Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
(ระดับที่ 1.0 การรับรู้ (Receiving) เป็นขั้นการสร้างความตระหนักของบุคคลเมื…
- ระดับที่ 1.0 การรับรู้ (Receiving) เป็นขั้นการสร้างความตระหนักของบุคคลเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นหรือที่แสดงความตั้งใจที่จะรับรู้และการเลือกสิ่งที่สนใจที่การรับรู้ จาแนกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1.1 การตระหนัก (Awareness) เป็นขั้นที่บุคคลเริ่มมีความรู้สึกให้ความสนใจต่อสิ่งเร้าที่เข้ามาแต่ยังไม่เห็นความสาคัญในสิ่งนั้น ๆ
1.3 การควบคุมหรือคัดเลือกรับรู้ (Controlled or Selected Attention) เป็นขั้นที่บุคคลจะเลือกสรร/คัดเลือกต่อสิ่งเร้าที่ตนเองสนใจ/ไม่พอใจ
1.2 การเต็มใจที่จะรับ (Willingness to Receive) เป็นขั้นที่บุคคลจาแนก ความแตกต่างระหว่างสิ่งเร้าที่หลากหลายและมีความพึงพอใจ/เต็มใจต่อสิ่งเร้าที่ตนเองสนใจเท่านั้น
- ระดับที่ 2.0 การตอบสนอง (Responding) เป็นขั้นที่บุคคลจะแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบที่จะตอบสนองและค้นหาสิ่งที่พึงพอใจในระดับต้น ๆ ที่จะตอบสนองด้วยการตอบสนองจำแนกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
2.1 การยินยอมตอบสนอง (Acquiescence to Responding) เป็นขั้นที่บุคคลแสดงออกในลักษณะของความยินยอมที่จะทาตามเงื่อนไขหรือระเบียบ
2.2 การเต็มใจตอบสนอง (Willingness to Response) เป็นขั้นที่บุคคลได้แสดงการตอบสนองต่อเงื่อนไขด้วยความเต็มใจ/ตั้งใจของตนเอง
2.3 การพึงพอใจตอบสนอง (Satisfaction to Response) เป็นขั้นที่บุคคลแสดงออกทางอารมณ์ในลักษณะของความพึงพอใจ/เต็มใจต่อเงื่อนไขที่ตนเองได้ปฏิบัติ
- ระดับที่ 3.0 การสร้างคุณค่า (Valuing) เป็นขั้นตอนการแสดงการยอมรับคุณค่าในวัตถุสิ่งของ (Object) บุคคล (Person) หรือสถานการณ์ (Situation) ยอมรับและเชื่อมั่นในคุณค่าของสิ่งนั้น ๆ ในทางบวกที่การสร้างคุณค่า จาแนกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
3.1 การยอมรับคุณค่า (Acceptance for a Value) เป็นขั้นการพิจารณาว่าสิ่งที่ปฏิบัติมีความสาคัญและเป็นสิ่งที่ดีต่อตนเอง
3.2 การชื่นชอบในคุณค่า( Preference for a Value) เป็นขั้นการแสดงความพอใจเอาใจใส่สิ่งที่ปฏิบัติในขั้นการยอมรับคุณค่า
3.3 การเชื่อถือ (Commitment or Conviction) ในคุณค่าเป็นขั้นการปฏิบัติในสิ่งที่ยอมรับและชื่นชอบอยู่สม่าเสมอและมีความพยายามที่จะชักชวนให้บุคคลอื่นปฏิบัติตามตนเอง
- ระดับที่ 4.0 การจัดระบบคุณค่า (Organization) เป็นขั้นการนาคุณค่าย่อย ๆ ที่หลากหลายมาจากระบบความซับซ้อนของคุณค่ารวมทั้งจัดระบบความสัมพันธ์/เชื่อมโยงของคุณค่าให้เป็นหมวดหมู่การจัดระบบคุณค่า จาแนกเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้
4.1 การสร้างความคิดรวบยอดของคุณค่า (Conceptualization of a Value) เป็นขั้นที่บุคคลจะสร้างหลักการ/แนวคิดของคุณค่าใหม่ที่ได้จากการวิเคราะห์/สังเคราะห์ระบบหมวดหมู่ของคุณค่าย่อย ๆ ให้มีความชัดเจน
4.2 การจัดระบบคุณค่า (Organization of a Value System) เป็นขั้นการนาหลักการ/แนวคิดของคุณค่ามาจัดระบบสร้างเป็นลักษณะภายในตนที่คงที่ หรือเป็นอุดมการณ์ของความคิด
5. ระดับที่ 5.0 การสร้างลักษณะนิสัย (Characterization) เป็นขั้นการจัดระบบคุณค่าที่จะกลายเป็นลักษณะนิสัยหรือบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลในการดาเนินชีวิต ด้วยการสร้างลักษณะนิสัย จาแนกได้ 2 ขั้นตอน ดังนี้
5.1 การสรุปนัยทั่วไปของคุณค่า (Generalized Set) เป็นขั้นการแสดงลักษณะนิสัยหรือบุคลิกภาพคุณค่าบางประการที่ตนเองใช้ปฏิบัติอยู่ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ ๆ
5.2 การสร้างลักษณะนิสัย/บุคลิกภาพ (Characterization) เป็นขั้นที่แสดงลักษณะหรือบุคลิกภาพที่แท้จริงตามคุณค่า/อุดมการณ์/ปรัชญาชีวิตที่ตนเองกาหนดขึ้นอย่างสมบูรณ์
จิตพิสัย เป็นคุณลักษณะแฝงภายในบุคคลเกี่ยวข้องกับอารมณ์
ความรู้สึก และจิตใจ ได้แก่ ความสนใจ เจตคติ ค่านิยม จริยธรรม ฯลฯ
ที่เป็นคุณลักษณะที่สังเกตได้ยากเนื่องจากการที่บุคคลมีความคิดความรู้สึกแบบเดียวกันอาจจะแสดงออกในพฤติกรรมที่แตกต่างกันหรือเหมือนกันเนื่องจากสภาพในจิตใจที่แตกต่างกัน
จิตพิสัย (Affective Domain) เป็นการกระทาที่เป็นกระบวนการภายในของมนุษย์เช่น อารมณ์ความรู้สึก ความสนใจ เจตคติ ค่านิยม การaคุณลักษณะและแรงจูงใจ จิตพิสัยเป็นความรู้สึกหรืออารมณ์ของบุคคลมากกว่าความเข้าใจ เป็นความชอบ/ไม่ชอบ
ความชื่นชม/ ไม่ชื่นชม ความพึงพอใจ/ไม่พอใจ ความเชื่อมั่น/ไม่เชื่อมั่น
ความภูมิใจ/ไม่ภูมิใจ อุดมคติและค่านิยม (Ebel & Frisbie, 1986)