Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
care of patient with immune system disorder "SLE" - Coggle…
care of patient with immune system disorder
"SLE"
พยาธิสภาพ
พบว่ามีหลายรูปแบบ
เกิดปฏิกิริยาระหว่าง lymphocytotoxic antibody กับ T lymphocyte มี lymphocytotoxic antibody ที่จำเพาะต่อ T lymphocyte มากกว่าlymphocyteชนิดอื่นๆ ดังนั้น lymphocytotoxic antibodyจึงรบกวนการทำหน้าที่ของ T lymphocyte ได้ และเมื่อ complement ร่วมอยู่ด้วยจะเกิดการทำลาย T lymphocyte นอกจากนี้สารประกอบเชิงซ้อนที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่าง lymphocytotoxic antibody กับ self-antigen ของ T lymphocyte สามารถหลุดไปเกาะติด lymphocyte ตัวอื่นๆ จะขัดขวางการทำหน้าที่ของlymphocyte ตัวนั้น ๆ หรืออาจหลุดไปติดหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดอักเสบ(vasculitis) หรือถ้าไปเกาะที่ไตจะทำให้ไตอักเสบ (nephritis)
ปฏิกิริยาระหว่าง auto-antibody ท่จำเพาะต่อเม็ดเลือด มี auto-antibody หลายชนิดที่กระทำต่อเม็ดเลือดที่พบในโรค SLE เช่น anti-red cell antibody, antiplatelet Antibody ซึ่งเมื่อเกิดปฏิกิริยากับ self-antigen ที่เม็ดเลือดแดงหรือที่เกล็ดเลือดจะทำให้เกิด hemolytic anemia และ thrombocytopenia 4. เกิด LE cell auto-antibody ชนิด 7S IgG จำเพาะต่อ DNA ของเม็ดเลือดขาวที่ถูกทำลายร่วมกับcomplement จะทำให้ลักษณะของ DNA เปลี่ยนไปและถูก phagocytosis ด้วย neutrophil
เกิดการยึดเกาะของสารประกอบเชิงซ้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิคุ้มกัน สารประกอบเชิงซ้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างauto-antibodyกับ self-antigen ไปเกาะติดตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น เนื้อไต หลอดเลือด หรือข้อ ทำให้เกิดการอักเสบบริเวณเนื้อเยื่อ
เกิด LE cell
auto-antibody ชนิด 7S IgG จำเพาะต่อ DNA ของเม็ดเลือดขาวที่ถูกทำลายร่วมกับcomplement จะทำให้ลักษณะของ DNA เปลี่ยนไปและถูก phagocytosis ด้วย neutrophil ลักษณะที่เกิดขึ้นเรียก LE cell ซึ่งใช้เป็นตัวช่วยในการ วินิจฉัยโรค SLE แต่อาจตรวจพบในโรคอื่นด้วย เช่น rheumatoid arthritis, scleroderma
คือ
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้าง auto-antibody ต่อต้านสาร self-antigen ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากกลไกการย่อยสลายของเซลล์ในร่างกายตามปกติกลไกการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน
การรักษา
การรักษาด้วยยา
การรักษาอาการไม่รุนแรง (Mild SLE)
Antimalarials (chloroquine hydroxychloroquine)ใช้เมื่อผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อ NSAIDs นอกจากบรรเทา ปวด ยากลุ่มนี้ช่วยลดอาการอักเสบของผิวหนังได้ดี เนื่องจากมีฤทธิ์ กดภูมิคุ้มกัน ต้านการอักเสบและกันแดดได้ด้วย และมีรายงานว่ายามีฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดและลดคอเลสเตอรอล
ขนาดยาที่ใช้
hydroxychloroquine ครั้งละ 200 มก. วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นลดลงเหลือวันละ 200 มก. (ขนาดยาไม่เกิน 6 มก./กก./วัน)
อาจทำให้เกิด proteinuria และ edemaไตวายและภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิด aseptic meningitis
การเฝ้าระวัง
ยานี้จะมีผลต่อม่านตา ผู้ป่วยควรได้รับการ ตรวจสายตาทุก 6 เดือน นอกจากนี้ยาอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ คัน ผิวคล้ำ ปวดกล้ามเนื้อ การใช้ยาเป็นเวลานานเมื่อหยุดยา ผู้ป่วย อาจมีอาการแรกเริบ และในรายที่ผู้ป่วยดื้อยาให้ใช้ quinacrine ร่วม กับ hydroxychloroquine หรือ dapsone ร่วมกับ thalidomide 3. ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยาที่กล่าวมา ต้องรักษาด้วย สเตียรอยด์ขนาดต่ำ ๆ เช่น prednisolone 0.3-0.5 มก./กก./วัน เป็น เวลา 4-6 สัปดาห์ หลังจากนั้นค่อย ๆ ลดขนาดยาลงตามลำดับ 4. สำหรับรอยอักเสบที่ผิวหนังให้ทาครีมสเตียรอยด์
ลักษณะอาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย มีแผล ในช่องปาก และผิวหนังอักเสบเล็กน้อย มีไข้ต่ำ ๆ ค่าแล็บผิดปกติ เล็กน้อย ปวดศีรษะ อาการปวดข้อและกล้ามเนื้อจะเป็นอาการนำที่ พบบ่อยที่สุดสำหรับ SLE ในระยะต้น
การรักษาอาการรุนแรงปานกลาง (Moderate SLE)
ลักษณะอาการ
ได้แก่ ไข้สูง, toxaemia, ผิวหนังและเยื่อ เมือกอักเสบรุนแรง แพ้แสงแดด ตรวจพบความผิดปกติของจำนวน แอนติบอดีมาก ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบระดับกลาง ไตเริ่ม อักเสบ โลหิตจางเนื่องจากตกเลือด และเกล็ดเลือด่ำ
รับประทาน prednisolone 1 มก./กก./วัน ร่วมด้วยยา กลุ่ม antimalarial ควรให้ prednisolone จนกระทั่งโรคสงบ ปกติจะใช้ เวลาประมาณ 6 สัปดาห์หลังจากนั้นให้ค่อย ๆ ลดขนาดลงอย่างช้า ๆ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 6-12 เดือน ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะรักษา แบบ pulse therapy ด้วย methylprednisolone (15 มก./กก. ขนาด สูงสุด 1 กรัม) โดยฉีดเข้าหลอดเลือดด่ำเป็นเวลา 1 ชั่วโมง จำนวน 3-5วันติดต่อกัน เพื่อควบคุมอาการ หลังจากนั้นจึงให้prednisolone โดยการรับประทาน
ผู้ป่วยควรได้รับแคลเซียม 1,000 มก./วัน เสริม และวิตามินดี 800 ยูนิต/วัน และ alendronate 70 มก./สัปดาห์ เพื่อป้องกันกระดูก พรุนเนื่องจากการใช้ prednisolone เป็นเวลานาน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ จำเป็นต้องใช้สเตียรอยด์นานเกิน 6 เดือน อาจใช้antimalarial ควบคุม โรค และใช้ NSAIDs เป็นครั้งคราวเมื่อมีอาการปวด
การรักษาอาการรุนแรง (Severe SLE)
ลักษณะอาการ
-dose daily oral prednisolone (40-60 มก./วัน) ร่วมกับ cyclophosphamide pulses IV (ขนาดยา 0.75 ก./ม.2 สูงสุด
ไม่เกิน 1 กรัม เป็นเวลา 1 ชั่วโมง) เดือนละครั้งติดต่อกัน 6 เดือน จากนั้นเพื่อควบคุมโรคให้ยา cyclophosphamide ทุก 3 เดือน เป็น เวลา 2 ปี สำหรับ prednisolone จะต้องค่อย ๆ ลดขนาดลง โดยใช้ เวลา 6 เดือน จนกระทั่งให้ได้ขนาดยาต่ำสุด เช่น 5-7.5 มก./วัน cyclophosphamide อาจทำให้เกิด hemorrhagic cystitis ซึ่งการให้ ยาต้องให้คู่กับสารนในปริมาณมากหรือให้ร่วมกับ MESNA การให้ ยาระบบนี้เชื ่อว ่ามีผลดีกับการป้องกันไต หรือหลังจากให้ยา cyclophosphamide ควบคุมอาการให้สงบในช่วงแรก (6 เดือน) หลัง จากนั้นควบคุมโรคด้วย azathioprine 2-2.5 มก./กก./วัน เป็นเวลา 2 ปี
หรือเริ่มรักษาด้วยสเตียรอยด์IV 3 วันติดต่อกันทุกเดือน และรับประทาน cyclophosphamide(2 มก./กก./วัน) หรือ azathioprine
หรือใช้ยา oral prednisolone ร่วมกับรับประทานยา cyclophosphamide และ azathioprine
หรืออาจใช้กระบวนการ plasmapheresis หรือใช้ยา cyclosporine และ mycophenolate mofetil การทำลายอวัยวะยังคงปรากฏแม้ว่าโรคจะสงบลงในระยะ สั้น ๆ การใช้ยาร่วมกัน 2-3 ตัว พบว่าอุบัติการณ์ ESR ลดลง แต่ยัง ไม่มีรายงานสรุปว่าการใช้ยา 2-3 ชนิดจะทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิตสูงกว่า การใช้สเตียรอยด์ชนิดเดียว
อาการและอาการแสดง
ใช้วินิจฉัยร่วมอย่างน้อย 4 อาการ
Pleuritis or pericarditis เยื่อหุ้มปอดหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ แสดงออกด้วย อาการเจ็บบริเวณปอด หรือมีเสียงปอดผิดปกติหรือตรวจพบคลื่น ไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ
Renal disorder มีความผิดปกติของไต โดยตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ > 0.5 ก./วัน ต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือพบโปรตีน > 3+ พบ เม็ดเลือดแดงและฮีโมโกลบินในปัสสาวะ
Non-erosive arthritis ปวดข้อตั้งแต่สองข้อขึ้นไป ข้อบวม แต่กระดูกหรือผิว กระดูกไม่กร่อน
Neurologic disorder อาการทางประสาท มีอาการชัก และมีอาการทางจิตเวช แต่ทั้งนี้ต้องมั่นใจว่าผู้ป่วยมิได้รับยาที่อาจเป็นสาเหตุของอาการ ทางจิตประสาท
Oral ulcers แผลในปากหรือบริเวณส่วนในใกล้คอ แต่ไม่เจ็บ
Hematologic disorder ความผิดปกติของเม็ดเลือด เกิด hemolyticanemiaและ ตรวจพบเม็ดเลือดขาวต่ำ (< 1,500/mm3 (ต้องตรวจอย่างน้อยสองครั้ง) thrombocytopenia (เกล็ดเลือด < 100,000/mm3 และต้องไม่เกิด จากฤทธิ์ยาอื่น)
Photosensitivity ผื่นแดงเนื่องจากแพ้แสงแดด แม้โดนแสงแดดปกติ
Immunologic disorder
10.1 ตรวจพบความผิดปกติของปริมาณ autoantibody ดังนี้ dsDNA antibody หรือ Sm antibody
10.2 อาจตรวจพบ antiphospholipidantibody โดยให้ตรวจหา IgG หรือ IgM anticardiolipin antibody และตรวจ พบ lupus anticoagulant และตรวจหา antibody ของ syphilis (treponemal antibody absorption test) ต่อเป็นเวลา 6 เดือน เพื่อ คัดแยกผลการตรวจที่เป็นบวกลวง
Discoid rash ลักษณะผื่นแดงนูนหนา มีสะเก็ด เมื่อมีอาการจะเกิดที่ รอยเดิม
Positive antinuclear antibody ตรวจพบ antinuclear antibody ต่าง ๆ โดย immunofluorescence ตลอดเวลา ทั้ง ๆ ที่ผู้ป่วยไม่ได้รับยาที่ เหนี่ยวนำให้เกิด lupus
Malar rash อาการผื่นแดงผิวเรียบหรือนูนบริเวณโหนกแก้มทั้งสอง ข้าง มองดูคล้ายปีกผีเสื้อ