Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นักทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt) - Coggle Diagram
นักทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt)
เลวิน (Lewin)
เชื่อว่า ความคิดของบุคคลเกิดจากการรับรู้สิ่งเร้า ซึ่งบุคคลมักรับรู้ในลักษณะภาพรวมหรือส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย
บลูม (Bloom, 1961)
ได้จำแนกการรู้ (Cognition) ออกเป็น 5 ขั้น ได้แก่
การรู้ขั้นความรู้ความจำ
การรู้ขั้นเข้าใจ
การรู้ขั้นวิเคราะห์
การรู้ขั้นสังเคราะห์
การรู้ขั้นประเมิน
ทอแรนซ์ (Torrance, 1962)
ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ ว่าประกอบไปด้วยความคล่องแคล่วในการคิด (Fluency) ความยืดหยุ่นในการคิด (Flexibility) และความคิดริเริ่มในการคิด (Originality)
ออซูเบล (Ausubel, 1963)
อธิบายว่า การเรียนรู้อย่างมีความหมาย (Meaningful Verbal Learning) จะเกิดขึ้นได้ หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีมาก่อน
เพียเจต์ (Piaget, 1964)
ได้อธิบายถึงพัฒนาการทางสติปัญญาว่า เป็นผลเนื่องมาจากการปะทะสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม โดยบุคคลพยายามปรับตัวโดยใช้กระบวนการดูดซึม (Assimilation)และกระบวนการปรับให้เหมาะสม (Accommodation) โดยการพยายามปรับความรู้ ความคิดเดิมกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ซึ่งทำให้บุคคลอยู่ในภาวะสมดุล สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้
บรุนเนอร์ (Bruner, 1965)
กล่าวว่า เด็กเริ่มต้นเรียนรู้จากการกระทำ ต่อไปจึงจะสามารถจินตนาการ สร้างภาพในใจ หรือในความคิดขึ้นได้ แล้วจนถึงขั้นการคิดและเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม
กานเย (Gagne, 1965)
ได้อธิบายว่า ผลการเรียนรู้ของมนุษย์มี 5 ประเภท ได้แก่
ทักษะทางปัญญา (Intellectual Skills)
ทักษะกลวิธีในการเรียนรู้ (Cognitive Strategies)
ทักษะทางภาษา (Verbal Information)
ทักษะการเคลื่อนไหว (Motor Skills)
เจตคติ (Attitudes)
กิลฟอร์ด (Guilford, 1967)
ได้อธิบายว่า ความสามารถทางสมองของมนุษย์ประกอบด้วยมิติ 3 มิติ ดังนี้
ด้านเนื้อหา (Contents)
มิติด้านปฏิบัติการ (Operations)
มิติด้านผลผลิต (Products)
ลิปแมน และคณะ (Lipman, 1981)
ได้นำเสนอแนวคิดในการสอนคิดผ่านทางการสอนปรัชญา (Teaching Philosophy) โดยมีความเชื่อว่า ความคิดเชิงปรัชญาเป็นสิ่งที่ขาดแคลนมากในปัจจุบัน เราจำเป็นต้องสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Community of Inquiry) ที่ผู้คนสามารถร่วมสนทนากัน เพื่อแสวงหาความรู้ความเข้าใจทางการคิด ปรัชญาเป็นวิชาที่จะช่วยเตรียมให้เด็กฝึกฝนการคิด
คลอสไมเออร์ (Klausmier, 1985)
ได้อธิบายกระบวนการคิดโดยใช้ทฤษฎีการประมวลผลข้อมูล (Information Processing) ว่า การคิดมีลักษณะเหมือนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คือ มีการนำข้อมูลเข้าไป (Input) ผ่านตัวปฏิบัติการ (Processer) แล้วจึงส่งผลออกมา (Output) กระบวนการคิดของมนุษย์
มีการรับข้อมูล มีการจัดกระทำและแปลงข้อมูลที่รับมา มีการเก็บรักษาข้อมูล และมีการนำข้อมูลออกมาใช้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
สเติร์นเบอร์ก (Sternberg, 1985)
ได้เสนอทฤษฎีสามศร (Triarchich Theory) ซึ่งประกอบด้วยทฤษฎีย่อย 3 ส่วน คือ
ทฤษฎีย่อยด้านบริบทสังคม (Contexual Subtheory)
ทฤษฎีย่อยด้านประสบการณ์ (Experiential Subtheory)
ทฤษฎีย่อยด้านกระบวนการคิด (Componential Subtheory)
การ์ดเนอร์ (Gardner, 1983)
เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดใหม่เกี่ยวกับสติปัญญาของมนุษย์ คือ ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences) ซึ่งแต่เดิมทฤษฏีทางสติปัญญามักกล่าวถึงความสามารถเพียงหนึ่งหรือสองด้านแต่การ์ดเนอร์เสนอไว้ถึง 8 ด้าน ได้แก่
ด้านดนตรี
ด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ
ด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาส
ด้านมิติสัมพันธ์
ด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น
ด้านการเข้าใจตนเอง
ด้านความเข้าใจในธรรมชาติ