Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้ที่ได้รับการบำบัดด้วยยาทางจิตเวช - Coggle Diagram
การดูแลผู้ที่ได้รับการบำบัดด้วยยาทางจิตเวช
ยาคลายกังวล (anti-anxiety drugs)
ยาในกลุ่มนี้ประกอบด้วยกลุ่ม benzodiazepines และ
non-benzodiazepine
ยาในกลุ่ม benzodiazepines ที่ใช้บ่อย
diazepam (Valium)
lorazepam (Ativan)
midazolam (Dormicum)
alprazolam (Xanax)
ยาในกลุ่ม non-benzodiazepine
Zolpidem
ข้อบ่งใช้
ใช้ระงับอาการวิตกกังวล ลดอาการเครียด หวาดกลัว และรักษาอาการนอนไม่หลับ
กลไกการออกฤทธิ์
ยาออกฤทธิ์โดยการเสริมฤทธิ์ของ gamma-aminobutyric acid (GABA) โดยจับกับตัวรับ GABA-A กดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ลดอาการวิตกกังวล ช่วยให้นอนหลับ ช่วยคลายกล้ามเนื้อและรักษาโรคลมชัก
อาการข้างเคียง
อาการข้างเคียงกลุ่ม benzodiazepines ที่พบบ่อยคือทำให้เกิดอาการง่วงนอน กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ความดันโลหิตต่ำ สมาธิและความจำลดลง
อาการข้างเคียงกลุ่ม non-benzodiazepine ที่พบบ่อยคือ ง่วงนอน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดศีรษะและมึนงง
การพยาบาล
ไม่ควรใช้ยานี้ก่อนที่จะขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือทำงานในที่สูง
ไม่ควารใช้ยาร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางอื่นๆ เช่น สุรา และยานอนหลับชนิด barbiturates เพราะเกิดผลเสริมในการกดระบบประสาทส่วนกลางร่วมกันทำให้เกิดอาการข้างเคียงมากขึ้น สามารถกดการหายใจจนทำให้เสียชีวิต
ควรหลีกเลี่ยงกานใช้ยาในสตรีมีครรภ์และเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่
แนะนำผู้ป่วยไม่ให้หยุดยาเอง เนื่องจากอาจเกิดอาการถอนยาถ้าหยุดยาทันที
ยาต้านเศร้า (antidepressant drugs)
กลุ่ม TCAs (tricyclic antidepressants)
ตัวอย่างยา
amitriptyline
clomipramine
trimipramine
imipramine
protriptyline
nortriptyline
กลไกการออกฤทธิ์
กลไกออกฤทธิ์ยับยั้งการเก็บกลับของสารสื่อประสาท norepinephrine และ serotonin ทำให้ปริมาณของสารสื่อประสาทระหว่างเซลประสาทเพิ่มขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับเซลล์ส่งผลให้มีการสร้างโปรตีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับฤทธิ์ต้านซึมเศร้า
อาการข้างเคียง
ง่วงซึม ปากแห้ง ตาพร่า ท้องผูก ปัสสาวะไม่ค่อยออก
การพยาบาล
ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ระวังการพลัดตกหกล้ม
แนะนำผู้ป่วยให้เปลี่ยนท่าทางจากการนอนเป็นนั่งหรือนั่งเป็นยืนอย่างช้าๆ
แนะนำผู้ป่วยดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลน้อยหรืออาจใช้ลูกอมหรือหมากฝรั่งร่วมด้วย
อาการตาแห้งให้หยอดน้ำตาเทียม
กลุ่ม SSRIs (selective serotonin reuptake inhibitors)
ตัวอย่างยา
fluoxetine
fluvoxamine
paroxetine
sertraline
กลไกการออกฤทธิ์
กลไกการออกฤทธิ์ของยากลุ่ม SSRIs จะยับยั้งการเก็บกลับของ serotonin เป็นหลักทำให้ระดับของ serotonin เพิ่มขึ้นในบริเวณที่เป็น synaptic cleft แต่เมื่อปริมาณของสารสื่อประสาท serotonin ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ตัวรับสารสื่อประสาทมีความไวในการจับลดลง ดังนั้นจึงต้องมีการปรับตัวของเซลล์ประสาทซึ่งต้องใช้เวลาในการปรับสมดุลของร่างกายเพื่อตอบสนองต่อระดับสารสื่อประสาทที่สูงขึ้นกว่าปกติ จึงจะเกิดการระงับอารมณ์ซึมเศร้า
อาการข้างเคียง
นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ หงุดหงิด เบื่ออาหาร แน่นท้อง คลื่นไส้
การพยาบาล
ควรให้ผู้ป่วยรับประทานยาตอนเช้า
แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาหลังอาหารทันที เนื่องจากยาในกลุ่ม SSRIs ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ระคายเคืองทางเดินอาหารหลังจากรับประทานยา 1-2 ชั่วโมง
สังเกตอาการของ seronin syndrome เช่น อาการไข้สูง อ่อนเพลีย สับสน ปวดท้อง สั่น เหงื่อออก ความดันโลหิตและอัตราการเต้นชีพจรสูงขึ้นหรือลดลง
ยาควบคุมอารมณ์ (mood stabilizers)
ลิเทียม (lithium carbonate)
ตัวอย่างยา
eskalith
lithane
lithobid
ข้อบ่งใช้
ใช้รักษาผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวน (mood disorder) โดยเฉพาะระยะ mania
กลไกการออกฤทธิ์
ลิเทียมออกฤทธิ์โดยการแย่งที่กับโซเดียมในการผ่านเข้าออก
sodium channal ของเซลล์ลดความสามารถของสารสื่อประสาทในการจับกับตัวรับและการเก็บกลับของสารสื่อประสาท นั่นคือ การยับยั้งสารสื่อประสาทที่ทำงานมากเกินไป ต้องอยู่ในกระแสเลือดน้อยกว่า 0.5
อาการข้างเคียง
ง่วงซึม มึนงง ปวดศีรษะ ปากแห้ง กระหายน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง น้ำหนักเพิ่ม ปัสสาวะบ่อย
การพยาบาล
ให้ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดยาแม้เมื่อมีอาการปกติแล้วเพราะอาจกลับเป็นซ้ำได้
ไม่ควรขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร เพราะอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
อาการกระหายน้ำควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม
ยากันชัก (anticonvulsant)
ยากันชักกลุ่มมาตรฐาน ได้แก่
carbamazepine
clobazam
clonazepam
phenobarbital
phenytoin
sodium valproate
ยากันชักกลุ่มใหม่ ได้แก่
gabapentin
lacosamide
lamotrigine
oxcarbazepine
pregabalin tiagabine
topiramate
vigabatrin
zonisamide
กลไกการออกฤทธิ์
กลไกในการออกฤทธิ์รักษา mania และ bipolar disorder ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าออกฤทธิ์โดยการเสริมฤทธิ์ของ gamma-aminobutyric acid (GABA) โดยการเพิ่มระดับ GABA โดยจับกับตัวรับ GABA-A ทำให้เพิ่มการตอบสนองต่อ GABA ที่ postsynaptic receptors รวมทั้งออกฤทธิ์ยับยั้งการไหลเข้า (in flux) และการสะสมโซเดียมในเชลล์ ทำให้เกิดข้อสมมติฐานว่าการออกฤทธิ์รักษาอาการแมเนียเกิดจากการปรับการไหลเข้าของ ion และความเข้มข้นของ ion ที่สะสมในเซลล์
อาการข้างเคียง
มือสั่น ง่วงซึม มึนงง อ่อนเพลีย น้ำหนักเพิ่ม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เบื่ออาหาร
การพยาบาล
ผู้ป่วยมีอาการมือสั่น อ่อนเพลีย ง่วงซึมและมึนงง ไม่ควรขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรเพราะอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
ติดตามน้ำหนักผู้ป่วยทุกเดือน แนะนำผู้ป่วยให้ควบคุมอาหารและออกกำลังกายเพื่อช่วยไม่ให้น้ำหนักตัวเกิน
หากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน แนะนำให้รับประทานยาพร้อมกับอาหารหรือหลังอาหารทันที
ยาต้านอาการทางจิต (antipsychotic drugs)
ยาต้านอาการทางจิตกลุ่มเดิม
(First-generation antipsychotic drugs)
chlorpromazine
perphenazine
trifluoperazine
fluphenazine
thioridazine
thiothixene
haloperidol
loxapine
สามารถรักษาอาการด้านบวก (positive symptom)
เช่น ประสาทหลอน (hallucination) หลงผิด (delusion)
ยาต้านอาการทางจิตกลุ่มใหม่
(Second-generation antipsychotic drugs)
clozapine
risperidone
olanzapine
quetiapine
ziprasidone
aripiprazole
paliperidone
iloperidone
asenapine
สามารถรักษาอาการด้านบวก (positive symptom) ร่วมกับอาการด้านลบ (negative symptom) ได้ดี
กลไกการออกฤทธิ์
ปิดกั้นตัวรับโดปามีนชนิด dopamine type2 ที่ด้านปลายของตัวรับบริเวณรอยประสานประสาท (synapse) ที่บริเวณ basal ganglia, hypothalamus,limbic system, brainstem, และบริเวณ medulla ในระบบประสาทส่วนกลาง
อาการข้างเคียง
อาการผิดปกติในการเคลื่อนไหว (Extrapyramidal symptoms : EPS)
ปากแห้ง ตาพร่ามัว ไวต่อแสง แพ้แสง ง่วงซึม ท้องผูก ปัสสาวะคั่ง คอบิด ตาเหลือก
การพยาบาล
แนะนำให้อมน้ำแข็งหรือจิบน้ำบ่อยๆ
แนะนะให้ผู้ป่วยไม่ขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร
แนะนำผู้ป่วยให้เปลี่ยนท่าทางจากนอนเป็นนั่งหรือนั่งเป็นยืนอย่างช้าๆ
แนะนำให้ใช้ยากันแดด การใช้แว่นตากันแดด การใส่เสื้อแขนยาว การดูแลรักษาผิวไม่ให้แห้ง เมื่อออกนอกบ้าน
อาการตาแห้งให้หยอดน้ำตาเทียม ถ้ามีอาการมากควรรายงานแพทย์