Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นมัสการมาตาปิตุคุณและนมัสการอาจริยคุณ, สมาชิกในกลุ่ม - Coggle Diagram
นมัสการมาตาปิตุคุณและนมัสการอาจริยคุณ
ผู้แต่งและประวัติผู้แต่ง
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เกิดวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๕ เป็นผู้แต่งตำราภาษาไทย และเป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาไทยแก่เจ้านายในสมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ รวมสิริอายุได้ ๖๘ ปี
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
ลักษณะคำประพันธ์
อินทรวิเชียรฉันท์
จุดประสงค์ในการแต่ง
เพื่อสรรเสริญพระคุณของพระบิดามารดา และครูอาจารย์ บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และบทนมัสการอาจริยคุณ เป็นบทสรรเสริญ พระคุณของบิดามารดาและครูอาจารย์ รวมอยู่ในคำนมัสการคุณานุคุณ ประกอบด้วยบทนมัสการ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ บทนมัสการมาตาปิตุคุณ บทนมัสการอาจริยคุณ บทสดุดีพระมหากษัตริย์ และบทสรรเสริญเทพยดา คำนมัสการคุณานุคุณพิมพ์รวมอยู่ในงานชุดภาษาไทย ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร เล่ม ๓)
ข้อคิดที่ได้จากเรื่องนมัสการมาตาปิตุคุณและนมัสการอาจริยคุณ
บทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ที่คอยเลี้ยงดูลูกจนเติบใหญ่ ตลอดจนความยิ่งใหญ่ของบุญคุณของพ่อแม่ และปิดท้ายด้วยการการสอนให้เด็ก ๆ รู้จักกตัญญูรู้คุณต่อผู้ให้กำเนิด เช่นเดียวกับคำนมัสการอาจาริยคุณ ที่กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของครูอาจารย์ที่คอยสั่งสอนและให้ความรู้ทั้งทางธรรมและทางโลก ตามด้วยการกล่าวถึงบุญคุณของคุณครู ซึ่งเด็ก ๆ ควรเคารพและขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง
มีการสอนจริยธรรม จะเห็นได้ว่า บทเรียนเรื่องนี้ เป็นสิ่งที่เพื่อน ๆ นำไปใช้ได้จริง ด้วยการรู้จักสำนึกในพระคุณของบิดามารดาและครูอาจารย์ นับเป็นการใช้บทประพันธ์เพื่อปลูกฝังจริบธรรมได้เป็นอย่างดี
การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ผู้อ่านได้ประจักษ์ในคุณค่าของชีวิต ได้นำแง่คิดและประสบการณ์จากเรื่องที่อ่าน ไปใช้ในการดำเนินชีวิต หรือเป็นแนวปฏิบัติในการแก้ปัญหา
ความเป็นของเรื่อง
บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และบทนมัสการ อาจริยคุณ เป็นบทประพันธ์ของพระยาศรีสุนทร โวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ที่ต้องการสั่งสอนและ ปลูกฝังให้เยาวชนในฐานะที่เป็นลูกและศิษย์มีความ กตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณยิ่งใหญ่ อันได้แก่ บิดา มารดา และครูอาจารย์ เพราะความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี
บทนมัสการมาตาปิตุคุณมีเนื้อหากล่าวสรรเสริญพระคุณของบิดามารดา ที่ได้เลี้ยงดูทะนุถนอมบุตรจนเติบใหญ่ โดยมิเห็นแก่ความยากลำบาก พระคุณของบิดามารดากว้างใหญ่ไพศาล เปรียบได้กับภูผา และแผ่นดิน สุดที่จะทดแทนได้
เนื้อเรื่องย่อ
บทนมัสการอาจริยคุณมีเนื้อหากล่าวสรรเสริญพระคุณของครูบาอาจารย์ ผู้เปี่ยมด้วยจิตเมตตากรุณา ทำหน้าที่สั่งสอนให้ความรู้ในสรรพวิชา และอบรมจริยธรรม ชี้ให้เห็นบาปบุญคุณโทษ เพื่อขจัดความเขลาของศิษย์ การบูชาบิดา มารดาและครูอาจารย์นี้ถือเป็นมงคล อันจะยังความรุ่งเรืองแก่ชีวิต และวัฒนธรรมอันดีงามที่ดำรงสืบมาช้านานในสังคมไทย
ข้อคิด
ครูเป็นผู้ชี้แจง อบรมสั่งสอนทั้งวิชาความรู้และความดีทางจริยธรรมพระคุณของครูนับว่า สูงสุดจะป็นรองก็เพียงแต่บิดามารดาเท่านั้น
วิเคราะห์คุณค่า
๑. คุณค่าด้านเนื้อหา ได้แก่ การลำดับความชัดเจน และการสอนจริยธรรม
๑.๑ การลำดับความได้ชัดเจน บทนมัสการมาตาปิตุคุณและนมัสการอาจาริยคุณ เป็นบทร้อยกรองขนาดสั้น มีการบท “นมัสการมาตาปิตุคุณ” จำนวน ๕ บท มีการลำดับความชัดเจน ดังนี้เกริ่นนำ ปรากฏในบทที่ ๑ กล่าวว่าขอไหว้คุณของบิดามารดาผู้เลี้ยงดูบุตรตั้งแต่เล็กจนโต
ปรากฏในบทที่ ๒, ๓ และ ๔ แสดงรายละเอียดว่าบิดามารดาเลี้ยงดูบุตรด้วยความรักและเอาใจใส่ แม้จะยากลำบากเพียงใดก็ตาม ในบทที่ ๔ มีการใช้ความเปรียบเพื่อเน้นพระคุณของบิดามารดาว่ากว้างใหญ่เหมือนภูผา
บทประพันธ์ที่ประทับใจ
ความเคารพนอบน้อมต่อครู ผู้มีความกรุณา เผื่อแผ่อบรมสั่งสอนศิษย์ทุกสิ่ง ให้มีความรู้ ทั้งความดี ความชั่ว
อนึ่งข้าคำนับน้อม ต่อพระครูผู้การุณ
โอบเอื้อและเจือจุน อนุ สาสน์ทุกสิ่งสรรพ์
ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ ทั้งบุญบาปทุก สิ่งอัน
ชี้แจงและแบ่งปัน ขยาย อัตถ์ให้ชัดเจน
จิตมากด้วยเมตตา และ กรุณา บ เอนเอียง
เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์ ให้ฉลาดและแหลมคม
ขจัดเขลาบรรเทา โม- หะจิตมืดที่งุนงม
กังขา ณ อารมณ์ ก็สว่าง กระจ่างใจ
คุณส่วนนี้ควรนับ ถือ ว่าเลิศ ณ แดนไตร
ควรนึกและตรึกใน จิตน้อมนิยมชม
สมาชิกในกลุ่ม
นาย ฐปนวรรธน์ หนูทอง เลขที่19
นาย รัชยศวีร์ สุวรรณมณี เลขที่20
นางสาว ณัฏฐธิดา ขาวหนูนา เลขที่30
นางสาว นันย์นภัส แสงขาม เลขที่31