Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทพากย์เอราวัณ - Coggle Diagram
บทพากย์เอราวัณ
-
ความเป็นมา
บทพากย์เอราวัณเป็นพระราช นิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัย เป็นคำาพากย์สั้น ใช้สำาหรับเล่นโขน โดยหอสมุด วชิรญาณได้จัดพิมพ์รวมเล่ม ชื่อ หนังสือ รามเกียรติ์คำาพากย์
-
ลักษคำประพันธ์
บทพากย์เอราวัณแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทกาพย์ฉบัง ๑๖ สาเหตุที่เป็น ๑๖ ก็เพราะหนึ่งบทจะมี ๑๖ คำ/พยางค์ โดย ๑ บท มี ๓ วรรค มีสัมผัสบังคับอยู่ที่คำสุดท้ายของวรรคแรกและวรรคที่สอง ส่วนคำสุดท้ายของวรรคที่สามใช้ส่งเข้าบทถัดไป กาพย์ฉบัง ๑๖ มีฉันทลักษณ์และตัวอย่างดังนี้ ... สิบหกคำมี ท้ายวรรคหนึ่ง, สอง คล้องกัน
เนื้อเรื่อง
บทพากย์เอราวัณมีที่มาจากรามเกียรติ์ ตอน ศึกอินทรชิต ซึ่งศึกอินทรชิตก็เป็นตอนหนึ่งจากรามเกียรติ์ทั้งหมดกว่า ๑๗๘ ตอน (อ้างอิงจากหนังสือชุดวรรณคดีอมตะของไทย โดยเปรมเสรี) อินทรชิตเป็นบุตรของทศกัณฐ์กับนางมณโฑ เดิมทีชื่อ “รณพักตร์” แต่เปลี่ยนชื่อเป็น “อินทรชิต” เนื่องจากเป็นผู้รบชนะพระอินทร์ อินทรชิตบำเพ็ญตบะมายาวนานจึงเป็นยักษ์ที่มีฤทธิ์แก่กล้ามาก แถมยังมีอาวุธวิเศษ ๓ อย่างที่ได้มาจากการทำพิธีขออาวุธจากมหาเทพทั้งสามอีก หนึ่งในนั้นคือศรพรหมาสตร์ และพรที่ทำให้แปลงร่างเป็นพระอินทร์ได้ (อาวุธและพรนี้อินทรชิตได้มาจากพระอิศวร) ซึ่งพรข้อนี้มีบทบาทอย่างมากในรามเกียรติ์ ตอน ศึกอินทรชิต
จากพรข้อนี้ ในตอนที่อินทรชิตจัดทัพออกไปรบกับฝ่ายพระราม อินทรชิตจึงใช้อุบายแปลงกายเป็นพระอินทร์ และให้การุณราชแปลงเป็นช้างเอราวัณ เพื่อให้พระรามและกองทัพหลงใหลในความงดงามอลังการ เนื้อหาส่วนใหญ่จึงพรรณนาถึงความยิ่งใหญ่สวยงามของช้างเอราวัณ (ปลอม ๆ) และกองทัพเหล่าผู้วิเศษ (ปลอม ๆ อีกเช่นกัน) และมีส่วนที่กล่าวถึงการเคลื่อนทัพของพระรามไปยังสนามรบ ซึ่งระหว่างที่เคลื่อนพลก็เกิดปรากฎการณ์เหนือธรรมชาติต่าง ๆ มากมาย
โดยจุดมุ่งหมายของอินทรชิตในศึกครั้งนี้คือยิงศรพรหมาสตร์ใส่พระลักษมณ์ ศรพรหมาสตร์เป็นอาวุธวิเศษที่อินทรชิตได้มาจากพระอิศวร เป็นอาวุธที่ทรงพลังมาก และทำให้กองทัพของพระรามพ่ายแพ้ไปในศึกครั้งนี้