Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้ป่วย Pneumonia - Coggle Diagram
การดูแลผู้ป่วย Pneumonia
-
พยาธิสภาพ
เมื่อมีการติดเชื้อ เชื้อโรคจะสร้างendotoxin มากระตุ้นเม็ดเลือดขาวให้หลั่งสาร เช่น TNF IL-1 ซึ่งไปกระตุ้น complement partway coagulate system ส่งผลให้มีการกระตุ้นinflammatory response ทั่วร่างกาย ทำให้เซลล์เสื่อสภาพที่หลอดเลือดเกิดการขยายตัว สูญเสียความสามารถในการซึมผ่าน มีการลดลงของสารต้านการแข็งตัวของเลือดส่งผลให้มีลิ่มเลือดอุดตันขนาดเล็ก อุดตันในหลอดเลือดขัดขวางระบบไหลเวียน อวัยวะต่างๆจึงทำงานผิดปกติ
สาเหตุ
- เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคปอดอักเสบ พบบ่อยและรักษาได้ง่าย ได้แก่ เชื้อปอดบวม หรือ นิวโมค็อกคัส (pneumococcus) ที่พบน้อยแต่ร้ายแรง ได้แก่ เชื้อสแตฟฟิโลค็อกคัส (staphylococcus) สเตรปโตค็อกคัส (streptococcus) เคล็บซิลลา (klebsiella)
- เชื้อไวรัส เช่น หัด ไข้หวัดใหญ่ อีสุกอีใส เป็นต้น
- เชื้อไมโคพลาสมา (mycoplasma pneumoniae) ซึ่งทําให้เกิดปอดอักเสบชนิดที่เรียกว่า atypical pneumonia เพราะมักจะไม่มีอาการหอบอย่างชัดเจน
- เชื้อรา พบได้ค่อนข้างน้อย แต่รุนแรง
- สารเคมี ที่พบได้บ่อยได้แก่ น้ํามันก๊าด ซึ่งผู้ป่วยสําลักเข้าไปในปอด มักจะเป็นที่ปอดข้างขวามากกว่าข้างซ้าย
อาการ
- มีไข้สูง หนาวสั่นโดยเฉพาะในระยะที่เริ่มเป็นและหายใจหอบ
- ในระยะแรกอาจมีอาการไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ ต่อมาจะไอมีเสมหะขุ่นข้นออกเป็นสีเหลือง สีเขียว สีสนิมเหล็กหรือมีเลือดปน อาจมีอาการเจ็บแปลบในหน้าอกเวลาหายใจเข้าหรือเวลาไอแรง ๆ บางครั้งอาจปวดร้าวไปที่หัวไหล่สีข้างหรือท้อง
- ฟังเสียงปอดอาจได้ยินเสียงกรอบแกรบ (crepitation) บริเวณท่ีมีการอักเสบ การขยายของปอดบริเวณนั้นจะน้อยลง ทําให้ได้ยินเสียงลมเข้าปอดเบาลง
- มีอาการอื่น ๆ ที่ไม่จำเพาะ เช่น ท้องอืด ท้องเดิน อาเจียน กระสับกระส่าย ชัก ซึม เป็นต้น
การวินิจฉัย
- จากอาการแสดง คือ ไข้ ไอ หายใจหอบ ร่วมกับการฟังปอดได้ยินเสียงกรอบแกรบ
- ภาพถ่ายรังสีปอดพบรอยฝ้าขาว
-
6.การย้อมเสมหะ (sputum gram stain) เป็นวิธีที่มีความไว (sensitive) แต่ไม่จําเพาะ (specific) ต่อเชื้อที่เป็นสาเหตุ อาจเป็นแนวทางคร่าว ๆ ถึงเชื้อก่อโรค
-
3.การเพาะเชื้อจากเลือด (hemoculture) ควรทําเฉพาะในรายที่เป็นรุนแรง เชื้อที่มักจะ ก่อให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้แก่ streptococcus pneumoniae , haemophilus influenzae
-
การพยาบาล
ประเมินอาการที่แสดงถึงภาวะขาดออกซิเจน เช่น ระดับความรู้สึกตัวลดลง ผิวสี เขียวคล้ำ สัญญาณชีพต่าง ๆ เปลี่ยนแปลง
ดูแลให้ได้รับอาหารอย่างเพียงพอ ร่างกายของผู้ป่วยควรได้รับสารอาหารอย่างน้อย 1,000 – 1,500 แคลอรี่ และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่เพิ่มกาซ เพราะจะทําให้ท้องอืดเพิ่มขึ้น
-
บันทึกสัญญาณชีพซึ่งจะบ่งบอกภาวะขาดน้ําได้โดยเฉพาะ ผู้ป่วยที่ขาดน้ํามาก ๆ อาจมีความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่าได้
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษา ในผู้ป่วยท่ี มีอาการหายใจลําบาก กระสับกระส่าย อ่อนเพลีย และมีค่าออกซิเจนในเลือด (PaO2) ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท
ความไม่สุขสบายจากอาการต่าง ๆ เช่น ไข้ เจ็บหน้าอก เป็นต้น โดยช่วย เช็ดตัวให้เมื่อมีไข้ กระตุ้นให้ดื่มน้ํามาก ๆ เพื่อลดไข และเพื่อให้เสมหะอ่อนตัวลง สามารถไอออกมาได้ง่าย