Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ราชภัฏเชียงใหม่ภายใต้วิถีล้านนา, 63144116 นิพิฐพนธ์ ปาลี - Coggle Diagram
ราชภัฏเชียงใหม่ภายใต้วิถีล้านนา
ล้านนา
อาณาจักรล้านนา
ดินแดนล้านนาปัจจุบัน
• กลุ่มล้านนาตะวันตก:
เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง
เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน
กลุ่มล้านนาตะวันออก:
แพร่
กำเนิดอาณาจักรล้านนา
และการสร้างนครเชียงใหม่
พระเจ้ามังราย สร้างเชียงใหม่ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1839 สิ้นรัชสมัยของพระราชวงศ์มังรายเมื่อพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ครองเมืองเป็นองค์สุดท้ายจึงเสียเมืองให้แก่พระเจ้าบุเรงนอง เมื่อวันเสาร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7เวลา 9 โมง พ.ศ. 2101
พระเจ้ามังรายมหาราช เป็นพระโอรสของพญาลาวเม็งกับพระนางอั้วมิ่งจอมขวัญ ธิดาของท้าวรุ่งแก่นชาย เจ้าเมืองเชียงรุ้ง ขึ้นครองราชย์สมบัติแทนบิดาเมื่อ พ.ศ.1802 ที่เมืองชัยวรนครเชียงลาวหรือเมืองหิรัญนครเงินยางซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ าสายไหลลงมาบรรจบแม่น้ าโขง
หลังจากขึ้นเสวยราชสมบัติได้ 3 ปี ช้างพระที่นั่งของพระองค์ซึ่งปล่อยไว้ที่ป่าหัวดอยทางทิศตะวันออกได้หลุดหายไป พระองค์จึงเสด็จตามช้างจนถึงดอยจอมทองริมฝั่งแม่น้ำกก เห็นภูมิประเทศเป็นที่เหมาะสมชัยภูมิดี ก็โปรดให้สร้างพระนครขึ้นที่นั่นโดยก่อกำแพงโอบรอบเอาดอยจอมทองไว้ตรงกลางเมือง แล้วเรียกว่า “เมืองเชียงราย”แล้วทรงย้ายราชธานีจากเมืองหิรัญนครเงินยางมาตั้งอยู่ที่เชียงราย
พระเจ้ามังราย ทรงทำสงครามแผ่ราชอาณาจักรเพื่อรวมไทยภาคเหนือเข้าด้วยกัน ขณะเดียวกัน พ่อขุนรามคำแหง ผู้เป็นพระสหายก็สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นทางภาคกลาง และมีอาณาเขตติดต่อกัน ทั้งสองพระองค์จึงมิได้รุกรานซึ่งกันและกัน
หลังจากที่พระองค์ตีได้อาณาจักรหริภุญชัยจากพญายีบา เมื่อปี พ.ศ.1824 จึงครองเมืองหริภุญชัยอยู่ 2 ปีก็มอบเมืองให้อ้ายฟ้ามนตรี คนสนิทครองเมืองต่อไป ส่วนพระองค์ได้สร้างเมืองใหม่อยู่ทางทิศอีสานของเมืองหริภุญชัย
อยู่ได้ 3 ปี เห็นว่าต าบลนั้นเป็นที่ลุ่ม น้ ามักท่วมในฤดูฝน หาที่พักอาศัยให้แก่พาหนะและสัตว์เลี้ยงลำบากนัก จึงได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่อยู่ริมฝั่งแม่น้ ามิงค์ เมื่อ พ.ศ. 1829 เรียกว่า “เวียงกุมกวม” (ภาษาเหนือออกเสียงเป็น กุ๋มก๋วม แปลว่า สร้างครอบแม่น้ ามิงค์) เมืองนี้ปัจจุบันอยู่บริเวณตำบลท่าวังตาลอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
พระเจ้ามังราย ครองเมืองกุมกามอยู่จนถึง พ.ศ.1834 วันหนึ่งพระองค์เสด็จประพาสล่าสัตว์ทางทิศเหนือไปถึงเชิงดอยอ้อยช้าง (ดอยกาละ หรือ ดอยสุเทพ) ทรงประทับแรมอยู่ตำบลบ้านแหนได้ 3 เพลาพระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นสถานที่ ชัยภูมิ ตรงนั้นดีมาก เป็นทำเลที่เหมาะสำหรับการสร้างเมืองอยู่อาศัย
ในราตรีนั้นพระองค์ทรงสุบินนิมิตว่า มีบุรุษผู้หนึ่ง (คือเทพยดาจำแลง) มาบอกกับพระองค์ว่า หากพระองค์มาสร้างเมืองอยู่ที่นั่น จะประสพความเจริญรุ่งเรืองยิ่งนัก เมื่อพระองค์ทรงตื่นจากสุบินทรงเห็นเป็นศุภนิมิตก็มีความดีพระทัยเป็นอันมาก ทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างเมืองขึ้น
เมื่อพระองค์เสด็จกลับเวียงกุมกวม จึงเกณฑ์ไพร่บ้านพลเมืองไปยังสถานที่นั้นเพื่อสร้างเมืองใหม่และทำพิธีตั้งไชยภูมิเมืองขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 7 เหนือ ขึ้น 8 ค่ำดิถี 8 นาทีจันทรเสวยฤกษ์ 7 ปุณณะสฤกษ์ ในราศีกรกฎ ยามแตรรุ่ง 3 นาที เศษ 2 บาท ไว้ลักขณาเมือง ในราศีมีน อาโปธาตุยามศักราชขึ้นเถลิงศกเป็นจุลศักราช 654 ปีมะโรง จัตวาศก พ.ศ.1835
เมื่อตั้งไชยภูมิเมืองแล้ว พระเจ้ามังรายก็ทรงโปรดให้สร้างพระราชนิเวศน์มณเฑียรขึ้นใหม่ และ “เวียงเล็ก” ที่พระเจ้ามังรายทรงสร้างที่อยู่อาศัยคือ บริเวณ วัดเชียงมั่น ตรงที่สร้างเจดีย์ไว้เป็นหอบรรทมพระองค์ได้ให้กรุยเขตที่จะขุดคูเมืองและก่อกฎแพงเมืองโดยกำหนดเอาที่ไชยภูมินั้นเป็นจุดศูนย์กลางแล้ววัดจากศูนย์กลางด้านละ 1,000 วา เป็นขนาดก าแพงเมือง และได้ทูลเชิญพระสหายทั้งสองคือพระยางำเมือง เจ้าเมืองพะเยา และ พระยาร่วง เจ้าเมืองสุโขทัย ซึ่งเคยร่วมสาบานเป็นพันธมิตรกันมาปรึกษาหารือช่วยคิดวางแผนผังสร้างเมือง
การสร้างกำแพงเมืองจากไชยภูมิอันเป็นศูนย์กลางออกไปด้านละ 1,000 วา ดังกล่าว พระยาร่วงมีความเห็นว่า “การที่จะสร้างเมืองกว้างขวางเช่นนั้น หากในเวลาไม่มีศึกสงคราม ก็ไม่เป็นที่น่าวิตกอย่างใด หากแต่ว่าเกิดศึกมาประชิดติดเมืองแล้วการป้องกันบ้านเมืองจะลำบากมาก เพราะตัวเมืองกว้างขวางเกินไป
ควรที่วัดจากไชยภูมิเมืองไปด้านละ 500 วา เป็นเมืองกว้าง 1,000 วา ซึ่งถ้าหากมีข้าศึกมาเบียดเบียนก็ไม่เป็นการยากในการป้องกัน และหากว่าในการข้างหน้าบ้านเมืองเจริญขึ้น ก็ย่อมขยายตัวเมืองออกไปได้ตามกาลเวลา”
เมื่อได้ยินพระสหายออกความเห็นเช่นนั้น พระเจ้ามังรายก็ทรงดัดแปลงผังเมืองใหม่ โดยให้มีด้านยาวเพียง 1,000 วาดังเดิม และให้มีด้านกว้างวัดจากหลักไชยภูมิไปเพียง 400 วา เป็นกว้าง 800 วาเป็นรูปสี่เหลียมผืนผ้า ซึ่งพระสหายทั้งสองก็เห็นชอบด้วย
ชัยภูมิ ๗ ประการ
กับการสร้างเมืองเชียงใหม่
พระเจ้ามังรายเชิญชวนพระสหายทั้งสองออกไปยังไชยภูมิ เพื่อตรวจดูท าเลสถานที่ที่จะสร้างพระราชนิเวศน์มณเฑียรถาวรใหม่ เมื่อกษัตริย์ทั้งสามไปถึงสถานที่แห่งนั้นก็ปรากฏ ศุภนิมิต ให้เห็นคือ หนูเผือกตัวใหญ่เท่าดุมเกวียน มีบริวาร 4 ตัววิ่งออกจากไชยภูมิที่นั้นไปทางทิศตะวันออกแล้วบ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปลงรูแห่งหนึ่งที่ใต้ ต้นนิโครธ (ต้นไม้สูง)
กษัตริย์ทั้งสามเห็นเป็นนิมิตอันดีก็จัดแต่งดอกไม้ธูปเทียนไปสักการะบูชาแล้วจัดสร้างรั้วไม้ล้อมรอบไม้นั้นจึงถือว่าเป็น ไม้เสื้อเมือง หรือศรีเมืองสืบมา แล้วทั้งสามกษัตริย์ก็ให้บุกเบิกแล้วแผ้วถางบริเวณที่จะสร้างเป็นเมืองแล้วขึงเชือกระดับดู ปรากฏว่า พื้นที่นั้นลาดไปทางทิศตะวันออก เป็นการต้องกับลักษณะไชยภูมิที่จะสร้างเป็นนครยิ่งนัก เมื่อพระยาร่วงและพระยาง าเมืองทรงเห็นดังนั้นก็กล่าวแก่พระเจ้ามังรายว่า ทำเลที่จะสร้างเมืองนี้ถูกต้องด้วยหลักไชยภูมิ 7 ประการ (ซึ่งหายากยิ่งที่จะสร้างเป็นพระนคร) คือ
๑. เคยมีกวางเผือกสองตัวแม่ลูกเคยมาอาศัยอยู่ที่นี้และมีคนพากันมาสักการบูชาเป็นอันมาก
๒. มีฟาน (เก้ง) เผือกสองแม่ลูกมาอาศัยและได้ต่อสู้กับฝูงสุนัขของพราน ซึ่งตามเสด็จพระเจ้ามังรายมา
๓. ได้เห็นหนูเผือกพร้อมด้วยบริวาร 4 ตัว วิ่งเข้าโคนต้นไม้นิโครธ (ไม้สูง
๔. พื้นที่สูงทางทิศตะวันตกเอียงลาดไปทางทิศตะวันออกเป็นทำเลต้องด้วยลักษณะพื้นที่ที่จะสร้างเมือง
๕. มีน้ำตกไหลจากดอยสุเทพ โอบล้อมตัวเมืองไว้เป็นการสะดวกในการที่ชาวเมืองจะได้ใช้สอยบริโภค
๖. มีหนองน้ำใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมืองปรากฏว่า เคยเป็นที่เคารพสักการะของท้าวพระยาเมืองต่าง ๆและขณะนั้นก็ยังเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนอยู่ (หนองนี้ เรียกว่า หนองบัว อยู่ตรงสนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่ ต่อมาในสมัยเจ้าอินทวิชยานนท์ ทรงใช้ขุดระบายน้ าลงแม่น้ำปิงเสียจึงตื้นเขินไป
๗. แม่น้ำระมิงค์ (แม่น้ำปิง) เป็นแม่น้ำที่เกิดจากเทือกเขาผีปันน้ำและบนเทือกเขามีดอยชื่อว่า “ดอยอ่างสลุง” ซึ่งถือว่าเป็นที่สรงน้ าของพระพุทธเจ้าไหลผ่านตัวเมือง นับว่าเป็นมงคลแก่บ้านเมืองอีกประการหนึ่งด้วย
ความเหมาะของที่ตั้งเมืองเชียงใหม่
(ชัยภูมิ 7 ประการ)
• กวางเผือก เก้งเผือก หนูเผือก
• พื้นที่ลาดเอียง
• ดอยสุเทพ
• แหล่งน้ำ
หนองบัว
น้ำแม่ปิง
น้ำแม่ข่า
เราเป็นใคร ?
และมาจากไหน ?
๑.ถิ่นฐานเดิมของคนไทยอยู่แถบเทือกเขาอัลไตในมองโกลเลีย ต่อมาอพยพแถบลุ่มแม่น้ำแยงซีจีนตอนใต้ และลงมาสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทย
๒. ถิ่นฐานเดิมของไทยอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจีนแถบมณฑลกวางตุ้ง กวางสี และยูนนาน ต่อมาถูกจีนรุกรานจนถอยร่นมาทางใต้ กระจายไปตามถิ่นฐานต่าง ๆ หลายทิศทาง
๓. คนไทยอยู่ทางใต้ของลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงร่วมกับกลุ่มชนต่าง ๆชนชาติไทยได้อพยพมาทางใต้อย่างเป็นระยะ มาตั้งหลักฐานอยู่ที่มณฑลยูนนานก่อนจะมาอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศไทย
๔. ถิ่นฐานเดิมของคนไทยอยู่ทางตะวันตกของมณฑลเสฉวนต่อมาถอยมาทางใต้และตั้งอาณาจักรน่านเจ้าขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 12 และเมื่อถูกจีนรุกรานจึงเคลื่อนมาทางใต้ ตั้งถิ่นในคาบสมุทรอินโดจีน
๕. คนไทยมีเชื้อสายเดียวกับชาวอินโดนีเซียมลายูและฟิลิปปินส์ มีถิ่นฐานอยู่แถบเส้นศูนย์สูตรแล้วอพยพไปทางเหนือสู่ดินแดนภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีนกวางเจากวางสี กวางตุ้งและเกาะไหหลำ ต่อมาถูกจีนรุกรานจึงอพยพมาตั้งถิ่นฐานยังถิ่นฐานเดิม พวกที่ไม่ได้อพยพก็กระจายอยู่ทางตอนใต้ของจีน
ประวัติศาสตร์ล้านนา:
ดินแดนล้านนา หมายถึง อาณาบริเวณที่ประกอบด้วยเมืองกลุ่มหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติหรือทางวัฒนธรรม ในอดีตรัฐโบราณไม่มีอาณาเขตชัดเจน แต่ในยุคสมัยที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง เคยมีอิทธิพลแผ่ออกไปอย่างกว้างขวางถึงดินแดนเชียงรุ่ง สิบสองพันนา และรัฐฉานตอนใต้สำหรับดินแดนที่สำคัญของล้านนาอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ประกอบด้วยเมืองน้อยใหญ่ซึ่งแบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ออกเป็นสองกลุ่มคือ
กลุ่มเมืองล้านนาตะวันตก ซึ่งเป็นแกนสำคัญ; เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยาที่มีความสัมพันธ์ร่วมกันตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น
ส่วนกลุ่มเมืองล้านนาตะวันออก; แพร่และน่านทั้งสองเมืองมีประวัติความเป็นมาคล้ายกันคือ ในสมัยแรกเริ่มต่างมีฐานะเป็นรัฐอิสระ มีราชวงศ์ของตนเองและมีความใกล้ชิดกับอาณาจักรสุโขทัย
ประวัติศาสตร์ล้านนา:
อาณาจักรล้านนา ผนวกดินแดนเมืองแพร่และน่านได้ในสมัยพระเจ้าติโลกราชและอยู่ในอาณาจักรล้านนาได้ไม่นานนัก อาณาจักรล้านนาก็ล่มสลายลง ในสมัยพม่าปกครองก็ใช้วิธีแบ่งแยกเมืองต่าง ๆ และด้วยเหตุผลดังกล่าว การศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนา จึงมีศูนย์กลางการศึกษาอยู่ที่เชียงใหม่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเมืองหลวงแห่งล้านนา
แกนหลัก (Core Area)
เชียงใหม่-ลุ่มน้ำปิง
เชียงแสน-เชียงราย-ลุ่มแม่น้ำกก
การก่อสร้างอาณาจักรล้านนา
ดินแดนล้านนา เริ่มในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อสถาปนานครเชียงใหม่ พ.ศ.๑๘๓๙นับถึงปัจจุบันเชียงใหม่มีอายุกว่า ๗๐๐ ปี การศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนาตามพัฒนาการแบ่งได้ดังนี
• สมัยแว่นแคว้น-นครรัฐ
• ล้านนาสมัยรัฐอาณาจักร (พ.ศ.๑๘๐๔-๒๑๐๑)
• ล้านนาสมัยพม่าปกครอง (พ.ศ.๒๑๐๑-๒๓๑๗)
• ล้านนาสมัยเป็นเมืองประเทศราชของไทย (พ.ศ. ๒๓๑๗-๒๔๒๗)
สมัยแว่นแคว้น-นครรัฐ
ก่อนกำเนิดอาณาจักรล้านนาในพุทธศตวรรษที่ ๑๙
ดินแดนล้านนามีรัฐต่าง ๆ กระจายตามที่ราบระหว่างหุบเขาในภาคเหนือ
• เช่น แคว้นหริภุญไชยในเขตแม่น้ำปิงตอนบน
• แคว้นโยนหรือโยนกในเขตที่ราบลุ่มน้ำกก
• เขลางนครในเขตลุ่มน้ำวัง
• เมืองแพร่ในเขตลุ่มน้ำยม
• เมืองปัวในเขตลุ่มน้ำน่าน
• เมืองพะเยาในเขตลุ่มน้ำอิง
63144116 นิพิฐพนธ์ ปาลี