเคราะห์หลักสูตร
1 วิเคราะห์จุดมุ่งหมาย
1) วิเคราะห์จุดมุ่งหมายของหลักสูตร จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ และระบุคุณลักษณะ หรือสมรรถภาพที่ต้องการวัด (Measure) ในการทดสอบ
2) แปลงคุณลักษณะหรือสมรรถภาพที่ต้องการวัดให้มีลักษณะเป็นรูปธรรม (Operational Term) โดยปกติแล้วนิยมเขียนเป็นโดเมนของพฤติกรรม หรือพฤติกรรมที่เป็นจุดมุ่งหมายปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนหลังจากเรียนวิชานั้นแล้ว
2 วิเคราะห์เนื้อเรื่อง
1) วิเคราะห์เนื้อหาของหลักสูตร เนื้อหาของการเรียนการสอน เพื่อจำแนกเนื้อหา และจัดรวมหน่วยย่อยที่มีความสัมพันธ์กัน เช่น จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาเป็นบทตอน และหน่วย การสอน
2) เรียงลาดับความสำคัญของเนื้อหา และจัดลาดับการสอนว่าสิ่งใดควรจะสอน ก่อน-หลัง
3 วิเคราะห์กิจกรรม/ประสบการณ์ เป็นการวิเคราะห์กิจกรรม/ประสบการณ์ของ การเรียนรู้ เพื่อเป็นแนวคิดในการกำหนดรูปแบบวิธีการสอน และวิธีการทดสอบที่เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาของการเรียนรู้นั้น
ความหมายของการวิเคราะห์หลักสูตร
เป็นการจำแนกหลักสูตรออกเป็นเนื้อหาย่อย ๆ ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหา และระดับพฤติกรรมที่ต้องการวัด เพื่อนำไปสู่การวางแผนการสอนและ การสร้างผังแบบทดสอบที่มีคุณภาพและตรงกับสิ่งที่ต้องการจะวัดต่อไป